ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
ยูง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dipterocarpus grandiflorus Blanco ในวงศ์ Dipterocarpaceae เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง.
แววหางนกยูง : น. ตอนปลายของหางนกยูงที่เป็นวงกลม ๆ มีลักษณะเป็นแสงสีสันเลื่อมเป็นมัน.
ยุง : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Culicidae โดยทั่วไปลําตัวยาว ๓๖ มิลลิเมตร มีปีก ๑ คู่ ปีกมีเกล็ดติดอยู่ตามเส้นปีกและอาจคลุมไป ถึงหัวและลําตัวด้วย หนวดยาวขนที่ปกคลุมหนวดของตัวเมียสั้น ของ ตัวผู้ยาว ปากเป็นชนิดเจาะดูด เช่น ยุงรําคาญในสกุล Culex ยุงลาย ใน สกุล Aedes ยุงก้นปล่องในสกุล Anopheles เฉพาะตัวเมียกินเลือด.
นกยูง : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวประจําฉัตร ดาวอนุราธ หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก.
หางนกยูง : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นและกิ่งมีหนาม ดอกสีแดง เหลือง หรือชมพู.
หางนกยูงฝรั่ง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Delonix regia (Hook.) Raf. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นและกิ่งไม่มีหนาม ดอกสีแดงหรือแสด ออก ดอกปีละครั้ง ขณะออกดอกผลัดใบ.
กระโงก : (กลอน) น. นกยูง, กุโงก ก็ว่า. (เทียบ ข. โกฺงก).
กะโต้งโห่ง : ว. เสียงนกยูงร้อง.
กุงาน : น. ห่าน, ใช้หมายความถึง นกยูง ก็มี เช่น แพนกุงานกระพือ. (สมุทรโฆษ), กลางคชเทอดแพน กุงาน ง่าคว้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
กุโงก : น. นกยูง, กระโงก ก็ใช้. (ข. โกฺงก).
เคี้ยว ๒ : ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา คด เป็น คดเคี้ยว.
เงี้ยว ๒ : น. งู เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ).
ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาค จำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัย พระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัย ราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.
ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอด เรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลัก เป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มี อีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตราและ อัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยโดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.
นักระ : [นักกฺระ] (แบบ) น. จระเข้. (ส.; ป. นกฺก). นักษัตร ๑, นักษัตร [นักสัด, นักสัดตฺระ] น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมีดาว ปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่าดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะ เนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาว งูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัว ตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ,บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาว ราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป. นกฺขตฺต).
บุหรง : [-หฺรง] น. นก, นกยูง. (ช.).
ประจำฉัตร : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวนกยูง ดาวอนุราธ หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก.
ปะเลง : น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก ท่าประกอบดนตรี.
แพน ๑ : ก. แผ่ออก, กระจายออกไป, เช่น นกยูงแพนหาง นกพิราบแพนหาง. น. หางนกบางชนิดที่แผ่ออกไปเป็นแผ่น เช่น แพนหางนกยูง แพน หางนกพิราบ, สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แพนสําหรับคัดท้ายแพซุง.
มยุรคติ : [มะยุระคะติ] น. ท่าทางของนกยูง. (ส. มยูรคติ).
มยุรฉัตร : น. พนมหางนกยูง หรือเครื่องกั้นบังเป็นชั้น ๆ ทําด้วย หางนกยูง เป็นเครื่องสูง ใช้ในงานพิธีโสกันต์.
มยุร-, มยุระ : [มะยุระ-] น. นกยูง, ใช้ว่า มยูร ก็มี. (ป., ส. มยูร).
มยุรอาสน์ : น. ''พระผู้มีนกยูงเป็นอาสนะ'' หมายถึง พระขันทกุมาร หรือพระสกันทกุมาร เพราะพระขันทกุมารทรงมีนกยูงเป็นพาหนะ.
มยุรา, มยุเรศ : [มะ-] (กลอน) น. นกยูง.
มยุรี : [มะ-] น. นกยูงตัวเมีย. (ป.).
มยูร : [มะยูน] น. นกยูง. (ป., ส.).
เมารี : น. นกยูงตัวเมีย. (ป. โมรี).
โมร- : [-ระ-] น. นกยูง. (ป., ส.).
โมรกลาป : [-กะหฺลาบ] น. แพนหางนกยูง. (ป.).
โมรี ๑ : น. นกยูงตัวเมีย. (ป.).
โมเรส : (กลอน) น. นกยูง.
ยง ๒ : ว. ยั่งยืน, มั่นคง, คงทน, ยืนนาน, เช่น อยู่ยงคงกระพัน ยืนยง.
ยง ๓ : ว. กล้าหาญ เช่น ยงยุทธ์ เยี่ยมยง, เก่งกล้าสามารถ เช่น ตัวยง.
รำแพน : ก. แผ่หางกระดกขึ้นหรือแผ่ปีกแล้วเดินกรีดกรายไปมา (ใช้แก่ นกยูง นกหว้า และนกแว่น). น. การเล่นอย่างโบราณชนิดหนึ่งในการ พระราชพิธี ผู้เล่นนุ่งผ้าหยักรั้งสวมเสื้อคอกลม มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูง ข้างละกำ รำออกท่าต่าง ๆ เลี้ยงตัวอยู่บนราวลวด.
เล่นคำ : ก. ใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำ หรือซ้ำอักษรให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ ยิ่งขึ้น เช่น ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสาสู่กระสัง รังเรียงรังรังนาน. (ลอ).
วาม ๑, วาม ๆ : ว. เป็นแสงเรือง ๆ อย่างแสงหิ่งห้อย เช่น น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม ทรายเหลือบหางยูงงามว่าหญ้า ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ ลิงว่าผลลูกหว้า โดดดิ้นโดยตาม. (โลกนิติ).
อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา : [อะนุราด, อะนุราทะ, อะนุราทา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๗ มี ๔ ดวง เห็น เป็นรูปธนู หน้าไม้ หรือหงอนนาค, ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง ก็เรียก.
ยง ๑ : ว. อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง.
ยุงกวาด : ดู หญ้าขัดใบยาว ที่ หญ้าขัด.
เกาเหลียง ๑ : [-เหฺลียง] น. ชื่อเหล้าจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).
เกาเหลียง ๒ : [-เหฺลียง] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง ใช้ปั้นทําเครื่องเคลือบดินเผาได้ดี, ดินเกาลิน ก็เรียก. (จ.).
เฉลี่ยง : [ฉะเหฺลี่ยง] น. ยาน, คานหาม, โดยมากใช้ว่า เสลี่ยง.
พะยุพยุง : [พะยุง] ก. ช่วยกันพยุง เช่น ช่วยพะยุพยุงคนเจ็บ, พะยุพยุงจูงจับ หิ้วปากคนละข้าง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ยากันยุง : น. ยาที่จุดหรือทากันไม่ให้ยุงกัด.
เยียรยง : [เยียระยง] (กลอน) ว. งามยิ่ง, งามเพริศพริ้ง, ใช้ว่า เยีย ก็มี.
เหนี่ยง : [เหฺนี่ยง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus ในวงศ์ Hydrophilidae ลําตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีดําตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่าง ของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ, โดยปริยาย ใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมากว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง.
กระเจี้ยง : น. ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Epigeneium amplum (Lindl.) Summerh. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ ทั้งกลีบนอกและกลีบในสีเหลือง ประแดง, เอื้องศรีเที่ยง ก็เรียก.
แขยงแขงขน : ก. สะอิดสะเอียนจนขนลุก.
บานเบียง, บานแบะ : (ปาก) ว. มากมาย.