Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ย่อม , then ยอม, ย่อม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ย่อม, 268 found, display 1-50
  1. ย่อม : คําช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย.
  2. ย่อม : ว. มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่า เช่น นี่ขนาดใหญ่ นั่นขนาดย่อม, เบา (ใช้แก่ราคา); ลดลง, หย่อน.
  3. ก็ ๑ : สัน. แล้ว, จึง, ย่อม, เช่น พอหันหน้ามาก็พบเขา ทำดีก็ได้ดี.
  4. เพ็จ ๑ : ว. เล็ก, ย่อม, น้อย.
  5. ยอม : ก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอม ตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทําได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา.
  6. กระย่อม : ดู ระย่อม.
  7. เยา ๒ : ว. เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา.
  8. เทียร, เที้ยร : ก. ย่อม, ล้วนแล้วไปด้วย.
  9. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  10. ก็ดี, ก็ได้ ๑ : นิ. แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ หรือเน้นความให้มี น้ำหนักเท่ากัน เช่น บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตร ยานี้กินก็ได้ ทาก็ได้.
  11. กระชอน ๒ : น. ชื่อแมลงชนิด Gryllotalpa orientalis ในวงศ์ Gryllotalpidae ลําตัวยาว ขนาดย่อมกว่านิ้วก้อยเล็กน้อย สีน้ำตาล ปีกสั้น บินได้ ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นแบน รูปร่างคล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนามแข็ง ใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ.
  12. กระดังงาลนไฟ : (สํา) น. หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิง ที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
  13. กระโดงแดง : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลําต้นแดงคล้ำ ใบยาวปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. ๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด (Chionanthus microstigma (Gagnep.) Kiew ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้ มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก; และชนิด C. sangda (Gagnep.) Kiew ลักษณะทั่วไปคล้ายชนิดแรก แต่ต้นมีขนาดย่อมกว่า ค่อนไปทางไม้พุ่ม.
  14. กระโดนดิน : น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด Careya herbacea Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นตามที่ลุ่มดินทราย ลักษณะทั่วไปคล้าย กระโดน สูงไม่เกิน ๑ เมตร ผลมีขนาดย่อมกว่า, กระโดนเบี้ย ก็เรียก.
  15. กระทำโดยเจตนา : (กฎ) ก. กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็ง เห็นผลของการกระทำนั้น.
  16. กระเบา ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบาน้ำ (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้น ขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีน้ำตาล ขนาดเท่าผลส้มโอ ขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีน้ำมัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.
  17. กระมอบ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Gardenia obtusifolia Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระเบียน (๒) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ใบคายและเล็กกว่า ปลายใบป้าน ยอดอ่อนมียางเหนียว ผลย่อมกว่า เนื้อไม้ขาวละเอียด ใช้แกะสลักได้.
  18. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  19. กว่าง : [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน.
  20. กอล์ฟ : [กฺวาง] น. (๑) ชื่อปลางัวบางชนิดในวงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae และ Balistidae. (ดู งัว๕ ประกอบ). (๒) ปลาม้า. (ดู ม้า๓). [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน. [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง, เผื่อแผ่ เช่น มีน้าใจกว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
  21. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  22. กะพ้อ ๒ : น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่ง น้ำเค็มขึ้นถึง ลําต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้ห่อทําไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อน ใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้ เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).
  23. กะลอ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมหลายชนิดในสกุล Macaranga วงศ์ Euphorbiaceae มักขึ้นในป่าใสในที่ชุ่มชื้น ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ เช่น ชนิด M. tanarius Muell. Arg.
  24. กากคติ : [กากะคะติ] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีดําเนินกลอน อย่างกาที่บินไป เช่น สรรเพ็ชญ์เจ้าได้ ทรงฤทธิ์เรืองไกร ย่อมบำเพงทาน ให้พระวิมุติ โลกุดรญาณ แสวงหาศีลาจาร ประเสริฐหนักหนา. (ชุมนุมตํารากลอน).
  25. กำหนัด : [-หฺนัด] น. ความใคร่ในกามคุณ. ก. ใคร่ในกามคุณ เช่น เทียรย่อมให้เกิดวัฒนาการกําหนัดใน. (ม. ร่ายยาว มหาพน).
  26. กิ้งกือ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลําตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลําตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทําให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จํานวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้ง ๒ สกุลอยู่ในวงศ์ Julidae.
  27. กินรูป : ว. มีลักษณะให้เห็นขนาดย่อมกว่าตัวจริง, ใหญ่ดูเป็นเล็ก, ซ่อนรูป ก็ว่า.
  28. ขลาย : [ขฺลาย] น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ขึ้นอยู่ตามป่าตํ่าทาง ภาคกลางของไทย ไม้ใช้ทําฟืนกันมาก เช่น คุดคุยขลู่ขลาย. (สมุทรโฆษ).
  29. ข่อย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลางชนิด Streblus asper Lour. ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นตามป่าตํ่าและริมแม่นํ้าลําคลอง ใบเล็ก สากคาย ใช้ขัดถูได้ เปลือกใช้ทํากระดาษ เรียกว่า กระดาษข่อย ใบ เปลือก เนื้อไม้และเมล็ดใช้ทํายาได้.
  30. ข่อยน้ำ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Streblus taxoides (Heyne) Kurz ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งก้านมักงอหักไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด.
  31. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  32. ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ : (สํา; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบ ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อน เจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้น ก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
  33. คนดีผีคุ้ม : (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  34. คนร้ายตายขุม : (สำ) น. คนทำชั่วย่อมตกนรก, มักใช้เข้าคู่กับ คนดีผีคุ้ม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  35. จระเข้คับคลอง : (สำ) น. ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการ ดำรงตนในสังคม.
  36. จั่น ๔ : น. เครื่องประดับคอชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายทับทรวงและจี้ ใหญ่กว่าจี้ แต่ย่อมกว่าตาบและทับทรวง.
  37. เจตภูต : [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า ''อัตตา'' ก็มี ''ชีโว'' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
  38. ชักซุงตามขวาง : (สํา) ก. ทําอะไรที่ไม่ถูกวิธีย่อมได้รับความ ลําบาก; ขัดขวางผู้มีอํานาจย่อมได้รับความเดือดร้อน.
  39. ชู้ : น. (วรรณ) คู่รัก, บุคคลที่เป็นที่รัก, เช่น มาย่อมหลายชู้เหล้น เพื่อนตน. (กำสรวล); ผู้ล่วงประเวณี; การล่วงประเวณี; ชาย ที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา เรียกว่า เป็นชู้, หญิงที่ยังมีสามี อยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น เรียกว่า มีชู้,เรียกชายหรือ หญิงที่ใฝ่ในทางชู้สาวว่า เจ้าชู้.
  40. ซ่อนรูป : ว. มีลักษณะให้เห็นขนาดย่อมกว่าตัวจริง, ใหญ่ดูเป็นเล็ก, กินรูป ก็ว่า.
  41. ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ, ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว : (สํา) ก. ซื้อของไม่คํานึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทําอะไรไม่เหมาะ กับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.
  42. เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด : (สํา) ก. ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย.
  43. ถ่มน้ำลายรดฟ้า : (สํา) ก. ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเอง ย่อมได้รับผลร้าย.
  44. ถ่านไฟเก่า : (สํา) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ ง่ายขึ้น.
  45. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  46. ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ : (สํา) ก. ทําการสิ่งใดถ้ากลัว หมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์.
  47. เทียนกิ่ง : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Lawsonia inermis L. ในวงศ์ Lythraceae ดอกสีขาวหรือแดง ผลกลม สุกสีนํ้าตาล ใบใช้ย้อมผม ผ้าไหม และผ้าขนสัตว์ ได้สีแดงนํ้าตาล, อีสานเรียก กาว.
  48. น้ำตาลใกล้มด ใครจะอดได้ : (สํา) น. ชายหญิงที่ใกล้ชิดกันมากย่อม ห้ามใจไม่ให้รักกันได้ยาก.
  49. น้ำน้อยแพ้ไฟ : (สํา) น. ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก.
  50. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-268

(0.0741 sec)