Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ย่ำ , then ยำ, ย่ำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ย่ำ, 31 found, display 1-31
  1. ย่ำ : ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้ง เพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).
  2. ย่ำต๊อก : ก. เดินย่ำไปเรื่อย ๆ เพราะไม่มีรถหรือค่ารถเป็นต้น.
  3. ย่ำเป็นเทือก : ก. ย่ำกันไปมาจนเปื้อนเปรอะเลอะเทอะเหมือนเปรอะด้วย ขี้เทือก.
  4. เหยียบย่ำ : ก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำ คนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.
  5. ใบเหยียบย่ำ : (กฎ; เลิก) น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดิน ซึ่งกําหนด ให้ผู้รับอนุญาตต้องทําประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายใน ๒ ปี.
  6. ย่ำเผยอ : [ผะหฺยํ่าผะเหฺยอ] ก. ปํ้า ๆ เป๋อ ๆ เช่น ทําหาวเรอพูดผยํ่าเผยอ. (พงศ. เลขา).
  7. กลางคืน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
  8. กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
  9. เกียด ๑ : น. เรียกไม้ที่ปักขึ้นกลางลานสําหรับผูกควายหรือ วัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ ว่า เสาเกียด.
  10. ปฐมยาม : [ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).
  11. ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
  12. พลบค่ำ : น. เวลาย่ำค่ำ, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, พลบ ก็ว่า.
  13. ฟองฟอด : ว. ลักษณะที่มีฟองมาก เช่น แกงบูดเป็นฟองฟอด ย่ำน้ำโคลนเป็นฟองฟอด.
  14. ฟอดแฟด : ก. น่วมฟ่ามอยู่ข้างใน. ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงย่ำโคลนดังฟอดแฟด; อาการที่โกรธกระฟัดกระเฟียด.
  15. ยำ ๑ : ก. เคล้าคละ, ปะปน. น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อ สัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ.
  16. ย่ำเทือก : ก. ยํ่าดินโคลนพื้นนาที่จะตกกล้าให้อ่อนเหลว, ย่ำขี้เทือก ก็เรียก.
  17. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  18. วัน ๑ : น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึง เที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ,เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทําการตามที่ได้กําหนดขึ้นโดยกฎหมาย คําสั่งศาล หรือ ระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทําการตามปรกติของกิจการนั้นแล้ว แต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม).
  19. ยำ ๒ : ก. เคารพ, นับถือ.
  20. ยำขโมย : น. ยำเนื้อย่างใส่แตงกวา ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด.
  21. ยำทวาย : น. ยำชนิดหนึ่ง มีผักลวกเช่นผักบุ้ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ราดด้วย หัวกะทิและน้ำพริกซึ่งปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว.
  22. ยำสลัด : น. ยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมี เนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด.
  23. ยำใหญ่ : น. ยำที่ใส่แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัว ผักกาดขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือ หวานด้วยก็ได้.
  24. เนื้อเต่ายำเต่า : (สํา) ก. นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับ ไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม. เนื้อถ้อยกระทงความ น. ถ้อยคําที่ได้เรื่องได้ราวเข้าใจได้ชัดเจน, มักใช้ ในความปฏิเสธว่า ไม่ได้เนื้อถ้อยกระทงความ.
  25. ผักต้มขนมยำ : (สํา) ว. ผสมผเสปนเปกันยุ่ง.
  26. หยำเหยอะ, หยำแหยะ : [หฺยําเหฺยอะ, หฺยําแหฺยะ] ว. อาการที่เคี้ยวซ้ำ ๆ น่ารังเกียจ, อาการที่พูด ซ้ำซากน่าเบื่อ.
  27. ถนัด : [ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชํานาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่ยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัด ดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า.
  28. บูดู : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุง รส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดู แบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้.
  29. ส้มฉุน : น. ของกินชนิดหนึ่ง ใช้มะม่วงดิบมะยมดิบยำกับกุ้งแห้งใส่ น้ำปลาน้ำตาล บางทีก็นำไปตากแดด, ส้มลิ้ม ก็เรียก.
  30. ส้มลิ้ม ๑ : น. ของกินชนิดหนึ่ง ใช้มะม่วงดิบมะยมดิบยำกับกุ้งแห้ง ใส่น้ำปลาน้ำตาล บางทีก็นำไปตากแดด, ส้มฉุน ก็เรียก; มะม่วงสุก ที่กวนแล้วแผ่เป็นแผ่นบาง ๆ, ส้มแผ่น ก็เรียก.
  31. หมูตั้ง : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้น เล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่น เป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.
  32. [1-31]

(0.0663 sec)