ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
รอง ๑ : ก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุน ให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตําแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตําแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.
ของเหลว : น. ของที่ไม่แข็งมีลักษณะไหลได้อย่างนํ้า; (วิทยา) สถานะ หนึ่งของสสารซึ่งมีปริมาตรคงตัวแต่รูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะ ที่รองรับ, สถานะระหว่างแก๊สกับของแข็ง.
ของไหล : (วิทยา) น. สสารซึ่งมีรูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะที่รองรับ ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส.
ขา ๑ : น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สําหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะ คล้ายขาสําหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
เขย่งก้าวกระโดด : น. การแข่งกรีฑาชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันวิ่งจากต้นทาง ทีละคนจนถึงเส้นเริ่มที่มีกระดานรองรับ เขย่งเท้าข้างหนึ่งพร้อมกับ ยันตัวขึ้นแล้วก้าวด้วยเท้าอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงกระโดด ใคร กระโดดได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ.
เขียง : น. ไม้รองรับการสับ หั่น มักเป็นแผ่นกลม ๆ; กระทงจำลองสร้างไว้ บนบกสำหรับฝึกฝีพายที่พายเรือพระราชพิธี.
ไขว่ : [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมา อย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับ แผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่นว่า ๑ ไขว่.
คาน : น. เครื่องเรือนที่ยึดเสาและรองตง ทําด้วยไม้เป็นต้น, ไม้ทําอย่างรอด สําหรับรองรับของหนัก เช่น คานเรือ; ไม้สําหรับหาบหรือหามสิ่งของ ต่าง ๆ เรียกว่า ไม้คาน. ก. รองรับหรือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองรับของหนัก ขึ้นไว้, ถ่วงนํ้าหนักกัน เช่น อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติกับอำนาจของฝ่าย บริหารคานกัน, โดยปริยายหมายความว่า ค้านกัน ยังตกลงกันไม่ได้.
แคร่ ๑ : [แคฺร่] น. ที่สําหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทําด้วยฟาก หรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทําเสาเป็น เครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สําหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์. (รูปภาพ แคร่คานหาม)
จะเข้ ๑ : น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาว ไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีด ทําให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว.
เชิงแป : น. แผ่นไม้ที่อยู่ใต้แปหัวเสาตกแต่งให้มีบ่าเพื่อใช้ รองรับกลอน.
ซุ้ม ๑ : น. สิ่งที่เป็นพุ่มโดยมากปกคลุมด้วยต้นไม้หรือเถาวัลย์ มีทางลอดได้ เช่น ในป่าเถาวัลย์ขึ้นเป็นซุ้มเองตามธรรมชาติ, ต้นไม้ซึ่งขึ้นปกคลุม สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อรองรับ มีทางลอดได้ เช่น ปลูกกระดังงาเป็นซุ้ม, ซุ้มไม้ ก็เรียก.
ฐาน ๑ : [ถาน] น. ที่ตั้ง เช่น ฐานทัพ ฝีตั้งฐาน, ที่รองรับ เช่น ฐานพระพุทธรูป. (ป.).
ฐาน ๔ : (คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จํานวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้าง จํานวนอื่น ๆโดยการยกกําลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จํานวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จํานวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จํานวนที่บอกปริมาณ ในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้ สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๑๐) + (๖ x ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๗) + (๖ x ๗๒).
ฐานราก : น. โครงสร้างตอนล่างสุดที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง; (กฎ) ส่วนของอาคารที่ใช้ถ่ายนํ้าหนักอาคารลงสู่ดิน.
ดาน : ว. แข็ง, แน่น, เรียกดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภทดินเหนียว เนื้อแน่นที่นํ้าไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน ว่า ดินดาน, เรียก หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด ซึ่งมีแร่เช่นดีบุก ทองคํา รวม อยู่ด้วย ว่า หินดาน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะแข็งเป็นดานอยู่ในท้อง เช่น ดานเลือด ดานลม.
ตอม่อ : น. เสาขนาดสั้น มักใช้ไม้ไผ่ปักขึ้นสำหรับรับรอดในเรือนเครื่องผูก, ส่วนบนของฐานรากที่รองรับโครงสิ่งก่อสร้าง, เสาตอม่อ ก็ว่า, โดยปริยาย หมายถึงมีรูปร่างล่ำเตี้ย เช่น เตี้ยม่อต้อเหมือนตอม่อค้ำยุ้ง; เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, เสาตอม่อ หรือ เสาหมอ ก็ว่า; ใช้ว่า ตะม่อ ก็มี. (รูปภาพ ตอม่อ)
ทั่ง : น. แท่งเหล็กสําหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะบางชนิด เช่นเหล็ก ทอง ให้เป็นรูปต่าง ๆ.
ทับเกษตร ๒ : [-กะเสด] น. ส่วนบนของฐานที่รองรับพระพุทธรูปปางประทับนั่ง.
แท่น : น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
ธรณีประตู : น. ไม้รองรับกรอบล่างของประตู มีรูครกสําหรับรับเดือยบาน ประตู และมีรูสําหรับลงลิ่มหรือลงกลอน เช่น ธรณีประตูโบสถ์, ปัจจุบัน เรียกไม้กรอบล่างประตูว่า ธรณีประตู.
นอนก้น : ก. อาการที่ผงหรือตะกอนเป็นต้นในของเหลวตกลงไปอยู่ก้น ที่รองรับของเหลวนั้น เช่น ตะกอนนอนก้น.
เบาะ ๑ : น. เครื่องรองรับซึ่งมีลักษณะนุ่ม เช่น เบาะยัดนุ่น เบาะรองนั่ง เบาะ สําหรับเด็กนอน.
แผ่นดินไหว : น. การสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รู้สึกได้ ณ บริเวณใด บริเวณหนึ่งบนผิวโลก ส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือก โลกที่รองรับผิวโลกอยู่ บางครั้งเกิดจากภูเขาไฟระเบิด.
ฝาละมี : น. สิ่งที่ปิดปากหม้อดินที่เป็นหม้อข้าวหม้อแกง; เรียกส่วน พระเจดีย์ที่เป็นฐานรองรับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกา คล้ายฝาละมี ว่า บัวฝาละมี.
โม่ : น. เครื่องบดชนิดหนึ่งทําด้วยหิน รูปร่างคล้ายสีสีข้าว มี ๒ ส่วน ส่วนบนซึ่งเรียกว่า ลูกโม่นั้น มีมือถือสำหรับหมุน และมีรูสำหรับกรอกเมล็ดพืช เมื่อหมุนลูกโม่จะบด เมล็ดพืชให้ละเอียดและไหลลงสู่ส่วนล่างซึ่งมีลักษณะเป็นรางสำหรับรองรับอยู่เกือบ รอบลูกโม่ ด้านหนึ่งของส่วนล่างมีช่องเปิดให้สิ่งที่โม่แล้วไหลลงสู่ภาชนะ ที่รองรับได้. ก. บดให้ละเอียดด้วยโม่.
ไม้หมอน : น. ไม้กลมยาวสำหรับรองรับของเวลาเคลื่อนย้าย; ท่อนไม้สี่เหลี่ยม สําหรับหนุนหรือรองรับรางรถไฟ.
ยางหนังสติ๊ก : น. แถบยางยาว ๆ มักทำจากยางในรถจักรยาน เวลานำมา ผูกกับง่ามหนังสติ๊กจะใช้ยางเพียง ๒ เส้น โดยผูกปลายด้านหนึ่งของ แต่ละเส้นกับปลายสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ แล้วเอาปลายอีกด้านหนึ่ง ของแต่ละเส้นผูกกับแผ่นหนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงกลาง สำหรับรองรับลูกกระสุนที่ใช้ยิง.
รองพื้น ๑ : ก. อาการที่ทาสีชั้นต้นให้พื้นเรียบเสมอกันเพื่อรองรับสีที่จะ ระบายหรือทาทับลงไป, เรียกสีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า สีรองพื้น; อาการที่เอาครีมหรือแป้ง; ป็นต้นทาหน้าเพื่อให้ผิวหน้าเรียบก่อนแต่งหน้า, เรียกครีมหรือแป้งเป็นต้นที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า ครีมรองพื้น แป้งรองพื้น.
ราก ๑ : น. ส่วนของต้นไม้ ตามปรกติอยู่ในดิน มีหน้าที่ดูดอาหารเลี้ยงลำต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รากผม รากฟัน; เรียกฐานที่อยู่ใต้ดินทำหน้าที่รองรับอาคารว่า รากตึก หรือ ฐานราก; ต้นเดิม, เค้าเดิม, เช่น รากศัพท์.
รากฐาน : น. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับ สำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็น รากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.
รางปืน : น. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภท ประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณ เป็นต้น.
ลงราก : ก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้าง ส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลงรากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก.
ลอง ๑ : น. ของที่ทํารองรับไว้ชั้นใน เช่น ลองพระสุพรรณราช; ส่วนที่ ประกอบชั้นนอกของพระโกศหรือโกศ เรียกว่า พระลอง หรือ ลอง.
ลูกโกลน : [โกฺลน] น. สิ่งที่ใช้ต่างลูกกลิ้งวางเป็นระยะ ๆ ไป เพื่อ รองรับสิ่งที่หนักหรือใหญ่โตให้เคลื่อนย้ายชะลอไปได้สะดวก.
ส้นรองเท้า : น. ส่วนล่างตอนท้ายของรองเท้าที่รองรับส้น.
สะบัก : น. กระดูกส่วนที่เป็นฐานรองรับต้นแขน อยู่ถัดบ่าลงไปข้างหลัง ปลาย ด้านนอกเป็นที่หัวกระดูกต้นแขนเกาะยึด. (รูปภาพ สะบัก)
หย่อง : น. สิ่งสําหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทําด้วย ทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบ ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียง กังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
หล่อน้ำ : ก. เอาน้ำใส่ภาชนะเพื่อรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกันไม่ให้มดขึ้น เช่น หล่อน้ำขาตู้กับข้าว, เอาสิ่งของบางอย่างใส่ไว้ในภาชนะแล้วเอาภาชนะนั้น วางไว้บนอีกภาชนะหนึ่งซึ่งขังน้ำไว้เพื่อกันไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาจานขนม ไปวางบนแก้วที่หล่อน้ำไว้; (โบ) เอาน้ำไปขังไว้ในภาชนะเพื่อใช้ใน พระราชพิธีมูรธาภิเษกเป็นต้น.
หั่น : ก. เอาของวางลงบนที่รองรับแล้วตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ, (ปาก) ตัด เช่น หั่นงบประมาณ.
หินดาน : น. หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด มีแร่เช่นดีบุก ทองคำ รวมอยู่ด้วย.
องศา : น. หน่วยในการวัดขนาดของมุม โดยกําหนดให้มุมที่รองรับโค้ง ๑ ใน ๓๖๐ ส่วนของเส้นรอบวง มีขนาด ๑ องศา และ ๙๐ องศา เป็น ๑ มุมฉาก; หน่วยในการวัดอุณหภูมิตามชนิดของเครื่องวัด; (โหร) น. ส่วนหนึ่งของจักรราศี คือ วงกลมในท้องฟ้า แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒ ราศี และแบ่ง ๑ ราศีออกเป็น ๓๐ องศา ฉะนั้นวงกลมจึงเท่ากับ ๓๖๐ องศา. (ส. อํศ).
อาธาร : [ทาน] น. เครื่องคํ้าจุน, ฐานที่รองรับ, เช่น ปัตตาธาร = เชิงบาตร, ตีนบาตร คุณาธาร = ฐานที่รองรับคุณความดี; การอุปถัมภ์; อ่าง, หม้อนํ้า, ที่ขังนํ้า, สระ. (ป., ส.).