Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รองเท้าผ้าใบ, รองเท้า, ผ้าใบ , then ผ้าใบ, รองทาผาบ, รองเท้า, รองเท้าผ้าใบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รองเท้าผ้าใบ, 40 found, display 1-40
  1. ผ้าใบ : น. ผ้าชนิดหนึ่ง เนื้อหนา ทนทาน ใช้ทําใบเรือ กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น, ผ้าที่ใช้เขียนรูปสีนํ้ามัน.
  2. รองเท้า : น. เกือก.
  3. ผ้าใบกลอย : น. ผ้าขาวบางเนื้อแน่นละเอียด.
  4. ผ้าใบเมี่ยง : น. ผ้าขาวใช้ห่อศพที่เข้าโกศ.
  5. ส้นรองเท้า : น. ส่วนล่างตอนท้ายของรองเท้าที่รองรับส้น.
  6. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  7. ฉลองพระบาท : (ราชา) น. รองเท้า.
  8. บราทุกรา : [บะราทุกฺรา] (โบ; กลอน) น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
  9. บาทุกา : น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
  10. ปราทุกรา : [ปฺราทุกฺรา] (กลอน) น. ปาทุกา, รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
  11. รูปภาพ : น. รูปที่วาดหรือเขียนขึ้นเป็นต้น เช่น เขาเปิดร้านขายรูปภาพ มีทั้งภาพสีน้ำมันและสีน้ำ; (ศิลปะ) สิ่งที่ปรากฏบนพื้น กระดาษ ผนัง ผ้าใบ เป็นต้น เกิดขึ้นจากการวาดหรือระบายสีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ เป็นต้น.
  12. อุปาหนา : [อุปาหะนา, อุบปาหะนา] น. รองเท้า. (ป.; ส. อุปานหฺ).
  13. กระสอบทราย : น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้าง ขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของ นักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้าย ร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
  14. เกือก : (ปาก) น. รองเท้า, ลักษณนามว่า คู่ หรือ ข้าง, ราชาศัพท์ว่า รองพระบาท หรือ ฉลองพระบาท.
  15. เขรอะ, เขลอะ : [เขฺรอะ, เขฺลอะ] ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเขรอะ, เกรอะ ก็ว่า; เลอะเทอะ เช่น รองเท้าเปื้อนโคลนเขลอะ. ก. จับหรือเกาะซับซ้อนกันอยู่ เช่น สนิมเขรอะ ฝุ่นเขลอะ.
  16. เขียงเท้า : น. รองเท้าไม้.
  17. คลุม : [คฺลุม] ก. ปกหรือปิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เสียหายหรือทำให้ มองไม่เห็นเป็นต้น เช่น เอาผ้าใบคลุมรถยนต์ไว้ ไม้เลื้อยคลุมหลังคา; ครอบไปถึง เช่น คำนี้คลุมไม่ถึง.
  18. ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
  19. ชุดสากล : น. เครื่องแต่งกาย ประกอบด้วยกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ต ผ้าผูกคอ เสื้อนอกคอแบะ ถุงเท้า และรองเท้าหุ้มส้น.
  20. ตัด : ก. ทําให้ขาดด้วยของมีคม เช่น ตัดกระดาษ ตัดผ้า; ทอน เช่น ตัดเงินเดือน, ลัด เช่น เดิน ตัดทาง; ตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําให้เป็นสิ่งสําเร็จรูป เช่น ตัดเสื้อ ตัดรองเท้า; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตัดญาติ ตัดกิเลส. ตัดกัน ก. ขัดกัน, ไม่กินกัน, ไม่กลมกลืนกัน, (ใช้แก่สี); ตัดผ่านขวางกัน เช่น ถนนตัด กัน. ตัดขาด ก. เลิกติดต่อคบหากัน.
  21. ถอด : ก. เอาออก เช่น ถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ถอดยศ; ถ่าย เช่น ถอดแบบ มาจากพ่อจากแม่; หลุดออก เช่น เล็บถอด.
  22. ทั้ง : ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อม ด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กําหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา, ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด; ทั้งที่ เช่น ทําทั้งรู้ ๆ กินทั้งจืด ๆ ล้มทั้งยืน; มิหนําซํ้า เช่น ของนี้คุณภาพตํ่า ทั้งราคาก็แพง ยานี้จะทําให้ท้องผูกทั้งจะทําให้ใจสั่นอีกด้วย.
  23. ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
  24. บาทนิเกต : [บาดทะนิเกด] น. ที่รองเท้า, ม้ารองเท้า. (ส.).
  25. บาทบงกช : [บาดทะบงกด, บาดบงกด] น. บัวบาท, บัวรองเท้า, หมายความว่า เท้าพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปงฺกช).
  26. ปาทุกา : (แบบ) น. รองเท้า, เขียงเท้า, เขียนเป็น บราทุกรา หรือ ปราทุกรา ก็มี. (ป., ส.).
  27. พอเหมาะ : ก. เหมาะเจาะ เช่น เขามาพอเหมาะกับเวลา รองเท้านี้ ใส่ได้พอเหมาะ, พอเหมาะพอเจาะ ก็ว่า.
  28. พื้น : น. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็น แผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทํา สวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มี ดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
  29. มนุษย์กบ : น. คนที่ฝึกดํานํ้าได้นาน ๆ จนชํานาญโดยอาศัยหน้ากาก รองเท้าคล้ายตีนกบ และอุปกรณ์ช่วยการหายใจใต้นํ้า.
  30. ยางพารา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Hevea brasiliensis (A. Juss.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมื่อกรีดลําต้นได้นํ้ายางสีขาว ใช้ทําผลิตภัณฑ์หลาย ชนิด เช่น ยางรถ พื้นรองเท้า.
  31. ร้อย ๒ : ก. สอด, สอดด้วยด้ายเป็นต้น, เช่น ร้อยดอกไม้ ร้อยพวงมาลัย ร้อย สตางค์แดง ร้อยเชือกผูกรองเท้า.
  32. เรือใบ : น. เรือต่อชนิดหนึ่งที่แล่นด้วยกำลังลมโดยมีเสากระโดงสำหรับ ขึงผ้าใบเพื่อรับลม ถ้าใช้เดินทะเลเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้า จะเป็นเรือขนาดใหญ่ ถ้าใช้เพื่อการกีฬาจะเป็นเรือขนาดเล็กซึ่งมีอยู่หลาย ประเภท เช่น ประเภทโอเค ประเภทซูเปอร์มด ประเภทเอนเตอร์ไพรซ์.
  33. ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
  34. สเกตน้ำแข็ง : น. รองเท้าหุ้มข้อซึ่งมีพื้นติดแผ่นโลหะคล้ายสันมีดสําหรับ แล่นลื่นไปบนลานนํ้าแข็ง; ชื่อการเล่นอย่างหนึ่งที่ผู้เล่นต้องสวมรองเท้า สเกตเช่นนั้นแล้วแล่นลื่นไปบนลานน้ำแข็ง. (อ. skate).
  35. ส้น : น. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียกเต็มว่า ส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.
  36. สลัด ๓ : [สะหฺลัด] ก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ติดอยู่ให้หลุดไปโดยวิธีสะบัด ซัด หรือกระพือ เป็นต้น เช่น สลัดรองเท้าให้หลุดจากเท้า เม่นสลัดขน เขาสลัดมีดสั้นไปที่คู่ต่อสู้ ไก่สลัดขนปีก, โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สลัดรัก.
  37. สวม : ก. กิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงเป็นต้นครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมชฎา สวมหมวก เกี้ยวสวมจุก, คล้อง เช่น สวมพวงมาลัย, นุ่ง ในคําว่า สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมรองเท้า; เข้าแทนที่ เช่น สวมตําแหน่ง.
  38. สับ ๑ : ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลม เจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอ หน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทําเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียว ขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของ สับที่ ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.
  39. หนังกลับ : น. หนังที่ผิวไม่เรียบ มีลักษณะฟูน้อย ๆ คล้ายเนื้อผ้ากำมะหยี่ เช่น เข็มขัดหนังกลับ รองเท้าหนังกลับ, โดยปริยายเรียกสุนัขขี้เรื้อนว่า สุนัขหนังกลับ.
  40. หุ้ม : ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นโอบคลุมอีกสิ่งหนึ่ง, อาการที่สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่น กาบหรือเปลือกเป็นต้น โอบคลุมของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น หนังหุ้มกระดูก กาบกล้วยหุ้มหยวกเปลือกหุ้มกระพี้ รองเท้าหุ้มส้น.
  41. [1-40]

(0.1063 sec)