รอง ๑ : ก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุน ให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตําแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตําแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.
รอง ๒ : ว. งามสุกใส เช่น รองเรือง.
รองจ่าย : (ปาก) ก. ทดรองจ่ายเป็นค่าใช้สอยปลีกย่อย, เรียกเงินที่ใช้เช่น นั้นว่า เงินรองจ่าย.
รองบ่อน : ว. ประจําบ่อน, ที่ยืนโรงไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด เช่น ไก่รองบ่อน.
รองพื้น ๑ : ก. อาการที่ทาสีชั้นต้นให้พื้นเรียบเสมอกันเพื่อรองรับสีที่จะ ระบายหรือทาทับลงไป, เรียกสีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า สีรองพื้น; อาการที่เอาครีมหรือแป้ง; ป็นต้นทาหน้าเพื่อให้ผิวหน้าเรียบก่อนแต่งหน้า, เรียกครีมหรือแป้งเป็นต้นที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า ครีมรองพื้น แป้งรองพื้น.
รองท้อง : ก. กินพอกันหิวไปก่อน.
รองพื้น ๒ : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่าเท้าทําให้พื้นเท้าเป็นรูพรุน.
ไก่รองบ่อน : (สํา) น. ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสํารอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้.
ฉลอง ๓ : [ฉะหฺลอง] ก. จำลอง, รอง, แทน, ช่วย.
บรรทัดรองมือ : น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับจิตรกรใช้รองมือเขียน ภาพ เป็นไม้แบน ๆ ยาว ๑-๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑ นิ้ว หุ้มปลาย ข้างหนึ่งด้วยสำลีพันกระดาษฟางหรือผ้าเนื้อนุ่ม.
ใบรับรอง : น. เอกสารที่แสดงการรับรอง เช่น ใบรับรองแพทย์.
มือรอง : น. ผู้มีความสำคัญเป็นคนที่ ๒ รองจากมือแรก, คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.
เรืองรอง : ว. สุกปลั่ง เช่น พระพุทธรูปมีแสงเรืองรอง.
อุปะ : [อุปะ, อุบปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและ สันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก. (ป., ส.).
โอร : [ระ] ว. ตํ่า, ใต้; รอง; หลัง; ฝั่งนี้. (ป.; ส. อวร).
ชื่อรอง : (กฎ) น. ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว.
เป็นรอง : ก. เสียเปรียบ, ถ้าได้เปรียบใช้ว่า เป็นต่อ.
ผู้รับรอง : น. ผู้รับประกัน; ผู้ต้อนรับ.
รถพระที่นั่งรอง : น. รถยนต์ที่เตรียมสำรองไว้ใช้แทนรถพระที่นั่งใน กระบวนเสด็จพระราชดำเนินเป็นทางการ.
ร่อง : น. รอยลึกเป็นช่องทางไปตามยาว, สันดินระหว่างท้องร่องสําหรับเพาะ ปลูก เช่น ร่องผัก ร่องมัน.
เรื่อง : น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ; เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง.
เรือพระที่นั่งรอง : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปใน กระบวนเสด็จทางชลมารค เช่น เรืออนงคนิกร เรืออัปสรสุรางค์.
เถา : น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลง ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา เพลงราตรีประดับดาวเถา.
กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
กถา : [กะ-] น. ถ้อยคํา, เรื่อง, คําอธิบาย, คํากล่าว. (ป.).
กรณี : [กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทํา).
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
กรอง ๑ : [กฺรอง] ก. ร้อย เช่น กรองมาลัย = ร้อยดอกไม้; ถัก, ทอ, เช่น กรองแฝก กรองคา.
กรอง ๒ : [กฺรอง] ก. เอาของละเอียดออกจากของหยาบ เช่น กรองทราย, เอาฝุ่นละอองหรือของสกปรกออก เช่น กรองน้ำมัน กรองอากาศ, ใช้เครื่องกรองมีผ้าเป็นต้น คัดเอาผงหรือกากออกจากน้ำหรือสิ่ง ที่เป็นน้ำ เช่น กรองน้ำ กรองกะทิ.
กรอง ๓ : [กฺรอง] (กลอน) น. กําไล, โดยมากใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ เช่น กรองเชิง = กําไลเท้า กรองได = กําไลมือ กรองศอ = สร้อยคอ, สร้อยนวม เช่น กรองศอซ้อนสลับทับอังศา. (อิเหนา). [ข. กง (กอง) ว่า กำไล, วงกลม].
กรอง ๔ : [กฺรอง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระชอน.
กระจัก : (กลอน) ก. เป็นจัก ๆ เช่น กระจักกระจังบัลลังก์บัวหงาย ธูปรองทองทราย สลับด้วยแก้วแกมนิล. (พากย์).
กระทงเพชร : น. ไม้ติดขวางรองแคร่เกวียนเพื่อยึด ไม่ให้แคร่แยกออกไป.
กระบม : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม)
กระโบม ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
กรุ ๒ : [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ.
กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
กลางหาว : น. กลางแจ้ง เช่น รองน้ำฝนกลางหาว, บนฟ้า เช่น เครื่องบินรบกันกลางหาว.
กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
การ ๑ : น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.
กินน้ำใต้ศอก : (สํา) ก. จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง).
กี๋ : น. ฐานสําหรับรองสิ่งของหรือสำหรับนั่ง ทําด้วยวัตถุต่าง ๆ มีรูปต่าง ๆ กัน เช่น กี๋รองแจกัน กี๋รองกระถางต้นไม้; ภาชนะมีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่เครื่องน้าชาแบบจีน เช่น กี๋ญวน.
เก๋งพั้ง : น. เรือสําปั้นขนาดใหญ่มีเก๋งกลางลํา เช่น เรือเก๋งพั้งทั้งสอง สํารองเสร็จ. (นิ. ลอนดอน).
เกณฑ์เมืองรั้ง : น. ตําแหน่งเก่าในราชการ ซึ่งเป็นตําแหน่งสํารองเจ้าเมือง.
เกยลา : น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านาย รองจากพระเจ้าแผ่นดินลงมา; นอกชาน.
เกือก : (ปาก) น. รองเท้า, ลักษณนามว่า คู่ หรือ ข้าง, ราชาศัพท์ว่า รองพระบาท หรือ ฉลองพระบาท.
ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
ขันต่อ : ก. กล้าต่อ. (กฎ) น. การต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัย เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ.