Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ระกะ , then รก, ระกะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ระกะ, 164 found, display 1-50
  1. ระกะ : ก. มากเกะกะ, ใช้เข้าคู่กับคํา ระเกะ เป็น ระเกะระกะ.
  2. ระเกะระกะ : ก. มากเกะกะ.
  3. ดารกะ : [-ระกะ] (แบบ) น. ดาว, ดวงดาว. (ป., ส. ตารกา).
  4. ฉะกะ : ก. ระกะ เช่น โกมุทอุบลบานฉะกะ. (อนิรุทธ์).
  5. สรลม : [สฺระหฺลม] (กลอน) ว. สล้าง, ดาษ, ระกะ.
  6. กรก, กรก- : [กะหฺรก, กะระกะ-] (แบบ) น. ลูกเห็บ เช่น กรกวรรษ = ฝนลูกเห็บ. (ป., ส.).
  7. รุงรัง : ว. อาการที่สิ่งเป็นเส้นยาว ๆ พัวพันกันยุ่งยุ่มย่าม เช่น ขนยาวรุงรัง ผม เผ้ารุงรัง หนวดเครารุงรัง, อาการที่สิ่งต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างระเกะระกะ หรือแยกกระจัดกระจายกันอยู่ยุ่งเหยิง เช่น ห้องรกรุงรัง ห้อยผ้าไว้รุงรัง; พะรุงพะรัง เช่น หอบของมารุงรัง, นุงนัง เช่น หนี้สินรุงรัง.
  8. กรกฎาคม : [กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตาม สุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
  9. แคฝรั่ง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Gliricidia sepium (Jacq.) Walp. ในวงศ์ Leguminosae แตกกิ่งก้านระเกะระกะ ออกดอกสีขาวหรือสี ม่วงอ่อนตามกิ่ง.
  10. พาหิรกะ, พาหิระ : [หิระกะ] ว. ภายนอก. (ป.).
  11. เฟือย : น. ที่ริมนํ้าซึ่งมีหญ้าหรือไม้ขึ้นระกะอยู่.
  12. มิศร-, มิศรก- : [มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส, มิสฺสก).
  13. รก ๑ : ว. ที่กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทิ้ง กระดาษไว้รกบ้าน, ที่งอกหรือขึ้นรวมกันอยู่อย่างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อย เช่น หญ้ารก ป่ารก, น่ารําคาญเพราะไม่เป็นระเบียบ เช่น รกตา รกหู รกสมอง.
  14. รก ๒ : น. เครื่องสําหรับหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์แนบอยู่กับมดลูก มีสายล่ามมาที่ สะดือเด็ก; สิ่งที่เป็นเส้นคล้ายรากไม้ที่ห้อยอยู่ตามกิ่งไม้บางอย่างเช่น มะดัน เรียกว่า รกมะดัน, บางทีเป็นแผ่นห่อกาบไม้เช่นต้นมะพร้าว เรียกว่า รกมะพร้าว.
  15. ระโยงระยาง : น. สายที่โยงหรือผูกไว้ระเกะระกะ เช่น สายไฟระโยง ระยางเต็มไปหมดน่ากลัวอันตราย.
  16. สรกะ : [สะระกะ] น. จอก, ขัน. (ป., ส.).
  17. รกเรี้ยว : ว. รกมาก เช่น ป่ารกเรี้ยว.
  18. รกเรื้อ : ว. รกมาก เช่น สวนรกเรื้อไม่ได้ดูแลเสียนาน.;
  19. กระตรกกระตรำ : (โบ; กลอน) ก. ตรากตรํา เช่น หาเลี้ยงและโดยสฤษฎิตน กระตรกกระตรำก็นําพา. (กล่อมพญาช้าง).
  20. ชุมแพรก : [แพฺรก] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Heritiera javanica Kosterm ในวงศ์ Sterculiaceae เนื้อไม้ใช้ทําบ้านและ เครื่องเรือนเป็นต้น.
  21. สรสรก : [สะระสก] ว. โซก, ซ่ก, โชก, เช่น แล้วมันก็เชือดเอาหัวใจนาง เลือดตก พลางสรสรก แล่นฉวยฉกหาไปบอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  22. การิตการก : [การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทํา, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา ''ถูก-ให้'' เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทํางาน ทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท ''ยัง'' หรือ กริยานุเคราะห์ ''ให้'' เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทํางาน นายจ้างให้ลูกจ้างทํางาน.
  23. เข้ารกเข้าพง : (สํา) ก. พูดหรือทําไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความ ชํานาญในเรื่องนั้น.
  24. ฝังรกฝังราก, ฝังรกราก : ก. ตั้งถิ่นฐานประจํา.
  25. พุ่งหอกเข้ารก : (สํา) ก. ทําพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือ โดยไม่คํานึงว่าใครจะเดือดร้อน.
  26. โมรกลาป : [-กะหฺลาบ] น. แพนหางนกยูง. (ป.).
  27. การก : [กา-รก] น. ผู้ทํา. (ไว) ก. กริยาที่ทําหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และ วิเศษณการก. (ป., ส.).
  28. ครรภมล : [คับพะมน] น. รก. (ประกาศ ร. ๔), (ราชา) พระครรภมล.
  29. สหชาต, สหชาติ : น. ผู้เกิดวันเดือนปีเดียวกัน, ผู้เกิดร่วมปีนักษัตรใน รอบเดียวกัน. (ป.); (ราชา) รก.
  30. กฎหมายอาญา : (กฎ) น. กฎหมายที่กําหนดลักษณะของการกระทํา ที่ถือว่าเป็นความผิด และกําหนดบทลงโทษทางอาญาสําหรับ ความผิดนั้น. (อ. criminal law).
  31. กรรบูร : [กันบูน] (แบบ) น. การบูร เช่น กฤษณากระวานการ- บูรกูรกระเหนียดกรร- บูรแกมกำคูนคันธ์ รสจวงกำจร มา. (สมุทรโฆษ).
  32. กรรมเวร : [กําเวน] น. การกระทําที่สนองผลร้ายซึ่งทําไว้แต่ปาง ก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมใน อดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวร แท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.
  33. กรอกแกรก ๑ : [กฺรอกแกฺรก] ว. เสียงอย่างเสียงใบไม้แห้งกระทบกัน.
  34. กรอกแกรก ๒ : [กฺรอกแกฺรก] (โบ) น. การเล่นพนันชนิดหนึ่ง. (ราชกิจจา. ล. ๑).
  35. -กระตรำ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระตรก เป็น กระตรกกระตรํา.
  36. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  37. กระบวนการ : น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการ เจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนิน ต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมี เพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. process).
  38. กระหว่า : (โบ; กลอน) ว. ราวกับว่า เช่น หน้าตาหัวอกรกเป็นขน ดูสง่ากระหว่าคนหรือนนทรี. (มโนห์รา).
  39. กลศาสตร์ : [กนละ-] น. วิชาฟิสิกส์สาขาหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับ การกระทําของแรงต่อเทหวัตถุ และผลที่เกิดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้น ภายหลังที่ถูกแรงมากระทํา. (อ. mechanics).
  40. กล่าวขวัญ : ก. พูดถึง, พูดออกชื่อและการกระทําของคนอื่น.
  41. กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
  42. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  43. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  44. กักกัน : ก. กําหนดเขตให้อยู่, กัก ก็ว่า. (กฎ) น. วิธีการเพื่อ ความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทํา ความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกําหนด เพื่อป้องกันการกระทําความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ.
  45. กัน ๒ : ว. คําประกอบท้ายกริยาของผู้กระทําตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงการกระทําร่วมกัน อย่างเดียวกันหรือต่อกัน เช่น คิดกัน หารือกัน.
  46. กันและกัน : ส. คําใช้แทนชื่อในลักษณะที่มีการกระทําร่วมกัน หรือต่อกันโดยมีบุรพบทประกอบหน้า เช่น รักซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ของกันและกัน.
  47. การกลั่นทำลาย : น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์ โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทําลาย ขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทําลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. (อ. destructive distillation).
  48. การพา : (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านของเหลว หรือแก๊สโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของของเหลวหรือแก๊สเคลื่อนที่ไป. การเมือง น. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหาร ประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดําเนินนโยบาย ระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่งการเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่ อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงํา, มีการกระทําอันมีเจตนาอื่น แอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
  49. การิตวาจก : [การิดตะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นการิตการกหรือผู้รับใช้, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็นการิตการก คือ เป็นผู้ถูกใช้ กริยาของการิตวาจกใช้กริยานุเคราะห์ ''ถูก'' ''ถูก-ให้'' หรือ ''ถูกให้'' เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างให้ทํางาน.
  50. กิริยา : น. การกระทํา; อาการที่แสดงออกมาด้วยกาย, มารยาท, บางทีใช้ในอาการที่ดี เช่น มีกิริยา หมายความว่า มีกิริยาดี. (ป.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-164

(0.0671 sec)