ระคน : ก. ปนหรือผสมให้เข้ากันคละกันเป็นกลุ่มเป็นพวกเป็นต้น เช่น โจทย์ระคน.
เกลื้อ : [เกฺลื้อ] ก. เกลือก, เกลี้ย, กลั้ว, ระคน, เจือ.
บรรสม : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสม) ก. รวมกันเข้า, ปน, ระคน, เจือ.
แปด ๒ : ก. เปื้อน, มักพูดเข้าคู่กันเป็น แปดเปื้อน; ปน, ระคน, มักพูดเข้าคู่ กันเป็น แปดปน.
แปม : ก. เปื้อน, กลั้ว, ระคน, มักพูดเข้าคู่กับคํา ปน เป็น แปมปน หรือ ปนแปม.
แปดปน : ก. ปน, ระคน.
เขย่า : [ขะเหฺย่า] ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้สิ่งนั้น กระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวดเพื่อให้ยา ระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทําให้กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.
คลุก : [คฺลุก] ก. เคล้าให้เข้ากัน, ขยําให้ระคนเข้ากัน; ประชิดติดพันเข้าไป เช่น เข้าคลุกวงใน, เกลือก เช่น คลุกเกลือ คลุกน้ำตาล.
คลุกคลี : ก. เข้าปะปนระคนกัน, เข้าใกล้ชิดกัน.
เจือ : ก. เอาส่วนน้อยประสมลงไปในส่วนมากให้ระคนปนกัน, ตามปรกติ ใช้กับของเหลว เช่น เอานํ้าเย็นเจือนํ้าร้อน. ว. ไม่แท้ไม่บริสุทธิ์เพราะ มีสิ่งอื่นปนอยู่ด้วย เช่น เงินเจือ.
เจือปน : ก. เอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็น อันเดียวกัน.
ปกิณกะ : [ปะกินนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี. (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).
ปน : ก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทย ปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วน น้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน.
ประกีรณกะ, ประเกียรณกะ : [ปฺระกีระนะกะ, ปฺระเกียนระนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน. (ส. ปฺรกีรฺณก; ป. ปกิณฺณก).
ประคนธรรพ, ประคนธรรพ์ :
[ปฺระคนทับ, ปฺระคนทัน] ดู ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์.
ปะปน : ก. ปนกัน (มักใช้ในลักษณะที่สิ่งต่างชนิดต่างประเภทระคนปนกัน), บางทีก็ใช้หมายความอย่างเดียวกับ ปน.
มิสกวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. มิสฺสกวน; ส. มิศฺรกวน); ป่าที่มีไม้ต่าง ๆ ระคนกัน.
ลิลิตดั้น : น. ลิลิตที่ใช้ร่ายดั้นขึ้นต้น แล้วใช้โคลงดั้นกับร่ายดั้น สลับระคนอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตยวนพ่าย.
ลิลิตสุภาพ : น. ลิลิตที่ใช้ร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณขึ้นต้น แล้วใช้ โคลงสุภาพกับร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณสลับระคนอยู่ในเรื่อง เดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตเตลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต.
หน้าชา : ว. อาการที่รู้สึกอับอายขายหน้าระคนโกรธ แต่ก็ตอบโต้ไม่ได้ เช่น เธอรู้สึกหน้าชาที่ถูกประจาน.
ราคี ๒ : น. ความมัวหมอง, มลทิน, เช่น หญิงคนนี้มีราคี. (ส. ราคินฺ).