Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ระลอกคลื่น, ระลอก, คลื่น , then คลน, คลื่น, รลอกคลน, ระลอก, ระลอกคลื่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ระลอกคลื่น, 61 found, display 1-50
  1. คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
  2. ระลอก : น. คลื่นขนาดเล็ก. (ข. รลก).
  3. ระลอก : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง พองเป็นหัวเล็ก ๆ คล้ายฝี.
  4. ดรงค์ : [ดะ-] (แบบ) น. คลื่น, ระลอก. (ป., ส. ตรงฺค).
  5. คลื่นกระทบฝั่ง ๑ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  6. คลื่นกระทบฝั่ง ๒ : (สํา) น. เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นมาแล้วกลับเงียบหายไป.
  7. วิจิ : น. วีจิ, คลื่น, ลูกคลื่น. (ป., ส. วีจิ).
  8. กระลายกระลอก : [-หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ).
  9. ฟันคลื่น : ก. แล่นเอาหัวเรือตัดคลื่นไป.
  10. เมาคลื่น : ก. มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนในเวลาที่เรือโดยสารถูกคลื่นในทะเล.
  11. ลูกคลื่น : ว. มีลักษณะสูง ๆ ต่ำ ๆ เป็นลอนอย่างคลื่น เช่น ถนน สายนี้เป็นลูกคลื่น.
  12. สงัดคลื่น : ก. ไม่มีเสียงคลื่น.
  13. สงัดคลื่นสงัดลม : ก. ไม่มีคลื่นไม่มีลม เช่น ทะเลสงัดคลื่นสงัดลม.
  14. สางคลื่น : น. คลื่นที่ยอดไม่แตก, คลื่นใต้นํ้า.
  15. เหียน ๒, เหียน ๆ : ก. มีอาการพะอืดพะอมคล้ายจะคลื่นไส้ เช่น รู้สึกเหียน ๆ, มักใช้เข้าคู่กับคำ คลื่น เป็น คลื่นเหียน.
  16. วีจิ : น. คลื่น, ลูกคลื่น. (ป., ส.).
  17. อุลโลละ : [อุน] น. คลื่น; ความปั่นป่วน, ความไม่ราบคาบ. (ป., ส.).
  18. กระดานโต้คลื่น : น. กระดานที่มีลักษณะแคบและยาว ใช้เล่นบนคลื่น โดยผู้เล่นยืนทรงตัวบนแผ่นกระดานแล้วให้คลื่นหนุนเคลื่อนไป. (อ. surfboard), เรียกการเล่นเช่นนั้นว่า การเล่นกระดานโต้คลื่น. (อ. surf-riding).
  19. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  20. ระลอก : [-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.
  21. กำรู : (โบ) ก. กรู, รวมหมู่กันเข้ามา, ประดังกันเข้ามา, เช่น กํารูคลื่นเป็นเปลว. (แช่งน้ำ).
  22. แกมมา : (ฟิสิกส์) น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอํานาจใน การเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. (อ. gamma).
  23. คลื่นใต้น้ำ ๑ : น. คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสมํ่าเสมอและยอด เรียบเคลื่อนตัวมาจากแหล่งกําเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็นสัญญาณ บอกเหตุว่าจะเกิดพายุ.
  24. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า : น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของ สนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.
  25. ความถี่ : (ฟิสิกส์) น. จํานวนไซเกิล, การแกว่งกวัด, การสั่นสะเทือนหรือคลื่น ใน ๑ วินาที เช่น ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่ ๕๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล; (สถิติ) จํานวนคะแนนในกลุ่มของ ข้อมูลที่มีสมบัติเหมือนกัน. (อ. frequency).
  26. ความยาวคลื่น : น. ความยาวระหว่างจุดใดจุดหนึ่งบนคลื่นลูกหนึ่งไปยังจุดในตําแหน่ง เดียวกันบนคลื่นลูกถัดไป.
  27. ซัด ๒ : ก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก, ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมา โดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดํา ซัดนายขาว, รําทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คําค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า ซัดแพรสี.
  28. ดองดึง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Gloriosa superba L. ในวงศ์ Colchicaceae ปลายใบ ม้วนลง กลีบดอกเป็นคลื่น สีแดงและเหลือง หัวมีพิษ. (ข. ฎงฎึง).
  29. ตรังค-, ตรังค์ : [ตะรังคะ-, ตะรัง] (แบบ) น. ลูกคลื่น. (ป., ส.).
  30. ตะพัก : น. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดิน สูงขึ้นหรือ ต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตร ก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเล เป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะ ขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือ ไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  31. ที่ราบ : น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะ เป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะ แตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร.
  32. โทรทัศน์ : น. กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่ดังกล่าวว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่ได้รับจากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับเป็นคลื่นเสียงและภาพ ตามเดิมว่า เครื่องรับโทรทัศน์. (อ. television).
  33. โทรสาร : น. กรรมวิธีในการถอดแบบเอกสารหรือรูปภาพโดยทาง คลื่นไฟฟ้า, เดิมใช้โทรภาพ; เอกสารซึ่งส่งหรือรับด้วยกรรมวิธี ดังกล่าว. (อ. facsimile).
  34. ฝ่า ๒ : ก. กล้าผ่าน (เข้าไปหรือออกมา) หรือฝืนอยู่ในที่อันตราย, ทนรับ, ทนสู้, เช่น ฝ่าอุปสรรค ฝ่าอันตราย; ทวน เช่น ฝ่ากระแสคลื่น.
  35. พลิ้ว : [พฺลิ้ว] ก. บิด, เบี้ยว, เช่น คมมีดพลิ้ว; สะบัดเป็นคลื่นไปตามลม เช่น ธงพลิ้ว.
  36. มันสมอง : น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก.
  37. ไมโครโฟน : [-โคฺร-] น. เครื่องที่ใช้สําหรับขยายเสียงให้ดังขึ้น, เครื่องที่ใช้สําหรับเปลี่ยน คลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นในการส่งวิทยุ โทรศัพท์, มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า ไมค์. (อ. microphone).
  38. โยน ๑ : ก. ซัดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นไปจากตัวโดยวิธีหงายมือ เช่น โยนสตางค์ โยนของ, เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวอย่างแรงจากที่เดิม เช่น คลื่นซัดจนเรือโยน คลื่นโยนเรือ, ไหวอย่างแรง แต่ไม่เคลื่อนจากที่เดิม เช่น ลมพัดกิ่งไม้โยนไปโยนมา หอบจนตัวโยน; เหวี่ยงเป็นวงกว้าง เช่น โยนค้อนตีเหล็ก, ปัดให้พ้นตัวไป เช่น โยนบาป โยนเรื่อง.
  39. รังสีความร้อน : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วง คลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐–๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, รังสี อินฟราเรด ก็เรียก.
  40. รังสีเหนือม่วง : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วง คลื่นประมาณระหว่าง ๔ x ๑๐–๗ เมตร กับ ๕ x ๑๐–๙ เมตร แสงแดด มีรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสาร ๗–ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7–dehydro–choles–terol) ในผิวหนังมนุษย์ให้กลายเป็นวิตามินดี, รังสี อัลตราไวโอเลต ก็เรียก.
  41. รังสีเอกซ์ : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่น อยู่ประมาณระหว่าง ๕ x ๑๐–๙ เมตร ถึง ๖ x ๑๐–๑๒ เมตร ใช้ประโยชน์ ในทางแพทย์ ทางวิศวกรรม เป็นต้น, รังสีเรินต์เกน หรือ เอกซเรย์ ก็เรียก; เรียกการถ่ายภาพอวัยวะภายในโดยใช้รังสีเอกซ์ว่าการถ่ายภาพเอกซเรย์, เรียกการรักษาโรคมะเร็งและโรคผิวหนังบางประเภท โดยใช้รังสีเอกซ์ ที่มีช่วงคลื่นสั้นกว่าที่ใช้ถ่ายภาพว่า การฉายเอกซเรย์ หรือ การฉายแสง.
  42. รันชนรันแชง : (กลอน) ก. กระทบกระทั่งเกิดปั่นป่วนอย่างคลื่นซัดหรือลมพัด. (ข. ร?ฺชํร?ฺแชง).
  43. ลอน : น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไปบน พื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
  44. ละลอก : น. ระลอก; โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นเม็ดมีหนอง.
  45. ลูกระนาด : ว. เรียกถนนที่มีผิวจราจรขรุขระมีลักษณะคล้ายลูก ระนาดหรือลูกคลื่นว่า ถนนเป็นลูกระนาด, ถนนเป็นลูกคลื่น ก็ว่า, เรียกสะพานที่เอาไม้จริงมาตีอันเว้นอันว่า สะพานลูกระนาด.
  46. โล้ : ก. แล่นไปตามคลื่น (สำหรับเรือสําเภา) (พจน. ๒๔๙๓), ทําให้เรือ เคลื่อนที่โดยอาการโยกแจวให้ปัดนํ้าไปมา. น. เรียกเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสําหรับยืนโล้ไป ไม่มีหางเสือ ใช้ตามชายฝั่ง ทะเล ว่า เรือโล้.
  47. วิทยุ : [วิดทะยุ] น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตาม อากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสู่อากาศว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียง ตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ.
  48. สงบ : [สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์ สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการ ไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจร ผู้ร้าย.
  49. สงัด : [สะหฺงัด] ก. เงียบสงบ เช่น คลื่นสงัด ลมสงัด. ว. เงียบเชียบ, สงบเงียบ เพราะปราศจากเสียงรบกวน, เช่น ดึกสงัด ยามสงัด.
  50. สเปกตรัม : (ฟิสิกส์) น. ผลที่ได้จากการที่การแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าถูกแยก ออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ตามขนาดของช่วงคลื่นหรือความถี่ ขององค์ประกอบนั้น ๆ. (อ. spectrum).
  51. [1-50] | 51-61

(0.1064 sec)