ระวาง : น. ทำเนียบ เช่น ม้าขึ้นระวาง เรือขึ้นระวาง; ที่ว่างสำหรับบรรทุกของ ในเรือเป็นต้น เช่น เสียค่าระวาง.
ขึ้นระวาง : ก. เข้าทําเนียบ, เข้าประจําการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).
ปลดระวาง : ก. ปลดจากตําแหน่ง, ปลดจากทําเนียบ, ปลดจาก ประจําการ; โดยปริยายหมายความว่า หมดหน้าที่.
โหก ๑ : น. ช่อง, ระวาง.
กระซับ : น. ชื่อพนักงานพวกหนึ่งในเรือเดินทะเล มีหน้าที่รักษาพัสดุตลอด จนสินค้าทั่วไปในระวางเรือด้วย เรียกเต็มว่า กระซับปากเรือ.
จองคช : [-คด] น. ช้างที่ผูกเครื่องรบเข้าระวางทัพ.
ตัน ๒ : น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่ง เท่ากับ นํ้าหนัก ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๖ (เศษ ๒ ส่วน ๓) หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒. ตันระวางเรือ ถ้าคํานวณระวางบรรทุกสินค้า และห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคํานวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคํานวณนํ้าหนักทั้ง ลําเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตัน ระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑,๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์ เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. (อ. ton).
ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
ใบเบิกร่อง : (กฎ) น. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวาง จดทะเบียนตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนําเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้า สมุทรปราการ.
เรือคอร์เวต : น. เรือรบที่มีระวางขับน้ำประมาณ ๖๕๐๑,๕๐๐ ตัน มี หน้าที่หลักเป็นเรือเร็วคุ้มกันและปราบเรือดำน้ำ.
เรือประจัญบาน : น. เรือรบขนาดใหญ่ระวางขับน้ำประมาณ ๒๐,๐๐๐ ตันขึ้นไป มีเกราะป้องกันตนเอง มีอาวุธสมัยใหม่หลายประเภท รวมทั้ง อาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และพื้นสู่อากาศ มีหน้าที่หลักในการต่อตีเรือข้าศึก และระดมยิงฝั่งเพื่อสนับสนุนการรบสะเทินน้ำสะเทินบก.
เรือพิฆาต ๒ : น. เรือรบที่มีความเร็วสูง ระวางขับน้ำประมาณ ๓,๘๐๐ ๕,๕๐๐ ตัน มีหน้าที่หลักในการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำและอากาศยาน และอาจทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น เฝ้าตรวจการรุกล้ำทางผิวน้ำและอากาศ ตรวจการรุกล้ำของเรือดำน้ำมีอาวุธสมัยใหม่ทั้งปืนใหญ่ อาวุธนำวิถี และอาวุธปราบเรือดำน้ำ.
เรือฟริเกต : น. เรือรบที่มีความเร็วสูง มีระวางขับน้ำประมาณ ๑,๕๐๐ ๓,๕๐๐ ตัน แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามระบบอาวุธประจำเรือ อาทิ เรือฟริเกตต่อสู้อากาศยานเรือฟริเกตควบคุมอากาศยาน เรือฟริเกต ปราบเรือดำน้ำ และเรือฟริเกตอเนกประสงค์.
เรือเร็วโจมตี : น. เรือรบขนาดเล็กระวางขับน้ำประมาณ ๓๐๐๖๐๐ ตัน มีความเร็วสูงตั้งแต่ ๒๕ นอตขึ้นไป มีอาวุธที่มีอำนาจในการทำลายสูง หลายประเภทขึ้นอยู่กับภารกิจของเรือนั้น ๆ เช่น ปืน อาวุธนำวิถีระยะ ปานกลางหรือระยะไกล.
เรือลาดตระเวน : น. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่า เรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทาง อากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น.
เรือหลวง : น. เรือที่ขึ้นระวางเป็นของหลวง.