Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ระสี , then รส, รสี, ระสี, ราสี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ระสี, 316 found, display 1-50
  1. ระสี : น. ไม้ไผ่. (ข.).
  2. รส : น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).
  3. ราสี : น. ราศี. (ป. ราสิ).
  4. บัณรสี : [บันนะระสี] ว. ที่ ๑๕, ใช้กับคําว่า ดิถี เช่น บัณรสีดิถี = วัน ๑๕ คํ่า. (ป. ปณฺณรสี).
  5. ปัณรสี : [ปันนะระสี] ว. ที่ ๑๕. (ป. ปณฺณรสี).
  6. รสสุคนธ์ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tetracera loureiri Pierre ในวงศ์ Dilleniaceae ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอม, เสาวคนธ์ ก็เรียก.
  7. นานัครส : [นานักคะรด] น. รสเลิศต่าง ๆ เช่น นานัครสโภชชาหาร. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. นานา + อคฺค + รส).
  8. ศฤงคารรส : [สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของ วรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมี เนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส.
  9. กษีรรส : น. น้ำนม เช่น เปรียบเหมือนกษีรรสคือน้ำนมสดขาวสะอาด. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
  10. ไกรศรี ๒, ไกรสรี : [ไกฺรสี] (แบบ) น. สิงโต. (แผลงมาจาก เกสรี).
  11. เครื่องปรุงรส : น. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
  12. รู้รส : ก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสีย บ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.
  13. สรสรก : [สะระสก] ว. โซก, ซ่ก, โชก, เช่น แล้วมันก็เชือดเอาหัวใจนาง เลือดตก พลางสรสรก แล่นฉวยฉกหาไปบอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  14. ตรีญาณรส : [-ยานนะรด] น. รสสําหรับรู้ ๓ อย่าง คือ ไส้หมาก รากสะเดา เถา บอระเพ็ด.
  15. ตรีสินธุรส : น. รสนํ้า ๓ อย่าง คือ รากมะตูม เทียนขาว นํ้าตาลกรวด.
  16. อังคีรส : [คีรด] ว. มีรัศมีซ่านออกจากพระกาย, เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่ง. (ป., ส.).
  17. กามคุณ : น. สิ่งที่น่าปรารถนามี ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส; ความปรารถนาในเมถุน. (ป., ส.).
  18. จาง : ว. น้อยไป, ลดไป, ไม่เข้ม, (โดยมากใช้แก่สี รส กลิ่น).
  19. จิตสำนึก : น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจาก ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
  20. ชาติ ๓, ชาติ ๓ : [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. รส เช่น ไม่เป็นรสไม่เป็นชาติ.
  21. ต้มกะทิ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อเค็ม หรือปลาแห้ง หรือปลาสลิดเป็นต้น ต้มในนํ้ากะทิ ใส่หัวหอมกับส้มมะขาม มี ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน; เรียก ผักชนิดต่าง ๆ ที่ต้มกับกะทิ สำหรับกินกับน้ำพริกกะปิ ว่า ผักต้มกะทิ.
  22. ตรีสาร : น. แก่น ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก, หรืออีกอย่างหนึ่ง รส ๓ อย่าง เป็นคําแพทย์ใช้ในตํารายาไทย ประสงค์เอา เจตมูลเพลิง สะค้าน ช้าพลู. (ส.).
  23. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  24. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  25. บูดู : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุง รส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดู แบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้.
  26. เบญจกามคุณ : น. เครื่องผูกอันบุคคลพึงใคร่ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย. (ป. ปญฺจกามคุณ).
  27. ผัสส, ผัสสะ : น. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
  28. โยคะ : น. การทำจิตใจให้สงบ, การที่จิตไม่รับรู้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่าง ๆ, วิธีการควบคุมร่างกายและจิตใจได้อย่างสมบูรณ์โดย การทำจิตให้เป็นสมาธิ.
  29. รสชาติ : [รดชาด] น. รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย.
  30. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  31. โลกามิส : น. เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส. (ป. โลก + อามิส).
  32. ส ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.
  33. อายตนะ : [ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).
  34. กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
  35. กรรบูร : [กันบูน] (แบบ) น. การบูร เช่น กฤษณากระวานการ- บูรกูรกระเหนียดกรร- บูรแกมกำคูนคันธ์ รสจวงกำจร มา. (สมุทรโฆษ).
  36. กรรเอา : [กัน-] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กระเอา) ว. กลมกล่อม เช่น ไพเราะรสหวาน บรรสานกรรเอาเอาใจ. (สมุทรโฆษ).
  37. กร่อย : [กฺร่อย] ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความ ครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย.
  38. กระ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคล้ำ เกือบดํา เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม ภายในมี เนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้ว กินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
  39. กระจับ ๑ : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Trapa bicornis Osbeck ในวงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดําแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ; เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้ายฝัก กระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสําหรับยันคาง ศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกัน อวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.
  40. กระดอม : น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz ในวงศ์ Cucurbitaceae เถา ๕ เหลี่ยม มีมือจับ ผล ๑๐ เหลี่ยม สุกสีส้ม มีรสขม ใช้ทํายาได้, ขี้กาดง หรือขี้กาเหลี่ยม ก็เรียก.
  41. กระท่อม ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมน้ำทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก.
  42. กระทุ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลา ขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.
  43. กระเทียม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม.
  44. กระบก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn. ในวงศ์ Irvingiaceae ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก.
  45. กระลำพัก : น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum L.) และต้นตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha L.) ในวงศ์ Euphorbiaceae กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทํายาได้.
  46. กระษิร : [-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. น้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).
  47. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  48. กลมกล่อม : ว. ที่เข้ากันพอดี (ใช้แก่รสหรือเสียง).
  49. กล้าย : [กฺล้าย] น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล Musa วงศ์ Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยม และยาวกว่ากล้วยหอม เปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้ สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก.
  50. กลูโคส : [กฺลู-] (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๔๖ ? ซ. มีในผลองุ่นสุก น้ำผึ้ง และผลไม้โดยมากที่มีรสหวาน เป็นองค์ระกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็น โรคเบาหวาน มีรสหวานน้อยกว่าน้าตาลทราย, เดกซ์โทรส ก็เรียก. (อ. glucose).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-316

(0.0666 sec)