รัด : ก. โอบรอบหรือพันให้กระชับ เช่น กอดรัด งูเหลือมรัด เอายางรัด, คับ, ตึง, เช่น แขนเสื้อรัด กระโปรงรัดสะโพก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเม็ดต้อยติ่งพอกทําให้ฝีรัด.
รัดเข็มขัด : (ปาก) ก. ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชน ต้องรัดเข็มขัด.
รัดช้อง : น. เครื่องประดับสําหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอย ใช้ประกอบกับรัดเกล้า.
รัดประคด : น. ผ้าที่ใช้รัดอกหรือสายที่ถักด้วยด้ายเป็นต้นสําหรับรัดเอว ของภิกษุสามเณร, เรียกสั้น ๆ ว่า ประคด, ถ้าใช้รัดอก เรียกว่า ประคดอก, ถ้าใช้รัดเอว เรียกว่า ประคดเอว.
รัดก้น : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลัง ทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง.
รัดเครื่อง : ก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้า ให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.
รัดประคน : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัว ถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กู บมิให้โยกเลื่อน.
รัดพัสตร์ : น. ผ้าคาด, เข็มขัด.
รัตน, รัตน์, รัตนะ : [รัดตะนะ, รัด, รัดตะ] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษ และมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะนางแก้ว ๖. คหปติรัตนะขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุด ของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).
ขนัน ๒ : [ขะหฺนัน] ก. กัน, บัง, ขวาง, เช่น ขนันนํ้า; วง, ล้อม, เช่น ล้อมขนัน; ผูก, รัด, เช่น ขนันศพเด็ก. ว. ขัน.
บรรสาน : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาน) ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิทกัน, เชื่อม, รัด, ผูกไว้.
ปดิวรัดา : [ปะดิวะรัดดา] น. ภริยาที่ซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี. (ส. ปติวรฺตา).
ยางรัด : น. ยางเส้นเล็ก ๆ เป็นวง ยืดหดได้ ใช้รัดถุงพลาสติกเป็นต้น.
รด : ก. เท ราด สาด ฉีด หรือโปรยน้ำหรือของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้เปียกหรือให้เปียกชุ่ม เช่น รดน้ำต้นไม้ เอาน้ำรดตัว; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวรดที่นอนนกขี้รดหลังคา.
ตะหนึ่งรัด : ว. เป็นใหญ่. (ช.).
เอาเปรียบ, เอารัดเอาเปรียบ : ว. รู้มาก, พยายามให้ได้ประโยชน์ มากกว่า.
กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
วิรัติ : [รัด] ก. งดเว้น, เลิก. น. การงดเว้น, การเลิก, เช่น มังสวิรัติ สุราวิรัติ. (ป., ส. วิรติ).
อารัติ : [รัด] น. การเว้น, การเลิก, การหยุด, อารดี หรือ อารติ ก็ว่า. (ป., ส. อารติ).
เครือจักรภพ, เครือรัฐ : [-จักกฺระพบ, -รัด] น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย. (อ. commonwealth).
รึง : ว. ร้อน, ระอุ เช่น เถ้ารึง. ก. รัด.
ดิรัจฉาน : [-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคําด่า), ใช้ว่า เดรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
เดรัจฉาน : [-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคําด่า), ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี.
เดียรัจฉาน : [-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคําด่า), ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
ทุรัถยา : [-รัดถะยา] (แบบ) น. ทางไกล. (พงศ. เลขา).
นิรัติศัย : [รัดติไส] (แบบ) ว. พิเศษยิ่ง, ประเสริฐยิ่ง. (ส. นิรฺ + อติศย). นิรันดร, นิรันตร [รันดอน, รันตะระ] ว. ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป. (ป.).
รัช ๒, รัช : [รัดชะ] น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ. (ป. รชฺช).
รัชชุ : [รัด] น. สาย, เชือก. (ป., ส.).
รัชฎาภิเษก : [รัดชะ] (โบ) น. รัชดาภิเษก.
รัชด, รัชต : [รัดชะ] น. รชตะ, เงิน. (ส., ป. รชต).
รัชนะ : [รัดชะ] น. การย้อม. (ป., ส. รชน).
รัชนี : [รัดชะ] น. กลางคืน, เวลามืด. (ป., ส. รชนี).
รัฐทูต : [รัดถะทูด] น. ทูตที่ประมุขของรัฐหนึ่งแต่งตั้งไปประจํา สํานักประมุขของอีกรัฐหนึ่งเพื่อไปปฏิบัติภารกิจทางการทูต มีฐานะตํ่ากว่าเอกอัครราชทูตแต่สูงกว่าอุปทูต.
รัฐธรรมนูญ : [รัดถะทํามะนูน, รัดทํามะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่ จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐ เดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐรวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).
รัฐบาล : [รัดถะบาน] น. องค์กรปกครองประเทศ, คณะบุคคลที่ใช้อํานาจ บริหารในการปกครองประเทศ.
รัฐบุรุษ : [รัดถะบุหฺรุด] น. ผู้ที่ได้รับยกย่องอย่างสูงว่ามีความรู้ความ สามารถในการบริหารบ้านเมือง.
รัฐประศาสน์ : [รัดถะปฺระสาด] น. การปกครองบ้านเมือง.
รัฐประศาสนนัย, รัฐประศาสโนบาย : [รัดถะปฺระสาสะนะไน, รัดถะปฺระ สาสะโนบาย] น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.
รัฐประศาสนศาสตร์ : [รัดถะปฺระสาสะนะสาด] น. วิชาว่าด้วยการบริหาร และการปกครองประเทศเพื่อให้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐอย่างมี ประสิทธิภาพและประหยัด.
รัฐประหาร : [รัดถะปฺระหาน, รัดปฺระหาน] น. การใช้กําลังเปลี่ยนแปลง คณะรัฐบาลโดยฉับพลัน, (กฎ) การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลง รัฐบาล.
รัฐมนตรี : [รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะ รัฐบาลรับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือ ทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วย อีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์.
รัฐวิสาหกิจ : [รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด] น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุน หรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐ เป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวม อยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐.
รัฐศาสตร์ : [รัดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการเมืองและการปกครองประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
รัฐสภา : [รัดถะสะพา] น. องค์กรนิติบัญญัติ ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร.
รัตคน : [รัดตะ] น. รัดประคน.
รัตจันทน์ : [รัดตะจัน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์ Leguminosae แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทํายา. (ป. รตฺตจนฺทน).
รัตตัญญู : [รัดตันยู] น. ผู้รู้กาลนาน, ผู้มีอายุมาก จํากิจการต่าง ๆ ได้มาก. (ป.).
รัตนโกสินทรศก : [รัดตะนะโกสินสก] น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับ รัตนโกสินทรศก).
รัตนา : [รัดตะนา] (กลอน) น. แก้ว.
รัตมา : [รัดตะ] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Parkinsonia aculeata L. ในวงศ์ Leguminosae กิ่งห้อยย้อยมีหนามแหลม ใบเล็กมาก ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อ.