ราวี : ก. รบ เช่น ยกทัพไปราวีข้าศึก, รบกวนหรือระรานโดยใช้กําลังรังแก เป็นต้น เช่น อันธพาลชอบราวีชาวบ้าน, (ปาก) สู้กัน, ตะลุมบอนกัน, เช่น นักเรียนกำลังราวีกัน.
ราว ๒, ราว ๆ : ว. เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ห้อยเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวไปตามราว เช่น เบ็ดราว ธงราว ไฟราว; ในระดับใกล้เคียง, ประมาณ, เช่น สูงแค่ราวนม เวลาราว ๆ เที่ยง ราคาราว ๆ นั้นแหละ.
ราว ๑ : น. แถว, แนว, เช่น ราวป่า; เครื่องยึดเหนี่ยวสําหรับเกาะหรือขึ้นลงเป็นต้น เช่น ราวบันได ราวสะพาน, เรียกไม้ โลหะ และเชือกหรือลวดเป็นต้นที่ขึง สำหรับพาดหรือตากผ้าว่า ราว ราวผ้าหรือราวตากผ้า, ถ้าใช้ขึงสิ่งอื่น ๆ เช่น ขึงมุ้ง เรียกว่า ราวมุ้ง ขึงม่าน เรียกว่า ราวม่าน,ไม้หรือโลหะเป็นต้น สำหรับพาดปักวางสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวพระแสง ราวเทียน.
ครรชิต : [คันชิด] (แบบ) ก. คํารน, บันลือเสียง, เอิกเกริก, กึกก้อง, กระหึม, เช่น ครรชิตฤทธิ์ราวี. (ลอ). (ส. ครฺชิต; ป. คชฺชิต).
หันเหียน : ก. เปลี่ยนท่าทาง, พลิกแพลง, เช่น รำร่ายหันเหียนเวียนละวัน หมายมั่นเข่นฆ่าราวี. (อิเหนา), เหียนหัน ก็ว่า.
ราวความ : น. เนื้อความที่ต่อเนื่อง เช่น เรื่องนี้ยังต้องไปสืบสาวราวความ ให้ละเอียด.
ราวนม : น. บริเวณนม เช่น เขาถูกยิงเหนือราวนม.
ราวข่าว : (โบ) น. การส่งข่าวด้วยวิธีรับช่วงกันต่อไป.
ราวเทียน : น. เครื่องประกอบการบูชา ลักษณะเป็นคานโลหะแบนทอด ขวาง มีเสาคู่หนึ่งตั้งขึ้นรับหัวและท้ายคาน บนหลังคานติดบัวจงกลหรือ ลูกถ้วยรายเป็นระยะห่างกันพองามสำหรับปักเทียน.
ราวพระแสง : น. เครื่องสอดเก็บอาวุธอย่างหอก ลักษณะเป็นคานไม้แบน ทอดขวาง มีเสาคู่หนึ่งตั้งขึ้นรับหัวและท้ายคาน บนหลังคานเจาะรูกลม ๆ รายเป็นระยะห่างกันพอควรสำหรับสอดด้ามหอก ง้าว ทวน ให้ตั้งเรียง เป็นแถว.
ราวเรื่อง : น. เรื่องที่ต่อเนื่องกันยืดยาว.
นั่งราว : ว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจําที่ บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.
เบ็ดราว : น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราวโดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.
ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้เรื่องได้ราว : ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้.
วางเบ็ด, วางเบ็ดราว : ก. นำเบ็ดราวที่เกี่ยวเหยื่อแล้วไปหย่อนลง ในแม่น้ำลำคลอง.
วิ่งราว : ก. แย่งเอาสิ่งของแล้ววิ่งหนีไป เช่น วิ่งราวกระเป๋าถือ.
สัก ๔ : ว. อย่างน้อย, เพียง, ราว, เช่น ขอเวลาสัก ๒ วัน. สักแต่ว่า, สักว่า ว. เพียงแต่ว่า...เท่านั้น เช่น สักแต่ว่ากวาดบ้าน ยังมี ขี้ผงอยู่เลย สักว่าทำพอให้พ้นตัว.
ไม่เป็นเรื่อง, ไม่เป็นเรื่องเป็นราว : ว. ไม่มีสาระ เช่น เรื่องไม่เป็นเรื่อง.
รุ่นราวคราวกัน, รุ่นราวคราวเดียวกัน : ว. มีอายุไล่เลี่ยกัน.
เรื่องราว : น. เรื่องที่พูดหรือเล่าติดต่อกันไป.
ไล่ราว : ก. ล่าสัตว์ด้วยวิธีตีเกราะเคาะไม้ให้สัตว์ตกใจวิ่งกระเจิด กระเจิงไปตามทางที่ผู้ล่าต้องการ.
กวะ : [กะวะ] (กลอน) ว. (ราว)-กะว่า, (ราว)-กับว่า, เช่น นกกระจอกทํารังราวกวะไม้. (จารึกวัดโพธิ์).
เที่ยง ๆ : ว. ราว ๆ เที่ยง.
ประมาณ : ก. กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจํานวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น ประมาณราคาไม่ถูก. ว. ราว ๆ เช่น ประมาณ ๓-๔ เดือน. (ส. ปฺรมาณ; ป. ปมาณ).
ย่ำ : ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้ง เพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).
ระราว : น. ราว.
เล็บมือนาง ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นรูปยาว ราว ๒ องคุลี หัวท้ายเรียว ใส่น้ำกะทิจนชุ่ม โรยงาคั่วผสมน้ำตาล เกลือ และมะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น.
อัพภันดร, อัพภันตร : [อับพันดอน, ตะระ] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัด ในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).
กระจง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
กระพอง ๒ : น. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กําพอง ก็เรียก.
กระพ้อม : น. ภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือกเป็นต้น, พ้อม ก็เรียก; (ถิ่น-อีสาน) เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกระบุง แต่เล็กกว่าราวครึ่งหนึ่ง.
กระหมวด ๒ : น. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สาย ประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดู ลักษณะช้างเผือกใช้ตรวจขนทั้ง๕ฐานนี้ เป็นทาง ประกอบการพิจารณา.
กราว ๑ :
[กฺราว] (โบ; คําเดียวกับ จราว) น. ตะพาบน้า เช่น ตัวกราวมีกริวพ่นชลสินธุ์. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้า).
กราว ๒ : [กฺราว] ว. เสียงดังคล้ายเช่นนั้น เช่น เสียงของแข็งจํานวนมาก ๆ ร่วงลงกระทบพื้นหรือหลังคาพร้อม ๆ กัน หรือเสียงที่คน จํานวนมากตบมือพร้อม ๆ กัน.
กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
กราวรูด : [กฺราว-] (ปาก) ว. ตลอดหมด, ไม่เว้น, เช่น จับกราวรูด.
กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
กวนน้ำให้ขุ่น : (สํา) ก. ทําเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา.
กะแท่ง : น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ต้นเล็กราวเท่านิ้วมือ เวลาออกดอกไม่มีใบ ก้านช่อดอกอ่อน ๆ ใช้แกงได้, พายัพเรียก ดอกก้าน.
กะโปโล : ว. ไม่ได้เรื่องราว; มอมแมม เช่น เด็กกะโปโล.
กัตติกมาส : [กัดติกะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์กัตติกา คือ เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือนพฤศจิกายน. (ป.).
กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
ก้าง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa gachua ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนหรือปลากระสงซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม, ขี้ก้าง ก็เรียก.
กำ ๑ : ก. งอนิ้วมือทั้ง ๔ ให้จดอุ้งมือ, เอานิ้วมือทั้ง ๕ โอบรอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อาการที่งอนิ้วมือทั้ง ๕ รวบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้. น. มือที่กําเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กําเข้า, กำมือ ก็ว่า; มาตราวัดรอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว ๑๐ เซนติเมตร เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว ๒๐ เซนติเมตรของกลมนั้นเรียกว่า มีขนาด ๑ กํา, มี ๓ ชนิด คือ ๑. กําสลึง (ยาว ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด หรือ ๑๐.๗๕ เซนติเมตร) ๒. กําเฟื้อง (ยาว ๔ นิ้วครึ่งกระเบียด หรือ ๑๐.๕ เซนติเมตร) ๓. กําสองไพ (ยาว ๔ นิ้ว ๒ หุน หรือ ๑๐.๒๕ เซนติเมตร); ลักษณนามเรียกผักหรือหญ้าที่มัดไว้ เช่น ผักกําหนึ่ง หญ้า ๒ กํา.
กำพอง : น. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กระพอง ก็เรียก.
กิจจะลักษณะ : ว. เป็นการเป็นงาน, เป็นเรื่องเป็นราว, เป็นระเบียบเรียบร้อย.
กิจจา : [กิด-] (กลอน) น. เรื่องราว, ข้อความ.
เกเรเกตุง : (ปาก) ว. ไม่เอางานเอาการ, ไม่เอาเรื่องเอาราว.