ราษฎร, ราษฎร์ ๑ : [ราดสะดอน, ราด] น. พลเมืองของประเทศ. (ส.).
การทะเบียนราษฎร : (กฎ) น. งานทะเบียนต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียน ประวัติราษฎร.
ทะเบียนราษฎร : (กฎ) ดู การทะเบียนราษฎร.
พลเมือง : [พนละ] น. ประชาชน, ราษฎร, ชาวประเทศ.
สภาผู้แทนราษฎร : (กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับ วุฒิสภาแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๕๐๐ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น จำนวน ๑๐๐ คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๔๐๐ คน มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ และมีอำนาจควบคุมการ บริหารราชการแผ่นดินตามระบบการปกครองแบบรัฐสภา.
ผู้แทนราษฎร : น. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งให้ทําหน้าที่นิติบัญญัติในสภา, (ปาก) ผู้แทน.
ฝุ่นเมือง : (โบ) น. พลเมือง, ราษฎร.
ไพร่ฟ้า : น. ข้าแผ่นดิน, ราษฎร.
กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
การพา : (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านของเหลว หรือแก๊สโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของของเหลวหรือแก๊สเคลื่อนที่ไป. การเมือง น. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหาร ประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดําเนินนโยบาย ระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่งการเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่ อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงํา, มีการกระทําอันมีเจตนาอื่น แอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
กำนัน : น. ผู้ป้องกัน, ผู้รักษา, ผู้ดูแล, เช่น หัวหมื่นกับกํานันพระแสง; (กฎ) ตําแหน่งพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งมีอํานาจหน้าที่ปกครอง ราษฎรที่อยู่ในเขตตําบล. ก. กัน, ถือ, เช่น พระจงกํานันกําหนดสัญญา. (สุธน).
เขตเลือกตั้ง : (กฎ) น. ท้องที่ซึ่งจัดเป็นเขตอันจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น.
จาตุกรณีย์ : น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บํารุงราษฎร ๓. บํารุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. (ป., ส. จตุ + กรณีย).
เจ้าภาษี : (โบ) น. ผู้ผูกขาดตัดตอนจากรัฐบาลไปเรียกเก็บภาษีบางอย่าง จากราษฎร.
ฉ้อราษฎร์บังหลวง : ก. การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บเงินจากราษฎรแล้ว ไม่ส่งหลวงหรือเบียดบังเงินหลวง.
ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
ฎีกา : น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
นิคมสร้างตนเอง : (กฎ) น. บริเวณที่ดินของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้ราษฎรได้มีที่ตั้งเคหสถานและ ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้น.
นิคมสหกรณ์ : (กฎ) น. บริเวณที่ดินที่รัฐนํามาจัดสรรให้ราษฎรที่ประกอบ อาชีพทางการเกษตร แต่ขาดแคลนที่ดินทํากิน ได้มีที่ดินทํากินในขนาดที่ เหมาะสม โดยให้ราษฎรเหล่านั้นรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น.
ปากเสียง : ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของ ประชาชน.
ผู้แทน : (น. ผู้ที่ทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของบุคคลหน่วยราชการ หรือหน่วยงาน; (ปาก) ผู้แทนราษฎร.
ผู้ใหญ่บ้าน : (กฎ) น. ตําแหน่งผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ ปกครองบรรดาราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน.
ฝ่ายค้าน : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอ ในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทําหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใคร จะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.
รัชชูปการ : น. เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล.
รัฐสภา : [รัดถะสะพา] น. องค์กรนิติบัญญัติ ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร.
เลือกตั้ง : ก. เลือกสรรบุคคลให้เป็นผู้แทนหรือให้ดํารงตําแหน่ง ด้วยการออกเสียงลงคะแนน เช่น เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกตั้งกรรมการ.
แล ๓ : สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบ ทั่วกัน. (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อม แก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร. (ไตรภูมิ).
วัง ๒ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ รักษาพระราชวังจัดการพระราชพิธีและมีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีของราษฎร.
เวียง ๒ : ปกครองท้องที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร.
สภา : น. องค์การหรือสถานที่ประชุม เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาสตรี แห่งชาติ สภามหาวิทยาลัย วุฒิสภา. (ป., ส.).
สมาชิก ๑ : [สะมา] น. ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือกิจกรรม ใด ๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสมาคมศิษย์เก่า สมาชิก วารสาร, (ปาก) ลูกค้า, ขาประจำ, เช่น หมู่นี้สมาชิกไม่ค่อยมาอุดหนุน ที่ร้านเลย. (ป., ส.).
ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
สอดส่อง : ก. ตรวจดูทั่ว ๆ ไป, เอาใจใส่ดูแล, เช่น รัฐบาลที่ดีจะต้อง สอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร.
องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).