รา ๑ : น. ไม้ที่กระหนาบอยู่ใต้ท้องพรึงรับพื้นเรือนเพื่อไม่ให้พื้นอ่อน อยู่ระหว่าง รอด; ไม้จีมเสาที่ปากหลุมซึ่งยังไม่ได้กลบดินเพื่อกันไม่ให้โอนเอน เรียกว่า ราคอเสา.
รา ๒ : น. ชื่อเรียกพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ และลําต้น ใบ ราก ที่แท้จริง ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ สืบพันธุ์โดยสปอร์อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ ร่วมกับพืชอื่นก็มี.
รา ๓ : ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป; น้อยลง, อ่อนลง, เช่น ไฟราดับไปเอง. (กลอน) ว. คําชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทําตาม เช่น ไปเถิดรา.
รา ๔ : (กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคําว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้าง ขุนแผน).
ราโชงการ : [ราโชงกาน] น. ราชโองการ.
ราไชศวรรย์ : [ราไชสะหฺวัน] น. ราชสมบัติ. (ส.).
ราน้ำ : ก. ต้านน้ำ เช่น เอาเท้าราน้ำ เอาไม้ราน้ำ.
ราไฟ : ก. ทำให้ไฟอ่อนลงโดยคีบถ่านหรือชักฟืนออกเสียบ้าง, ราฟืน ราไฟ ก็ว่า.
ราแจว, ราพาย : ก. เอาแจวหรือพายแตะน้ำเรียด ๆ เพื่อชะลอเรือไว้.
ราชาธิปไตย : น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่มีพระราชาเป็นใหญ่. (ป. ราช + อธิปเตยฺย). (อ. monarchy).
ราชาธิปไตย :
ดู ราช๑ราช.
ราชายตนะ : น. ไม้เกด. (ป., ส.).
ราไชศวรรย์ :
ดู ราช๑ราช.
รามือ : ก. ทำงานน้อยลง.
กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
ขี้หมูราขี้หมาแห้ง : ว. ไร้สาระ, ไร้ประโยชน์, เช่น เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง.
จตุราริยสัจ : [จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ).
จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดีและปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศ ทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า.
บราทุกรา : [บะราทุกฺรา] (โบ; กลอน) น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
ปราทุกรา : [ปฺราทุกฺรา] (กลอน) น. ปาทุกา, รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
ไม่ลดราวาศอก : ก. ไม่ยอมผ่อนปรน เช่น เถียงไม่ลดราวาศอก.
รบรา : ก. ต่อสู้กัน เช่น รบราฆ่าฟันกันเอง.
ร้างรา : ก. ค่อย ๆ เลิกร้างกันไปเอง เช่น ผัวเมียร้างรากัน.
ราชิ, ราชี : น. ทาง, สาย, แถว, เช่น รุกขราชี. (ป., ส.).
ลดราวาศอก : ก. อ่อนข้อ, ยอมผ่อนปรนให้, เช่น เถียงกันไม่ลดรา วาศอก เขาเป็นพี่ก็ต้องยอมลดราวาศอกให้เขาบ้าง.
สยัมวรา : [สะยําวะ] น. หญิงที่เลือกคู่เอาเอง. (ป.; ส. สยํวรา, สฺวยํวรา).
สรุกเกรา : [เกฺรา] น. บ้านนอก. (ข. สฺรุกเกฺรา).
หัวราน้ำ : ว. มากเกินปรกติจนขาดสติ ในความว่า เมาหัวราน้ำ เที่ยวหัวราน้ำ.
อักขรานุกรม : น. หนังสือสําหรับค้นชื่อเรียงลําดับตามตัวอักษร. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ น. หนังสือสําหรับค้นชื่อทางภูมิศาสตร์ เรียงลําดับตามตัวอักษร. (อ. gazetteer).
ร : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอระลี) หรดี (หอระดี).
ถาวรธิรา : [วะระ] น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
ระ : ก. กระทบเรียดไป เช่น เอาไม้ระรั้วสังกะสี.
รัตนวราภรณ์ : น. ชื่อตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จะพระราชทานได้ ทั่วไปทุกชั้นบุคคลตามพระราชประสงค์ ไม่เกี่ยวด้วยยศหรือบรรดาศักดิ์.
กัญจุก, กัญจุการา : (แบบ) น. เสื้อ. (ป., ส.).
ขิงก็รา ข่าก็แรง : (สํา) ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน.
คาราคาก่า, คาราคาซัง : ว. ยังไม่เสร็จ, ยังไม่แล้ว, ค้างอยู่, ติดอยู่.
เชื้อรา : น. เชื้อจุลินทรีย์อยู่ในกลุ่มพืชชั้นตํ่า บางชนิดทํา ให้เกิดโรค เช่น กลาก เกลื้อนได้.
ทุราจาร : น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
นิรามิษ : ดู นิร.
นิรามิษ : [มิด] (แบบ) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).
บงอับบงรา, บ่งอับบ่งรา : ก. เข้าที่อับจน.
มิอย่ารา : ว. ไม่เลิก, ไม่หยุด.
มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ, มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ : (สํา) ก. ไม่ช่วยทํา แล้วยังขัดขวางการทํางานของผู้อื่น.
ร่า : ว. อาการที่แสดงให้เห็นว่าเบิกบานเต็มที่ เช่น หัวเราะร่า ยิ้มร่า; เปิด เต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า หน้าต่างเปิดร่า.
เร่า, เร่า ๆ : ว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความ โกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.
เริดรา : ก. ค่อย ๆ เลิกกันไป.
วัชราสน์ : น. ท่านั่งขัดสมาธิเพชร. (ส.).
วัชราสน์ :
ดู วัชร, วัชระ.