ริน, ริน ๆ : ก. เทให้ไหลออกเรื่อย ๆ ทีละน้อย เช่น รินนํ้าใส่ถ้วย. ว. เรื่อย ๆ, น้อย ๆ, เช่น นํ้าไหลริน ลมพัดริน ๆ. น. ทองคําที่มีเนื้อหย่อนกว่าเนื้อ ๔ เรียกว่า ทองริน.
นิรินธน์ : [ริน] (แบบ) ว. ไม่มีเชื้อ (ใช้แก่ไฟ). (ป.).
นิรินธนพินาศ : [รินทะนะ] น. ความหมดสิ้นอย่างไฟขาดเชื้อ คือ ไม่ลุกลามได้อีก (มักใช้เปรียบถึงความดับกิเลสของพระอรหันต์).
ราษราตริน, ราษราตรี : [ราดสะราตฺริน, ตฺรี] (กลอน) น. ราตรี.
รน : ก. นิ่งอยู่ไม่ได้, เร่าร้อน, เช่น รนหาที่ตาย รนหาเรื่อง.
เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร : น. ชื่อนกนางแอ่นชนิด Pseudochelidon sirintarae ในวงศ์ Hirundinidae ลำตัวสีดำ มีแต้มขาวตรงโคนหาง ตาและขอบตาขาว ปากเหลือง เฉพาะ ตัวผู้มีหางยาวคล้ายเส้นลวด ๒ เส้นพบบริเวณบึงบอระเพ็ด, ตาพอง ก็เรียก.
นิรินธน์ : ดู นิร.
นิรินธนพินาศ : ดู นิร.
เปศัสการิน, เปศัสการี : น. ต่อแตน; หญิงผู้ปักลายเสื้อผ้า. (ส.).
ปรี่ : [ปฺรี่] ก. รี่ เช่น ปรี่เข้าใส่. ว. เกือบล้น ในลักษณะเช่นนํ้าเต็มจนเกือบล้น มิล้นแหล่, ริน ๆ เช่น ไหลปรี่.
ฤณ : [ริน] น. หนี้, หนี้สิน; ภาระ. (ส.; ป. อิณ).
กิรินท : [-ริน,] (แบบ) น. ช้างสําคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. กรินฺท; ส. กรินฺ ว่า ผู้มีมือคืองวง).
กรวด ๓ : [กฺรวด] ก. หลั่งน้ำ เช่น น้ำพระเต้าสิโตทกธารามารดริน กรวดลงในมืออินทพฤฒาจารย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ). (ข. จฺรวจ).
ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
กินริน, กินรี : [กินนะริน, กินนะรี] (กลอน) น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง พักตราแพ่งมานุษย์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
เกริน : [เกฺริน] น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่ ๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน.
จักริน, จักรี : [จักกฺริน, จักกฺรี] น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชาตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร. (ส. จกฺรี, จกฺรินฺ; ป. จกฺกี).
ชลาสินธุ์ : น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณ บิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
เช็ดน้ำ : น. เรียกวิธีหุงข้าวด้วยการรินนํ้าข้าวออกจากหม้อ เพื่อให้แห้งว่า การหุงเช็ดนํ้า.
เช็ดหม้อ : ก. รินนํ้าข้าวออกจากหม้อเพื่อให้แห้งในการ หุงข้าวด้วยวิธีเช็ดนํ้า.
ตฤณ, ตฤณ- : [ตฺริน, ตฺรินนะ-] (แบบ) น. หญ้า. (ส.; ป. ติณ).
ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
นรินทร์, นริศ, นริศร, นริศวร : [นะริน, นะริด, นะริดสวน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร, นร + อีศ, นร + อีศฺร, นร + อีศฺวร).
ปริญญา : [ปะรินยา] น. ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้น มหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้, ถ้า ประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺ?า).
พฤนท์ : [พฺรึน ถ้าสัมผัสกับ อิ อ่านเป็น พฺริน] น. กอง, หมู่, จํานวนมาก. (ส. วฺฤนฺท); สังขยาจํานวนสูงเท่ากับโกฏิยกกําลัง ๗ หรือ ๑ มีศูนย์ ๔๙ ตัว. (ส. วฺฤนฺท; ป. พินฺทุ).
พวย ๑ : น. ส่วนของกาหรือป้านที่ยื่นออกมา สําหรับรินนํ้า.
พานรินทร์, พานเรศ : [พานะริน, พานะเรด] (กลอน) น. พญาลิง, ลิง.
ภมริน : [พะมะริน] น. ผึ้งทั่วไป, ใช้ว่า ภุมริน ก็ได้.
มธุตฤณ : [-ตฺริน] น. อ้อย. (ส.).
มัตสริน : [มัดสะริน] น. คนตระหนี่. (ส. มตฺสรินฺ; ป. มจฺฉรี).
วามาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).
ศฤงคาริน, ศฤงคารี : ว. ผู้มีศฤงคาร. (ส. ศฺฤงฺคาริน).
สะเด็ด ๑, สะเด็ดน้ำ : ก. ทำให้น้ำหยุดหยดหรือหยุดไหลโดยวิธีรินหรือสงเป็นต้น เช่น เช็ดน้ำข้าวให้สะเด็ดน้ำ สงถั่วงอกให้สะเด็ดน้ำ.
อนุปริญญา : [อะนุปะรินยา] น. ชั้นความรู้ระดับอุดมศึกษารองจากปริญญาตรี ซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามหลักสูตรที่กําหนดไว้.
อินธน์ : น. การจุดไฟ; เชื้อไฟ, ไม้สําหรับติดไฟ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของ สมาส เช่น นิรินธน์ ว่า ไม่มีเชื้อไฟ. (ป., ส.).
รนหาที่ : (ปาก) ก. นิ่งอยู่ไม่ได้ ชอบหาเรื่องเดือดร้อนมาใส่ตน.
ร่น : ก. ขยับถอยให้ชิดเข้ามาหรือออกไป เช่น ร่นแถว, ร่นวันหรือเวลาให้ ใกล้เข้ามา เช่น ร่นวันประชุมเข้ามาอีก ๓ วัน.
รื่น : ว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.
รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
รุ่น ๆ : ว. กำลังอยู่ในวัยแตกเนื้อหนุ่มแตกเนื้อสาว เช่น เด็กรุ่น ๆ; มี วัยใกล้เคียงกัน, ที่อยู่ในวัยเดียวกัน, เช่น คนรุ่น ๆ คุณพ่อ คนรุ่น ๆ กัน.
อดรนทนไม่ได้, อดรนทนไม่ไหว : ก. ไม่สามารถจะอดทนต่อไปได้.
ไหรณย์ : [-รน] น. เงิน. ว. เป็นทอง, ทําด้วยทอง; เป็นเงิน, ทําด้วยเงิน. (ส. ไหรณฺย).
รณ, รณ : [รน, รนนะ] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).
กรณฑ์ ๑ : [กฺรน] น. ภาชนะมีฝาปิด, ภาชนะใส่น้ำ เช่น หม้อกรณฑ์, กรัณฑ์ หรือ กรัณฑก ก็เรียก; ผอบ เช่น บรรจุพระบรมธาตุ ในสุวรรณกรณฑ์. (เทศนาพระราชประวัติ). (ป., ส. กรณฺฑ, กรณฺฑก ว่า ขวด).
กรณฑ์ ๒ : [กฺรน] (คณิต) น. เรียกเครื่องหมาย ?ว่า เครื่องหมายกรณฑ์; วิธีหาค่าจากจํานวนจริงที่เขียนไว้ภายในเครื่องหมายกรณฑ์ เช่น ? จะได้ ๗ ? จะได้ -๓.
กรน : [กฺรน] ก. หายใจมีเสียงดังในลําคอขณะหลับ เหตุลิ้นตกจุกคอ หอยหรือลิ้นตกจุกคอหอยและลิ้นไก่กับเพดานอ่อนสั่น.
กรนทา : [กฺรน-] (โบ) น. ไม้คนทา (ลิปิ) เช่น กรนทาดาษดวงพรายก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
กระทง ๒ : ว. ใช้ควบกับคํา รุ่น ว่า รุ่นกระทง, เรียกไก่อ่อนอายุ ประมาณ ๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สําหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอน ขันว่า ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกําลังแตกเนื้อหนุ่มเป็น เชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง.
กาเฟอีน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทพิวรีน มีสูตรเคมี C8H10O2N4 ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีในใบชา เมล็ดกาแฟ เป็นยาเสพติดอย่างอ่อน มีฤทธิ์อย่างแรงต่อหัวใจ ใช้ในการแพทย์. (ฝ. caf้ine).
กำเดาะ : ว. กระเตาะ, รุ่น, เพิ่งแตกเนื้อสาว. (ปาเลกัว).