รุ่งเรือง : ว. สว่างไสว เช่น จุดโคมไฟรุ่งเรืองแสงจับท้องฟ้า, งามสุกใส เช่น ปราสาทราชมนเทียรดูรุ่งเรืองเมื่อต้องแสงจันทร์, เจริญ, อุดมสมบูรณ์, เช่น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอนาคตรุ่งเรือง, งอกงาม เช่น ให้มีความรุ่งเรือง ในพระศาสนา.
รงรอง : ว. สดใส, งดงาม, รุ่งเรือง, รังรอง ก็ใช้.
รังรอง : ว. สุกใส, งดงาม, รุ่งเรือง, รงรอง ก็ว่า.
จรส : [จะหฺรด] ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
จรัส : [จะหฺรัด] (แบบ) ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง.
จำรัส : [-หฺรัด] ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง. (แผลงมาจาก จรัส).
ชัชวาล : [ชัดชะวาน] ว. สว่าง, รุ่งเรือง, โพลงขึ้น. (ส. ชฺวาล).
โชต : ว. สว่าง, รุ่งเรือง, โพลง. (ป.).
ถ่อง : (โบ) ว. งาม, อร่าม, แจ่มใส, รุ่งเรือง; ชัด, แน่, แท้, เที่ยง, จะแจ้ง, เช่น เร่งหาผู้รู้รอบ ทุกการ เฉลียวฉลาดโวหาร ถ่องถ้อย. (ลอ).
เถกิง : [ถะเกิง] ว. สูงศักดิ์, รุ่งเรือง, กึกก้อง, ลั่นลือ, ใช้แผลงเป็น ดําเกิง ก็มี. (ข. เถฺกีง).
ประพฤทธิ์ : [ปฺระพฺรึด] ว. เจริญ, โต, ใหญ่, รุ่งเรือง, งอกงาม. (ส. ปฺรวฺฤทฺธิ; ป. ปวุฑฺฒิ).
ฟูเฟื่อง : ว. เจริญ, มั่งคั่ง, รุ่งเรือง, เฟื่องฟู ก็ว่า.
เฟื่องฟู : ว. เจริญ, มั่งคั่ง, รุ่งเรือง, เช่น ฐานะกำลังเฟื่องฟู, ฟูเฟื่อง ก็ว่า.
มำเลือง : (กลอน) ว. เมลือง, งาม, รุ่งเรือง, เปล่งปลั่ง, สุกใส.
เมลือง : [มะ-] ว. งาม, รุ่งเรือง, เปล่งปลั่ง, สุกใส, ใช้ว่า มําเลือง ก็มี.
รุจิระ, รุจิรา : ว. งาม, สว่าง, รุ่งเรือง, สวย; กะทัดรัด. (ป., ส.).
อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
ไพรู : ว. งาม, รุ่งเรือง.
วิโรจ, วิโรจน์ : ว. สว่าง, แจ่มใส, รุ่งเรือง. (ป., ส.).
อัจจิมา : น. ไฟ. ว. มีแสง, สว่าง, รุ่งเรือง. (ป.).
กุก่อง : (โบ) ว. รุ่งเรือง, สุกใส, เช่น กุก่องกนกมี. (สมุทรโฆษ).
จรูญ : [จะรูน] (กลอน) ว. รุ่งเรือง, งาม.
จำรูญ : ว. รุ่งเรือง, งาม, เช่น ลางหมู่หน้าแดงจกูรล ดูจำรูญจกราด. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก จรูญ).
ชวลิต : [ชะวะลิด] (แบบ) ว. รุ่งเรือง, รุ่งโรจน์, สว่าง. (ส. ชฺวลิต; ป. ชลิต).
เชวง : [ชะเวง] (กลอน) ก. รุ่งเรือง, เลื่องลือ. (ข. เฌฺวง ว่า ปรีชารุ่งเรือง).
ดำเกิง : ก. ขึ้น. ว. รุ่งเรือง, สูง, สูงศักดิ์ เช่น รื่นเริงดําเกิงใจยะย้าว. (ม. คําหลวง มหาพน). (แผลงมาจาก เถกิง).
ทิต : (แบบ) ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป. ทิตฺต).
ธัญ ๑ : [ทัน] (แบบ) ว. รุ่งเรือง, มั่งมี, มีโชค, ดี, เลิศ, เช่น ธัญลักษณ์ ว่า มีลักษณะดี. (ป. ธญฺ?; ส. ธนฺย).
ไพโรจน์ : ว. รุ่งเรือง, สุกใส. (ส. ไวโรจน; ป. วิโรจน).
รุจ, รุจา : ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป., ส. รุจ).
รุจิ, รุจี : น. แสง, ความรุ่งเรือง; ความงาม; ความชอบใจ. ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป., ส. รุจิ).
โรจ, โรจน์ : ว. รุ่งเรือง, สว่าง, สุกใส. (ป., ส.).
สวัสดิ, สวัสดิ์ ๑, สวัสดี ๑ : [สะหฺวัดดิ, สะหฺวัด, สะหฺวัดดี] น. ความดี, ความงาม, ความเจริญ รุ่งเรือง; ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ขอให้มี ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ขอให้มีความสุขสวัสดี ขอให้สวัสดี มีชัย. (ส. สฺวสฺติ; ป. โสตฺถิ).
จมไม่ลง : (สํา) ก. เคยทําตัวใหญ่มาแล้วทําให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคย มั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทําตัวเหมือนเดิม).
ชวาล : [ชะ] (แบบ) น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ; ความสว่าง. ว. ซึ่งลุกโพลง, สว่างโพลง. (ส. ชฺวาล; ป. ชาลา).
ชาลา ๑ : น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ, แสงสว่าง. (ส. ชฺวาลา).
ชุติ : (แบบ) น. ความโพลง, ความรุ่งเรือง, ความสว่างไสว; ดวงดาว. (ป.; ส. ชฺยุติ).
ชุติมา : น. ผู้มีความรุ่งเรือง. (ป.; ส. ชฺยุติมตฺ).
โชดก : น. ผู้รุ่งเรือง, ผู้สว่างไสว, ผู้ส่อง. (ป. โชตก).
โชดึก : น. ผู้มีความรุ่งเรือง, ผู้มีความสว่างไสว. (ป. โชติก).
โชตกะ : [โชตะกะ] น. ผู้รุ่งเรือง, ผู้สว่างไสว, ผู้ส่อง. (ป.).
โชติก : [โชติกะ] น. ผู้มีความรุ่งเรือง, ผู้มีความสว่างไสว. (ป.).
โชติ, โชติ : [โชด, โชติ] น. ความรุ่งเรือง, ความโพลง, ความสว่าง. (ป.; ส. โชฺยติสฺ).
โชติรส : [โชติ] น. แก้ววิเศษชนิดหนึ่งมีรัศมีรุ่งเรือง. (ป.).
ประเทือง : ก. ทําให้ดีขึ้น เช่น ประเทืองผิว, ทําให้รุ่งเรืองขึ้น เช่น ประเทืองปัญญา.
เฟื่อง ๒ : ก. เจริญรุ่งเรือง, รุ่งโรจน์, มีชื่อเสียงโด่งดัง, เช่น เขากำลังเฟื่อง ความคิดเฟื่อง ชื่อเสียงเฟื่อง; คล่องแคล่ว, แม่นยำ, เช่น จบปริญญาเอก มาใหม่ ๆ ความรู้กำลังเฟื่อง.
ภูติ, ภูตี : [พูติ, พูตี] น. ความรุ่งเรือง, ความมั่งคั่ง. (ป., ส. ภูติ).
มโภคกาย : [สําโพกคะ] น. พระกายของพระพุทธเจ้าอันเป็นทิพยภาวะ มีรัศมี รุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป และจะปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ แม้ จนบัดนี้. (ส.).
มหาอุจ : (โหร) น. ดาวพระเคราะห์ที่ทรงคุณสูงเด่น ทําให้เจ้าดวงชะตามีความเจริญรุ่งเรือง.
ยุคทอง : น. ช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรือง เช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีไทยยุคหนึ่ง.