ร่วง ๑ : ก. หล่น เช่น ใบไม้ร่วง ผลไม้ร่วง, หลุด เช่น ถูกชกฟันร่วง ผมร่วง.
ร่วงโรย : ก. เสื่อมไป, สิ้นไป, เช่น สังขารร่วงโรย, เซียวไป เช่น อดนอน หน้าตาร่วงโรย.
ร่วงรุ้ง : ว. พรายแสง (ใช้แก่เพชร).
ภฤษฏ์ ๑ : [พฺรึด] ก. ตก, ร่วง, หล่น. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรํศฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ?].
ดอกพิกุลร่วง : (สํา) เรียกอาการที่นิ่งไม่พูดว่า กลัวดอกพิกุลจะร่วง.
ขนหน้าแข้งไม่ร่วง : (สํา) ว. ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่ คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็ก ๆ น้อย ๆ).
ดอกไม้ร่วง : น. ชื่อลายที่เขียนเป็นช่อดอกไม้จะจะไม่ติดต่อกัน; ดอกไม้ ที่ยังไม่ได้ร้อยเป็นพวง.
ท้องร่วง : ว. อาการที่ท้องเดินอย่างแรง.
เพชรร่วง : น. เพชรเม็ดเล็ก ๆ ที่เจียระไนแล้ว แต่ยังไม่ได้ทําเป็น เครื่องประดับหรือเครื่องใช้.
รุ้งร่วง : น. นํ้าเพชรที่ส่งแววออกเมื่อกระทบแสงสว่าง.
รวง ๑ : น. ช่อ (ใช้แก่ข้าว); ลักษณนาม เช่น ข้าวรวงหนึ่ง ข้าว ๒ รวง.
กร่าย : [กฺร่าย] น. ผ้าคาดที่ถักเป็นตาข่าย เช่น คาดกร่ายชายทองวาง ร่วงรุ้ง. (กาพย์ห่อโคลง).
กราว ๒ : [กฺราว] ว. เสียงดังคล้ายเช่นนั้น เช่น เสียงของแข็งจํานวนมาก ๆ ร่วงลงกระทบพื้นหรือหลังคาพร้อม ๆ กัน หรือเสียงที่คน จํานวนมากตบมือพร้อม ๆ กัน.
กล้วย ๑ : [กฺล้วย] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกออกได้เป็น ๒ จําพวก จําพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุกเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม บางชนิดผลสุกเนื้อแข็ง มักเผา ต้ม หรือเชื่อมกิน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก,จําพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบประดับไม่ร่วง เช่น กล้วยนวล กล้วยผา.
โกร๋น : [โกฺร๋น] ว. ร่วงโรยเกือบหมด, มีอยู่น้อย, มีห่าง ๆ, เช่น ต้นไม้ใบโกร๋น, มีผมน้อย ในคำว่า หัวโกร๋น. โกร๋นเกร๋น (ปาก) ว. โกร๋น.
ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
ขี้ไต้ ๑ : น. ส่วนของไต้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟหรือส่วนของไต้ที่จุดและเขี่ย ให้ร่วงหล่นลง.
เขี่ย : ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือ วาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือ เป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.
ชันนะตุ : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นที่ศีรษะ เกิดจากเชื้อรา บนผิวหนังศีรษะก่อนแล้วลุกลามกินลึกลงไปถึงรากผม ทําให้ผมร่วง (มักเกิดแก่เด็กผู้ชาย).
ชายผ้าสีดา : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับ ต้นไม้เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบ ติดอยู่กับต้นตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบ ตั้งขึ้นหรือห้อยลง ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ.
ทรุดโทรม : ว. เสื่อมไปเพราะร่วงโรย ครํ่าคร่า หรือตรากตรําเกินไป.
บังเหตุ : (โบ) ก. ประมาท เช่น บังเหตุดูถูก. (ข. บฺรเหส); ทําให้เป็นเหตุ, บันดาลเหตุ, เช่น ใบก็บังเหตุร่วงประจักษ์ตา. (ขุนช้างขุนแผน).
ป่วง : น. โรคลงราก, โรคระบาดมีอาการให้ท้องร่วงและอาเจียน.
ป่าแดง : น. ป่าที่มีใบไม้ร่วงตามฤดูกาล เช่น ป่าเต็ง ป่ารัง.
ผล็อย, ผล็อย ๆ : [ผฺล็อย] ว. อาการที่ร่วงหรือหล่นไปโดยเร็ว เช่น ฝนตกผล็อย ๆ, อาการที่หลับไปโดยเร็ว เช่น หลับผล็อย, ผ็อย หรือ ผ็อย ๆ ก็ว่า.
ผ็อย, ผ็อย ๆ : ว. อาการที่ร่วงหรือหล่นไปโดยเร็ว เช่น ฝนตกผ็อย ๆ, อาการที่ หลับไปโดยเร็ว เช่น หลับผ็อย, ผล็อย หรือ ผล็อย ๆ ก็ว่า.
เผาะ ๑, เผาะ ๆ : ว. เปราะ; เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหักไม้เปราะ เช่น ข้อเท้าข้อมือ ลั่นเผาะ น้ำตาร่วงเผาะ ๆ.
พรู : ว. อาการที่เคลื่อนไหวมาพร้อม ๆ กันเป็นจํานวนมาก เช่น วิ่งพรูกัน เข้ามา, ร่วงลงมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ดอกพิกุลร่วงพรู.
ระหุย : ก. ร่วงพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นจํานวนมาก.
โรย : ก. อาการที่ดอกไม้ค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรย ดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อย ๆ หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย เกสรบัวโรย; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นเพราะอดนอน หรือเพิ่งหายไข้เป็นต้น เช่น หน้าตายังโรยอยู่ อดนอนตาโรย; หย่อน กำลัง, เพลีย, ในคำว่า อิดโรย; ค่อย ๆ ผ่อนลง เช่น โรยเชือก โรยอวน; ค่อย ๆ โปรยลงไป, โปรยลงไปทีละน้อย, เช่น เอาแป้งโรยตัว โรย อาหารให้ปลา โรยพริกไทย โรยผักชี.
โรเร : ว. ร่วงโรย, ซบเซา, ไม่แข็งแรง, ไม่แน่นอน.
ฤดู :
[รึ] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กําหนดสําหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดู ถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์, คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก.(ส. ฤตุ, ป. อุตุ).
ล้าน ๒ : ว. ลักษณะของหัวที่ไม่มีผมมาแต่กำเนิดหรือผมร่วงแล้วไม่ขึ้นอีก, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ภูเขาหัวล้าน.
ศารท : [สาด] ว. เกี่ยวกับหรือเกิดในฤดูใบไม้ร่วง; เทศกาลทําบุญสิ้น เดือน ๑๐. (ส.; ป. สารท).
สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
สนิมสร้อย : [สะหฺนิมส้อย] ว. ถนิมสร้อย, หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็นอ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ), เช่น ดุว่านิดหน่อยก็น้ำตาร่วง ทำเป็นแม่สนิมสร้อยไปได้.
สรทะ : [สะระ] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูสารท. (ป.; ส. ศรท).
สังขาร, สังขาร : [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุง แต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
ส่าขนุน : น. ดอกขนุนที่เกิดขึ้นก่อนแล้วร่วงไป ซึ่งเป็นเครื่องหมายว่า ขนุนนั้นจะมีลูก.
หรดาลแดง : น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด หรือ เป็นก้อนอัดแน่น อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๕ สีแดงหรือแดงส้ม เป็นมัน มีสูตรเคมี AsS, As2S2, As4S4 ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม หนังสัตว์ ใช้เป็นตัวทําให้ขนร่วง ใช้ในงานอุตสาหกรรมทํากระสุนปืน ส่องวิถี ใช้ในงานความร้อนสูง เช่น ดอกไม้ไฟ พลุสี ใช้เป็นสารฆ่าสัตว์ แทะ เช่น หนู และใช้เป็นสีทา. (อ. realgar).
หรุบ ๆ : ว. อาการของสิ่งที่ร่วงลงมาพรู เรียกว่า ร่วงหรุบ ๆ.
หล่น : ก. ตกลงมา, ร่วงลง.
หางหนู : น. หางเปียขนาดเล็กและสั้นที่บริเวณท้ายทอยโดยโกนผมที่เหลือ ออกทั้งหมด; เรียกตะไบเล็ก ๆ ที่มีลักษณะกลมเรียวว่า ตะไบหางหนู; ส่วนของแขนงช่อดอกของหมากและมะพร้าวที่ดอกเพศผู้ร่วงหมดแล้ว.
เอื้อนวาจา, เอื้อนโอฐ ๑ : (ปาก) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้ในความหมายเชิงประชดประชัน เช่น กว่าจะเอื้อนโอฐออกมา ได้เหมือนกลัวดอกพิกุลจะร่วง.
รวง ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น ลวง ก็มี.
รวงผึ้ง ๑ : ว. รุ่ง, เรือง.
รวงผึ้ง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Schoutenia glomerata King subsp. paregrina (Craib) Roekm. et Martono ในวงศ์ Tiliaceae ใบออกเรียงสลับกัน ด้าน ล่างสีขาว ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ปลูกเป็นไม้ประดับ, นํ้าผึ้ง หรือ ดอกนํ้าผึ้ง ก็เรียก.
รวงรัง : น. รัง.
คอรวง : น. ก้านช่อดอกหรือก้านรวงของข้าว.