ร่องแร่ง : ว. อาการที่ห้อยติดอยู่จวนจะหลุด เช่น เขาถูกฟันแขนห้อยร่องแร่ง แมว คาบหนูห้อยร่องแร่ง, กะร่องกะแร่ง.
ร่อง : น. รอยลึกเป็นช่องทางไปตามยาว, สันดินระหว่างท้องร่องสําหรับเพาะ ปลูก เช่น ร่องผัก ร่องมัน.
กะร่องกะแร่ง : ว. ร่องแร่ง, ติดห้อยอยู่นิด ๆ หน่อย ๆ, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่สมบูรณ์.
แร่ง ๑ : น. เครื่องร่อนของละเอียด. ก. กิริยาที่ใช้แร่งร่อนของละเอียด เช่น แร่งแป้ง.
แร่ง ๒ : น. ที่วางศพหามศพรูปอย่างแคร่.
ร่องตีนช้าง : น. ส่วนล่างของฝาเรือนทรงไทย อยู่ระหว่างธรณีประตูหรือ ธรณีหน้าต่างกับพื้น มีลักษณะเป็นช่อง ๆ กรุด้วยแผ่นไม้กระดาน.
ร่องน้ำ : น. ทางนํ้าลึกที่เรือเดินได้.
ร่องรอย : น. เค้าเงื่อนหรือเบาะแสที่ปรากฏเป็นแนวบอกให้รู้.
ร่องส่วย : (ถิ่นอีสาน) ก. หย่ง.
แร่งริ้ว : น. ชิ้นฉีก, สิ่งที่ฉีกเป็นชิ้น ๆ.
แร่งไหม : น. ไหมทอง.
เข้าร่องเข้ารอย, เข้ารอย : ว. ถูกทาง.
ท้องร่อง : น. ทางนํ้าที่ขุดลงไปเป็นลํารางเพื่อขังนํ้าไว้รดต้นไม้เป็นต้น.
ท้องร่อง. : ก. มีลูกอยู่ในท้อง, ตั้งครรภ์.
ใบเบิกร่อง : (กฎ) น. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวาง จดทะเบียนตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนําเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้า สมุทรปราการ.
แครง ๑ : [แคฺรง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Anadara granosa ในวงศ์ Arcidae ตัวป้อม ๆ กาบมีสันและร่อง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณที่มีโคลน ปนทราย; ภาชนะสําหรับวิดนํ้า รูปคล้ายกาบหอยแครง, ถ้าใช้วิดนํ้าใน สวน มีด้ามยาว, ถ้าใช้วิดนํ้าเรือ ไม่มีด้าม.
ราง ๑ : น. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล; สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคา เป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา; ไม้ที่ขุดหรือต่อ ให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับ ใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด; เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่น รางรถไฟ; ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ ๘๐ เหรียญหรือ ๑ ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญ บาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี ๑๐ แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาท ได้ ๑๐ เหรียญ รวมเป็น ๑๐๐ บาท; ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็น ราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง.
รง ๒ : น. ชื่อยางไม้ที่ได้จากไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Garcinia วงศ์ Guttiferae คือ มะพูด (G. dulcis Kurz) และ รง (G. hanburyi Hook.f.) ชนิดแรกให้ยาง สีเขียว ๆ อมเหลืองเรียก รงกา ชนิดหลังให้ยางสีเหลืองเรียก รง ใช้ทำยา และเขียนหนังสือหรือระบายสีรงนั้นถ้าใช้ทองคำเปลวผสมเขียนตัว หนังสือหรือลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า รงทอง.
กระดี่ ๒ : น. ชื่อกบสําหรับไสไม้ทําเป็นร่อง เรียกว่า กบกระดี่.
กระบองเพชร ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cereus hexagonus (L.) Miller ในวงศ์ Cactaceae ลําต้นสูง ๓-๕ เมตร ลําต้นและกิ่งกลม หยักเป็นร่องโดยรอบ มีหนามละเอียด ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอม บานกลางคืน มักปลูกเป็นรั้วบ้าน, ตะบองเพชร ก็เรียก, พายัพ เรียก เขียะ หรือ หนามเขียะ.
กระไส : น. ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส. (ม. กาพย์ วนปเวสน์), ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
กร่ำ ๓ : [กฺร่ำ] (โบ) น. ไม้ปักที่หมายร่องน้ำที่ทะเล. (ปรัดเล).
กลบ : [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ใช้เนื้อ, ทดแทน, เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย. (กฎ. ราชบุรี), กลบลบ ก็ว่าเช่น หักกลบลบหนี้.
กลอกกลับ : ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด), กลับกลอก ก็ว่า.
กลับกลอก : ก. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดจากลับกลอก, กลอกกลับ ก็ว่า.
กะพร่องกะแพร่ง : [-พฺร่อง-แพฺร่ง] ว. ขาด ๆ วิ่น ๆ, มีบ้างขาดบ้าง, ไม่สม่ำเสมอ; ไม่เต็มที่, ไม่ครบถ้วน, ไม่พอเพียง, (ตามที่คาดหมายไว้).
กิโยตีน : น. เครื่องมือประหารชีวิตแบบหนึ่ง ประกอบด้วยใบมีดขนาดใหญ่ ด้านคมมีลักษณะเฉียง เลื่อนลงมาตามร่องเสาให้ตัดคอนักโทษ. (ฝ. guillotine).
แกะรอย : ก. ติดตามหาร่องรอย.
ขี้ลอก : (ปาก) น. ดินที่ลอกขึ้นมาจากท้องร่อง.
เข้ารางลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น.
เข้าลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า เข้ารางลิ้น.
คลองเลื่อย : น. ร่องไม้ที่เลื่อยเลื่อยเข้าไป, แนวฟันของเลื่อย.
คำพ้องรูป : น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
คู ๑ : น. ร่องนํ้าที่ขุดขึ้นเพื่อชักน้ำหรือเก็บนํ้าไว้ใช้เป็นต้น เช่น คูสวน, ร่องน้ำที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องกีดขวางป้องกันที่นอกกำแพงเมือง เช่น คูเมือง.
เครือเขาน้ำ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tetrastigma lanceolarium Planch. ในวงศ์ Vitaceae ขึ้นในป่าดิบ ลําต้นตอนบนแบนเป็นร่อง ตอนล่างค่อนข้างกลม อุ้มนํ้า นํ้าในลําต้นกินได้.
เครื่องบันทึกเสียง : น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่น ซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.
เค้า ๑ : น. สิ่งที่เป็นเครื่องกําหนดหมายบอกให้รู้ เช่น ฝนตั้งเค้า; สิ่งที่ส่อแสดง ให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้าเหมือนนาย ข; ต้นเงื่อน เช่น ต้นเค้า; รูปหรือรูปความโดยย่อ เช่น เขียนพอให้เห็นเป็น เค้า; ร่องรอย เช่น พอได้เค้า; เหง้า เช่น โคตรเค้าเหล่ากอ; ข้า. (อนันตวิภาค); ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้ง ไว้สําหรับเล่นในบ่อนการพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนัน ว่า ถุงเค้า.
เค้าเงื่อน : น. ร่องรอยที่นําให้สืบสาวเรื่องราวต่อไปได้.
แคม : น. ส่วนริมทั้ง ๒ ข้างเรือ, เรียกของอื่นที่มีลักษณะคล้ายริมเรือ เช่น แคมร่อง.
โคกกระออม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Cardiospermum halicacabum L. ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ลําต้นเรียวเป็นร่อง ใบสีเขียวอ่อน มีมือเกาะ ดอกเล็ก สีขาว ผลกลม มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมพองลมหุ้มอยู่ รากและใบใช้ทํายาได้, กระออม ก็เรียก.
จั่น ๓ : น. ชื่อเบี้ยชนิด Cypraea moneta ในวงศ์ Cypraeidae หลังนูน ท้องเป็นร่อง ๆ เปลือกแข็งเรียกว่า เบี้ยจั่น ในสมัยโบราณใช้ต่างเงิน, เบี้ยจักจั่น ก็เรียก.
จำหลอก : [-หฺลอก] (กลอน) ก. ถลอก, ลอก, ไสหรือแซะให้ลึกเป็นร่อง, ทำให้เป็น ลวดลาย, เช่น จําหลักจําหลอกกลม ภบังอวจจําหลักราย. (สมุทรโฆษ).
เจ้าท่า : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจหน้าที่ควบคุมและตรวจตราการ เดินเรือ การใช้เรือ การจอดเรือ ร่องนํ้า ทางเดินเรือ และกิจการท่าเรือ.
โจน : ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว เช่น โจนนํ้า, เผ่นข้ามไป เช่น โจนท้องร่อง, กระโจน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นํ้าโจน.
ชลธาร : น. ลํานํ้า, ลําคลอง, ร่องนํ้า, ห้วย, ทะเลสาบ.
ชักรอก : ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อน ผ่านร่องของรอกเพื่อยกลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและ สะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้ แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก.
ชำแระ : น. ที่แฉะ, ที่เลน, เช่น ชายชําแระข้างในตรงร่องนํ้า. (เชมสบรุก).
ดอกลำเจียก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า แร่งลงบนกระทะ ร้อน ๆ ให้ผงแป้งติดกันเป็นแผ่น ใส่ไส้หน้ากระฉีก โบราณพับเป็นรูป สามเหลี่ยม ปัจจุบันพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือม้วนคล้ายทองม้วน.
ดำดิน : ก. หลบหายไป, หายไปโดยไม่มีร่องรอย.
ดีด ๒, ดีดขัน ๑ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Elateridae ลําตัวยาว แบน เล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดํา นํ้าตาล หรือเทาปลอด บางชนิดมีจุด เป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่ง ยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทําให้สามารถดีดตัว กลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น.