ร่า : ว. อาการที่แสดงให้เห็นว่าเบิกบานเต็มที่ เช่น หัวเราะร่า ยิ้มร่า; เปิด เต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า หน้าต่างเปิดร่า.
หรา : [หฺรา] ว. ก๋า, ร่า, เช่น เต้นหรา.
กะเร่อกะร่า : อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนัน เลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า อย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
บ้าร่าท่า : (ปาก) ว. อาการที่บานเต็มที่ เรียกว่า บานบ้าร่าท่า.
เร่อร่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิด กาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อ กะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑ : น. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือ จันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ใน ตําราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่าน จากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ. (ป., ส. ราหุ).
ป่องร่า : (โบ) น. อาการของคนคะนองไม่กลัวใคร ชวนวิวาทกับผู้อื่น. (ปรัดเล).
หน้าร่าหุ์, หน้าราหู : น. ชื่อลายไทยแบบหนึ่งอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนทำเป็นหน้าอสูรที่ชื่อราหู เช่นตรงกลางพัดยศพระราชาคณะชั้น สามัญหรือที่โล่, หน้าขบ ก็เรียก.
ยี่หร่า : [หฺร่า] ดู เทียนขาว ที่ เทียน๔. (เทียบ ส. ชีรก, ทมิฬ ชีรา, ฮินดูสตานี zira).
ร้า ๔ : (กลอน) ก. ร่า, ร่าเริง, เช่น ชาวที่ร้าเปิดทวาร. (นิทราชาคริต).
กระเซอ : ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
กระเซ้ากระซี้ : ก. พูดรบเร้าร่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, เซ้าซี้ ก็ว่า.
กระทุ่ม ๒ : ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ ร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
กระปอดกระแปด : ว. อาการที่บ่นปอดแปด, อาการที่บ่นร่าไร.
กริ้งกริ้ว : [กฺริ้งกฺริ้ว] (ถิ่น - ปักษ์ใต้) ว. เล็ก, ผอม, เช่น รูปร่างกริ้งกริ้ว คือ รูปร่างเล็ก.
กะเล่อกะล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลย ถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่า อย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
กำยำ : ว. ใหญ่โตแข็งแรง เช่น รูปร่างกํายําล่าสัน.
กุหร่า : [-หฺร่า] น. สีเทาเจือแดง บางทีกระเดียดเหลืองเล็กน้อย เป็นสีชนิดสักหลาด. (เทียบทมิฬ กุลฺลา ว่า หมวก; อิหร่าน กุลา ว่า กะบังหน้า).
คร่า : [คฺร่า] ก. ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี.
คร่าว : [คฺร่าว] น. โครงสร้างซึ่งทำขึ้นด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นไม้ โลหะ เพื่อใช้ในการยึดแผ่นวัสดุที่ทำเป็นฝา รั้ว หรือฝ้าเพดาน ส่วนใหญ่จะยึด กับโครงสร้างที่สำคัญมีเสาคาน เป็นต้น คร่าวตีได้ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือเป็นตาราง.
เคร่า : [เคฺร่า] (กลอน) ก. รอ, คอย, เช่น จงนุชรีบเรียบข้อนเคร่าถ้าจีนคอย. (นิ. นรินทร์).
โคร่ง ๒, โคร่งคร่าง, โคร่งเคร่ง : [โคฺร่ง, -คฺร่าง, -เคฺร่ง] ว. ใหญ่โต, เร่อร่า, ไม่กะทัดรัด.
เซ่อซ่า : ว. เซ่อมาก, เร่อร่า, เล่อล่า, กะเร่อกะร่า หรือ กะเล่อกะล่า ก็ว่า.
เด๋อ, เด๋อด๋า : ว. เปิ่น, เร่อร่า.
ปร่า : [ปฺร่า] ว. ลักษณะของรสที่ไม่กลมกล่อมไม่แน่ชัดว่าเป็นรสอะไร เช่นรสแกงที่มีเครื่องปรุงไม่เหมาะส่วน.
พร่า : [พฺร่า] ก. ทําให้เสียหาย, ทําลาย, ทําให้ย่อยยับ, เช่น พร่าชื่อเสียง พร่าทรัพย์สมบัติ พร่าประโยชน์. ว. กระจัดกระจายจนเห็นหรือ ได้ยินไม่ถนัดชัดเจน เช่น ตาพร่า รูปพร่า เสียงพร่า.
ยาปนมัต : น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิต ให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต).
รา ๑ : น. ไม้ที่กระหนาบอยู่ใต้ท้องพรึงรับพื้นเรือนเพื่อไม่ให้พื้นอ่อน อยู่ระหว่าง รอด; ไม้จีมเสาที่ปากหลุมซึ่งยังไม่ได้กลบดินเพื่อกันไม่ให้โอนเอน เรียกว่า ราคอเสา.
รา ๒ : น. ชื่อเรียกพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ และลําต้น ใบ ราก ที่แท้จริง ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ สืบพันธุ์โดยสปอร์อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ ร่วมกับพืชอื่นก็มี.
รา ๓ : ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป; น้อยลง, อ่อนลง, เช่น ไฟราดับไปเอง. (กลอน) ว. คําชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทําตาม เช่น ไปเถิดรา.
รา ๔ : (กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคําว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้าง ขุนแผน).
เล่อ : ว. แสดงอาการมีหน้าตาผิดปรกติเพราะตกใจ ดีใจ หรือแปลกใจ, เซ่อซ่า, เร่อร่า กะเล่อกะล่า หรือ กะเร่อกะร่า ก็ว่า.
เล่อล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเล่อล่า ผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเล่อล่าออกไปกลางถนนเลยถูก รถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเล่อล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูก จับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเล่อล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เร่อร่า ก็ว่า.
วิตามิน : น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจําเป็นที่ร่างกายต้องการแต่ เพียงจํานวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทําให้อวัยวะใน ร่างกายทํางานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการ เจริญเติบโตของร่างกาย บํารุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วย ต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ ''ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).
สะเพร่า : [เพฺร่า] ว. อาการที่ทําอย่างหวัด ๆ ลวก ๆ, ขาดความรอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขียนหนังสือสะเพร่าตก ๆ หล่น ๆ ล้างแก้วสะเพร่า ไม่สะอาด.
อร่าม : [อะหฺร่าม] ว. แพรวพราว, สว่างไสว, เช่น ใส่ทองอร่ามไปทั้งตัว เปิดไฟอร่ามไปทั้งห้อง.
ราโชงการ : [ราโชงกาน] น. ราชโองการ.
ราไชศวรรย์ : [ราไชสะหฺวัน] น. ราชสมบัติ. (ส.).
ราน้ำ : ก. ต้านน้ำ เช่น เอาเท้าราน้ำ เอาไม้ราน้ำ.
ราไฟ : ก. ทำให้ไฟอ่อนลงโดยคีบถ่านหรือชักฟืนออกเสียบ้าง, ราฟืน ราไฟ ก็ว่า.
ราแจว, ราพาย : ก. เอาแจวหรือพายแตะน้ำเรียด ๆ เพื่อชะลอเรือไว้.
ราชาธิปไตย :
ดู ราช๑ราช.
ราชาธิปไตย : น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่มีพระราชาเป็นใหญ่. (ป. ราช + อธิปเตยฺย). (อ. monarchy).
ราชายตนะ : น. ไม้เกด. (ป., ส.).
ราไชศวรรย์ :
ดู ราช๑ราช.
รามือ : ก. ทำงานน้อยลง.
กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
ขี้หมูราขี้หมาแห้ง : ว. ไร้สาระ, ไร้ประโยชน์, เช่น เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง.