Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ร้องเรียน, เรียน, ร้อง , then รอง, ร้อง, ร้องเรียน, เรียน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ร้องเรียน, 614 found, display 1-50
  1. ร้องเรียน : ก. เสนอเรื่องราว.
  2. ร้อง : ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คํา แวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
  3. อุทธรณ์ : [อุดทอน] น. การยกขึ้น, การรื้อขึ้น, การเคลื่อนที่, การเสนอ, การ นำมาให้; ชื่อศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เรียกว่า ศาลอุทธรณ์. ก. (กฎ) ยื่นฟ้องหรือยื่นคําร้องต่อศาลสูงคัดค้านคํา พิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น; ยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งหรือคํา วินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่; ร้องเรียน, ร้องทุกข์, เช่น ร้องอุทธรณ์. (ป., ส. อุทฺธรณ).
  4. เรียน : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  5. เรียน : ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาอื่นเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เรียนถาม เรียนเชิญ.
  6. ร้องเพลง : ก. ขับลําเป็นทํานองต่าง ๆ, บางทีก็ใช้ว่า ร้อง คําเดียว.
  7. ร้องงอแง : ก. ร้องอ้อน (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ).
  8. ร้องฎีกา : ก. ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์.
  9. ร้องโยนยาว : ก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพาย เรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
  10. ร้องระเบ็งเซ็งแซ่ : ก. ร้องดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.
  11. ร้องเรือ : (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ก. ขับหรือกล่อมเพลงให้เด็กฟัง. น. เรียกเพลง กล่อมเด็กว่า เพลงร้องเรือ.
  12. ร้องแรก, ร้องแรกแหกกระเชอ : ก. ร้องเอ็ดตะโร, ส่งเสียงโวยวายให้ผู้อื่นรู้.
  13. ร้องส่ง : ก. ร้องเพลงให้เครื่องดนตรีรับ.
  14. ร้องสด : ก. ร้องโดยไม่มีดนตรีรับ, ร้องโดยคิดกลอนด้นหรือกลอนสด, ร้องออกอากาศทันที.
  15. ร้องห่ม : ก. ร้องรํ่าไรอย่างน้อยอกน้อยใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ร้องไห้ เป็น ร้องห่มร้องไห้ หรือ ร้องไห้ร้องห่ม.
  16. ร้องห่มร้องไห้ : ก. ร้องรํ่าไรอย่างน้อยอกน้อยใจ, ร้องไห้ร้องห่ม ก็ว่า.
  17. เรียนปฏิบัติ : ก. ขอหารือต่อผู้ใหญ่ เช่น เรียนปฏิบัติมาเพื่อโปรดพิจารณา แนะนำ.
  18. เรียนลัด : ก. เรียนตามหลักสูตรเร่งรัดเพื่อให้จบเร็วกว่าปรกติ.
  19. ร้องกระจองอแง : ก. อาการที่เด็กหลาย ๆ คนร้องไห้พร้อม ๆ กัน.
  20. ร้องทุกข์ : ก. บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ.
  21. ร้องบอก : ก. เปล่งเสียงบอกให้รู้.
  22. ร้องเรียก : ก. เปล่งเสียงเรียกเพื่อให้มาหรือเพื่อมุ่งหมายอย่างอื่น.
  23. ร้องเรียกร้องหา : ก. ต้องการตัว.
  24. ร้องสอด : (กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาล ด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมาย เรียกให้เข้ามาในคดี.
  25. เรียนผูกต้องเรียนแก้ : (สํา) ก. รู้วิธีทําก็ต้องรู้วิธีแก้ไข, รู้กลอุบายทุกทาง ทั้งทางก่อและทางแก้.
  26. เรียนรู้ : ก. เข้าใจความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยประสบการณ์.
  27. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  28. เข้าชื่อ : ก. ลงชื่อร่วมกันหลาย ๆ คน เพื่อร้องเรียนหรือแสดงความจํานง.
  29. ฉมบ : [ฉะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็น เงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร เช่น อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี ๒๐. (สามดวง), ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตําแย).
  30. เดินขบวน : ก. ยกกันไปเป็นหมู่เป็นพวกเพื่อร้องเรียนเป็นต้น.
  31. โอดโอย : ก. ร้องเพราะความเจ็บปวด, (ปาก) ร้องเรียนว่าไม่ได้รับ ความเป็นธรรมเป็นต้น.
  32. กระดูกร้องได้ : (สํา) น. ผลสะท้อนของฆาตกรรมที่ทําให้จับตัว ผู้กระทําผิดมาลงโทษได้ คล้ายกับว่ากระดูกของผู้ตายร้องบอก.
  33. ขับร้อง : ก. ร้องเพลง.
  34. คงแก่เรียน : ว. ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก.
  35. ช้างร้อง : น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จุดมีเสียงดังเหมือน เสียงช้างร้อง.
  36. เนื้อร้อง : น. คําประพันธ์สําหรับขับร้อง, คำร้อง บทเพลง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
  37. บทเรียน : น. คําสอนที่กําหนดให้เรียน, ข้อที่เป็นคติเตือนใจ เช่น บทเรียนในชีวิต.
  38. บาเรียน : น. ผู้เล่าเรียน, ผู้รู้ธรรม, ผู้คงแก่เรียน, เปรียญ.
  39. ป่าวร้อง : ก. ร้องบอกให้รู้ทั่วกัน.
  40. ภาคเรียน : น. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทําการสอนติดต่อกัน ตามปรกติ ปีการศึกษาหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกเป็น ๒–๓ ภาคเรียน.
  41. ร่ำร้อง : ก. พร่ำร้องขอ, พูดอยู่บ่อย ๆ, เช่น ลูก ๆ ร่ำร้องจะไปเที่ยวเขาดิน.
  42. เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
  43. ละครร้อง : น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจา ตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตาม สมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
  44. เล่าเรียน : ก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหา ความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.
  45. การบุเรียน : (โบ) น. การเปรียญ.
  46. กาเรียน : ดู กระเรียน.
  47. กาเรียนทอง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดู กระเรียน๒).
  48. ฟ้องร้อง : ก. กล่าวโทษ, กล่าวหา.
  49. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  50. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-614

(0.1469 sec)