ผ่าว : ว. อาการที่รู้สึกร้อนแรงเมื่อมีไอร้อนมากระทบ เช่นตัวร้อนผ่าว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่รู้สึกคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อกร้อนผ่าว หน้าร้อนผ่าว.
ร้อน : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกไฟเป็นต้น, ตรงข้ามกับ เย็น; กระวน กระวาย เช่น ร้อนใจ; รีบเร่ง, ช้าอยู่ไม่ได้.
รุ่ม : ว. ร้อนผ่าว ๆ; (ปาก) เรื่อย, บ่อย, เช่น เรียกใช้เสียรุ่ม, มาก เช่น รวยรุ่ม.
ร้อน ๆ หนาว ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัว ว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, สะบัดร้อนสะบัดหนาว หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
หนาว ๆ ร้อน ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยว ร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูก ลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ สะบัดร้อนสะบัดหนาว ก็ว่า.
สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ : ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิต ออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคล ผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือน เจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
ร้อนใจ, ร้อนอกร้อนใจ : ก. เดือดร้อนใจ, กระวนกระวายใจ.
ร้อนตัว : ก. กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว.
ร้อนที่ : (ปาก) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทำให้อยู่ติดที่ไม่ได้.
ร้อนรุ่ม : ก. กลัดกลุ้มด้วยร้อนใจ, รุ่มร้อน ก็ว่า.
ร้อนหู : ก. เดือดร้อนเพราะได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่ทำให้ไม่สบายใจ.
ร้อนอาสน์ : (สํา) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทําให้อยู่เฉยไม่ได้.
ร้อนผ้าเหลือง : (ปาก) ก. อยากสึก (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
ร้อนวิชา : (สํา) ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็น ปรกติ; เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษหรือคาถาอาคมจนผิด ปรกติวิสัย.
สะบัดร้อนสะบัดหนาว : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้ เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจ กลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่ทำความผิดไว้ พอ เห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
กินปูนร้อนท้อง : (สํา) ก. ทําอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง.
ของร้อน : น. ของที่มีผู้ขโมยเขาเอามาฝากไว้หรือจําหน่ายให้ ถ้ารับ เอาไว้จะทําให้เดือดร้อน; ของที่ผิดกฎหมาย ถ้ามีไว้ในครอบครอง จะทําให้เดือดร้อน เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่นเถื่อน.
ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
เดือนร้อน : น. หน้าร้อน.
บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
ปวดแสบปวดร้อน : ก. รู้สึกเจ็บเช่นเมื่อถูกไฟหรือนํ้าร้อนลวก.
เผ็ดร้อน : ว. ทั้งเผ็ดทั้งร้อนอย่างรสพริกไทยหรือดีปลี; รุนแรง เช่น โต้คารมอย่างเผ็ดร้อน.
พายุโซนร้อน : น. พายุหมุนที่มีกำลังปานกลาง ก่อตัวขึ้นในบริเวณ ทะเลหรือมหาสมุทรในโซนร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความเร็วลม รอบบริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๔ นอต หรือ ๖๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ไม่ถึง ๖๔ นอต หรือ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง.
พายุนอกโซนร้อน : น. พายุโซนร้อนที่เคลื่อนที่ไปในละติจูดสูง ๆ ในบริเวณนอกโซนร้อนหรือที่เกิดขึ้นนอกโซนร้อน.
มือร้อน : ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ไม่ขึ้นหรือไม่งอกงามว่า คนมือร้อน, ตรงข้ามกับ มือเย็น.
รีบร้อน : ก. อาการที่รีบทำอย่างลุกลน เช่น เขารีบร้อนไปทำงานจนลืม กระเป๋าสตางค์. ว. รีบลุกลน เช่น พอได้รับโทรเลข เขาก็ไปอย่างรีบร้อน.
รุ่มร้อน : ก. กลัดกลุ้มด้วยร้อนใจ, ร้อนรุ่ม ก็ว่า.
ลมร้อน : น. ลมที่นำความร้อนมาด้วย.
หนีร้อนมาพึ่งเย็น : (สำ) ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่ มีความสงบสุข.
หมาถูกน้ำร้อน : (สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่าน ไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่าน ไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.
รอน : ก. ตัดให้เป็นท่อน ๆ เช่น รอนฟืน; ทำให้ลดลง เช่น รอนกําลัง.
แกงร้อน : น. ชื่อแกงจืดชนิดหนึ่งใส่วุ้นเส้น.
ข้าวแดงแกงร้อน : (สํา) น. บุญคุณ.
เงินร้อน : น. เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์; เงินที่หมุนเวียนเร็ว.
เจ็บร้อน : ก. เป็นเดือดเป็นแค้น.
เจ้าข้าวแดงแกงร้อน : น. ผู้มีบุญคุณที่เคยอุปการะเลี้ยงดูมา.
เดือดร้อน : ก. เป็นทุกข์กังวลไม่เป็นสุข.
ทองไม่รู้ร้อน : (สํา) ว. เฉยเมย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน.
น้ำร้อนปลาเป็น : (สํา) น. คําพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการ เตือนให้ระวังตัวแต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าเย็นปลาตาย.
ผ้าเหลืองร้อน : (ปาก) ก. อยากสึก (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร).
พักร้อน : ก. หยุดพักผ่อน.
รังสีความร้อน : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วง คลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, รังสี อินฟราเรด ก็เรียก.
เลือดร้อน : ว. โกรธง่าย, โมโหง่าย.
อาบน้ำร้อนมาก่อน : (สํา) ก. เกิดก่อนจึงมีประสบการณ์มากกว่า.
กำเดา : น. เลือดที่ออกทางจมูก เรียกว่า เลือดกําเดา. (ข. เกฺดา ว่า ร้อน); แพทย์แผนโบราณเรียกไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัดว่า ไข้กําเดา.
ครั่นตัว, ครั่นเนื้อครั่นตัว : ก. รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ เป็นอาการแสดงว่า จะเป็นไข้, รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
ดอกลำเจียก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า แร่งลงบนกระทะ ร้อน ๆ ให้ผงแป้งติดกันเป็นแผ่น ใส่ไส้หน้ากระฉีก โบราณพับเป็นรูป สามเหลี่ยม ปัจจุบันพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือม้วนคล้ายทองม้วน.
โผฏฐัพ, โผฏฐัพพะ : [โผดถับพะ] น. สิ่งที่มาถูกต้องกาย คือ สิ่งที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด. (ป.).
พริกไทย : น. ชื่อไม้เถาชนิด Piper nigrum L. ในวงศ์ Piperaceae ผลมีรสเผ็ด ร้อน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา, ถ้ามีเปลือกหุ้มอยู่เรียกว่า พริกไทยดํา, ถ้าเอาเปลือกออก เรียกว่า พริกไทยล่อน หรือ พริกไทยขาว.
หยก ๆ : ว. เพิ่งทํามาเร็ว ๆ นี้, สด ๆ ร้อน ๆ, เช่น บอกอยู่หยก ๆ ไม่น่าลืมเลย มาถึงหยก ๆ โดนใช้งานเสียแล้ว.