Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฤทธิ์ , then ฤทธ, ฤทธิ์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ฤทธิ์, 44 found, display 1-44
  1. ฤทธิ์ : [ริด] น. อํานาจศักดิ์สิทธิ์, แรงอํานาจ, เช่น เทวดามีฤทธิ์. (ส.; ป. อิทฺธิ).
  2. ทำฤทธิ์ : ก. ทําพยศหรืออาละวาดเพื่อให้ได้รับการเอาอกเอาใจ (มักใช้แก่เด็ก), ทําฤทธิ์ทําเดช ก็ว่า.
  3. แผลงฤทธิ์, แผลงฤทธิ์แผลงเดช : (ปาก) ก. อาละวาดด้วยความโกรธ เพราะถูกขัดใจ, ออกฤทธิ์ ก็ว่า.
  4. ออกฤทธิ์ : ก. สําแดงคุณหรือโทษให้ปรากฏ เช่น ยาออกฤทธิ์ ยาพิษออกฤทธิ์; (ปาก) อาละวาดด้วยความโกรธเพราะถูกขัดใจ เป็นต้น, แผลงฤทธิ์ ก็ว่า.
  5. นาคราชแผลงฤทธิ์ : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  6. บุญฤทธิ์ : [บุนยะ-] น. ความสําเร็จด้วยบุญ.
  7. เนรมิต : [ระมิด] ก. นิรมิต, สร้างหรือบันดาลด้วยอํานาจ ฤทธิ์ หรืออภินิหาร ให้บังเกิดเป็นขึ้นมีขึ้นโดยฉับพลัน. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
  8. ประภาพ : [ปฺระพาบ] น. อํานาจ, ฤทธิ์. (ส.).
  9. ฤ ๑ : [รึ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต เมื่อไทยนํามาใช้ออกเสียงเป็น ริ รึ หรือ เรอ เช่น ฤทธิ์ ฤดู ฤกษ์.
  10. อิทธิ, อิทธิ : [อิดทิ] น. ฤทธิ์, อํานาจศักดิ์สิทธิ์; ความเจริญ, ความสําเร็จ, ความงอกงาม. (ป.; ส. ฤทฺธิ).
  11. กากคติ : [กากะคะติ] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีดําเนินกลอน อย่างกาที่บินไป เช่น สรรเพ็ชญ์เจ้าได้ ทรงฤทธิ์เรืองไกร ย่อมบำเพงทาน ให้พระวิมุติ โลกุดรญาณ แสวงหาศีลาจาร ประเสริฐหนักหนา. (ชุมนุมตํารากลอน).
  12. กาเฟอีน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทพิวรีน มีสูตรเคมี C8H10O2N4 ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีในใบชา เมล็ดกาแฟ เป็นยาเสพติดอย่างอ่อน มีฤทธิ์อย่างแรงต่อหัวใจ ใช้ในการแพทย์. (ฝ. caf้ine).
  13. กายสิทธิ์ : ว. มีฤทธิ์เดชต่าง ๆ อยู่ในตัว. กายสุจริต [กายยะสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิด ในกาม ๑.
  14. กำราบ : [-หฺราบ] ก. ทําให้เข็ดหลาบ, ทําให้กลัว, ทําให้สิ้นพยศ, ทําให้สิ้นฤทธิ์.
  15. เกี่ยงตาย : ก. เลี่ยงไปทางตาย, ยอมตาย, เช่น หวั่นฤทธิ์คิดครั่นสงคราม จักยุทธพยายาม คือขวัญสกนธ์เกี่ยงตาย. (สรรพสิทธิ์).
  16. ขยาด : [ขะหฺยาด] ก. ครั่นคร้าม, กลัวเพราะเคยรู้ฤทธิ์มาแล้ว, เข็ดเพราะ เคยได้รับผลร้ายมาแล้ว.
  17. ครรชิต : [คันชิด] (แบบ) ก. คํารน, บันลือเสียง, เอิกเกริก, กึกก้อง, กระหึม, เช่น ครรชิตฤทธิ์ราวี. (ลอ). (ส. ครฺชิต; ป. คชฺชิต).
  18. คาร์บอลิก : น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้าง เชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียก คลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
  19. จตุรงคยมก : [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะ จังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  20. ดื้อยา : ก. ต้านทานฤทธิ์ยา (ใช้แก่เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส).
  21. ถอดเขี้ยวถอดเล็บ : (สํา) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิก แสดงฤทธิ์แสดงอํานาจอีกต่อไป.
  22. นวนิยาย : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครง เรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ เรื่อง สี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง.
  23. ปาฏิหาริย์ : [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
  24. ผีบุญ : น. ผู้อวดคุณวิเศษว่ามีฤทธิ์ทําได้ต่าง ๆ อย่างผีสางเทวดา ให้คนหลงเชื่อ.
  25. แผลงศร : ก. ยิงลูกธนูออกไปด้วยแรงแห่งฤทธิ์.
  26. เภสัชวิทยา : [เพสัดชะวิดทะยา, เพสัดวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ ว่าด้วยฤทธิ์ของยาหรือของสารที่มีต่อสิ่งมีชีวิต.
  27. มหิทธิ : [มะหิดทิ] ว. มีฤทธิ์มาก. (ป. มหา + อิทฺธิ).
  28. เมา : ก. เอาไปวางสุมไว้. ก. อาการที่มึนจนลืมตัวขาดสติเพราะฤทธิ์เหล้าฤทธิ์ยาเป็นต้น เช่น เมาเหล้า เมากัญชา, มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนเพราะโดยสารเรือ รถ เครื่องบิน เป็นต้น เช่น เมาเรือ เมารถ เมาเครื่องบิน, ลุ่มหลงจนลืมตัวเพราะมียศมีอำนาจ เป็นต้น เช่น เมายศ เมาอำนาจ.
  29. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  30. ยักษ์ : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดํา อํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งใน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดย ปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้า ยักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข).
  31. เรื่องสั้น : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่าโดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิก ความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช.
  32. เรือพิฆาต ๑ : น. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้า กระบวนเรือเสด็จทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์.
  33. ล้างยา : ก. ทำลายฤทธิ์ยา, ทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อม, โดยเชื่อกันว่าอาหาร หรือผลไม้บางอย่างเมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อมได้.
  34. วัคซีน : น. ผลิตผลที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกฆ่าหรือทํา ให้มีฤทธิ์อ่อนแรงจนไม่เป็นอันตราย สําหรับฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อ กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเกิดจากเชื้อนั้น ๆ. (อ. vaccine).
  35. วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  36. สร้าง ๑ : [ส้าง] ก. เนรมิต, บันดาลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยฤทธิ์อำนาจ, เช่น พระพรหมสร้างโลก, ทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน (ใช้ทั้ง ทางรูปธรรมและนามธรรม) เช่น สร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างศัตรู สร้างชื่อเสียง.
  37. หมดเขี้ยวหมดงา, หมดเขี้ยวหมดเล็บ : (สํา) ก. หมดอํานาจวาสนา, สิ้น ฤทธิ์, สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ก็ว่า.
  38. เหล้าแห้ง : (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็น ยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียม เซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็น ยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น.
  39. เหาะ : ก. เคลื่อนที่ไปในอากาศด้วยฤทธิ์.
  40. อภิญญา, อภิญญาณ : [อะพินยา, อะพินยาน] น. ''ความรู้ยิ่ง'' ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกําหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทําอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺ?า, อภิชฺ?าน).
  41. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  42. อานุภาพ, อานุภาวะ : น. อํานาจ, ฤทธิ์เดช, ความยิ่งใหญ่. (ป., ส.).
  43. อิทธิปาฏิหาริย์ : น. ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้น วิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ใน ปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. (ป.).
  44. แอลกอฮอล์ : น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหย ง่าย มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกัน สั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภท แป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะ ออกฤทธิ์ทําให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย และ เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. (อ. alcohol, ethyl alcohol).
  45. [1-44]

(0.0548 sec)