Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ละครร้อง, ละคร, ร้อง , then รอง, ร้อง, ละคร, ละครร้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ละครร้อง, 611 found, display 1-50
  1. ละครร้อง : น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจา ตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตาม สมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
  2. ร้อง : ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คํา แวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
  3. ละคร : [–คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวที หรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยาย หมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.
  4. ละครสังคีต : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบ ไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละคร พูดสลับลำ.
  5. ละครเพลง : น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกาย แบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่อง เปลวสุริยา.
  6. ละครดึกดำบรรพ์ : น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการ ตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยา อาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และ ใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะ งดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
  7. ละครรำ : น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดง บทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรี ปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.
  8. ร้องเพลง : ก. ขับลําเป็นทํานองต่าง ๆ, บางทีก็ใช้ว่า ร้อง คําเดียว.
  9. ละครใน : น. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.
  10. ร้องงอแง : ก. ร้องอ้อน (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ).
  11. ร้องฎีกา : ก. ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์.
  12. ร้องโยนยาว : ก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพาย เรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
  13. ร้องระเบ็งเซ็งแซ่ : ก. ร้องดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.
  14. ร้องเรือ : (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ก. ขับหรือกล่อมเพลงให้เด็กฟัง. น. เรียกเพลง กล่อมเด็กว่า เพลงร้องเรือ.
  15. ร้องแรก, ร้องแรกแหกกระเชอ : ก. ร้องเอ็ดตะโร, ส่งเสียงโวยวายให้ผู้อื่นรู้.
  16. ร้องส่ง : ก. ร้องเพลงให้เครื่องดนตรีรับ.
  17. ร้องสด : ก. ร้องโดยไม่มีดนตรีรับ, ร้องโดยคิดกลอนด้นหรือกลอนสด, ร้องออกอากาศทันที.
  18. ร้องห่ม : ก. ร้องรํ่าไรอย่างน้อยอกน้อยใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ร้องไห้ เป็น ร้องห่มร้องไห้ หรือ ร้องไห้ร้องห่ม.
  19. ร้องห่มร้องไห้ : ก. ร้องรํ่าไรอย่างน้อยอกน้อยใจ, ร้องไห้ร้องห่ม ก็ว่า.
  20. ละครแก้บน : น. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน.
  21. ละครชวนหัว : น. ละครพูดประเภทขำขัน.
  22. ละครชาตรี : น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
  23. ละครโทรทัศน์ : น. ละครพูดที่แสดงทางโทรทัศน์ มีการตกแต่งฉาก ให้เหมือนจริง.
  24. ละครนอก : น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
  25. ละครพันทาง : น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติ ต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
  26. ละครพูด : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำ ธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัย ที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำ กลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
  27. ละครพูดสลับลำ : น. ละครสังคีต.
  28. ละครย่อย : น. ละครชวนหัวเรื่องสั้น ๆ.
  29. ละครเร่ : น. ละครที่ออกไปแสดงตามที่ต่าง ๆ ไม่ได้แสดงประจำถิ่น.
  30. ละครลิง : น. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของ ผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.
  31. ละครเล็ก : น. ละครที่ใช้หุ่นใหญ่เชิดเป็นตัวละคร เช่น ละครเล็ก เรื่องพระอภัยมณี ละครเล็กเรื่องขุนช้างขุนแผน.
  32. ละครวิทยุ : น. ละครพูดที่แสดงทางวิทยุ มักมีเพลงประกอบ.
  33. ร้องกระจองอแง : ก. อาการที่เด็กหลาย ๆ คนร้องไห้พร้อม ๆ กัน.
  34. ร้องทุกข์ : ก. บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ.
  35. ร้องบอก : ก. เปล่งเสียงบอกให้รู้.
  36. ร้องเรียก : ก. เปล่งเสียงเรียกเพื่อให้มาหรือเพื่อมุ่งหมายอย่างอื่น.
  37. ร้องเรียกร้องหา : ก. ต้องการตัว.
  38. ร้องเรียน : ก. เสนอเรื่องราว.
  39. ร้องสอด : (กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาล ด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมาย เรียกให้เข้ามาในคดี.
  40. ละครสัตว์ : น. การแสดงของสัตว์ต่าง ๆ ที่ฝึกไว้ดีแล้ว โดยมีการ แสดงของคณะกายกรรมประกอบด้วย.
  41. กระเรียน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้า รับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้องตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลงกระเรียนทอง แล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี.
  42. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  43. จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
  44. ฉับฉ่ำ : (กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำ ที่ตำนานอนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
  45. ชะนี ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดํา และนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา, ชะนีมือดํา (H. agilis) สีดํา นํ้าตาล และเทา. ชะนีร่ายไม้ น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  46. บอกบท : ก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือ สั่งให้ทําสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.
  47. บังใบ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้ขับร้องประกอบการ แสดงโขนและละคร.
  48. มหาอุปรากร, อุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสําคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลง ผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากร ตัวละครทุกตัวจะร้องแทนพูด เนื้อเรื่องมีความจริงจัง หนักหน่วง ถือเป็นละครชั้นสูงของชาวตะวันตก. (อ. grand opera).
  49. ร่าย ๑ : น. ชื่อคําประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ;ทํานองร้องอย่างหนึ่งของละครรํา เรียกว่า ร้องร่าย.
  50. ลำ ๒ : น. เพลง, บทกลอน, เช่น ร้องส่งลำ ร้องแก้ลำ ละครพูดสลับลำ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-611

(0.1646 sec)