บ้าน : น. ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสําหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน, หมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, ถิ่นที่มีมนุษย์อยู่ เช่น สร้างเป็นบ้านเป็น เมือง; (กฎ) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสําหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายความรวมถึงแพหรือเรือซึ่งจอด เป็นประจําและใช้เป็นที่อยู่ประจํา หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่น ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจําได้ด้วย. ว. ที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น หนูบ้าน คู่กับ หนูนา หรือที่เลี้ยงไว้ เช่น หมูบ้าน คู่กับ หมูป่า.
ละแวก ๒ : น. เขตบริเวณ เช่น ละแวกบ้าน.
ละแวก ๑ : น. เขมรชาวกรุงละแวก.
บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน : (สํา) น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน. บ้านจัดสรร น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชําระก็ได้.
บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ : น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง.
บ้านแตกสาแหรกขาด : (สํา) น. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือในบ้านเมืองอย่างร้ายแรงถึงทําให้ต้องกระจัดกระจายพลัด พรากกัน.
บ้านนอก : น. เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป, เขตที่อยู่นอก ตัวเมือง. ว. ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ, บ้านนอกขอกนา หรือ บ้านนอกคอกนา ก็ว่า.
บ้านนอกขอกนา : (สํา) น. เรียกคนที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่นอกกรุง หรือเมืองหลวงว่า คนบ้านนอกขอกนา, บ้านนอก หรือ บ้านนอก คอกนา ก็ว่า.
บ้านนอกคอกนา : (สำ) น. บ้านนอกขอกนา.
บ้านพัก : น. บ้านที่ทางราชการหรือองค์การต่าง ๆ สร้างขึ้นให้เป็น ที่อยู่ชั่วคราวของเจ้าหน้าที่.
บ้านเมืองมีขื่อมีแป : (สํา) น. บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมาย คุ้มครอง เช่น ถ้าบ้านเมืองมีขื่อมีแป คงไม่ทํากับอ้ายแก่เช่นนี้ได้. (เสภาพญาราชวังสัน), มักใช้ในเชิงปฏิเสธว่า บ้านเมือง ไม่มีขื่อ ไม่มีแป.
บ้านรับรอง : น. บ้านที่สร้างไว้สําหรับรับรองแขก.
บ้านเรือน : น. บ้านที่อยู่อาศัย.
บ้านเกิดเมืองนอน : น. ประเทศหรือถิ่นซึ่งเป็นที่เกิด.
บ้านเมือง : น. ประเทศชาติ.
กลางบ้าน : ว. ใช้เรียกยาเกร็ดที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเองว่า ยากลางบ้าน.
กินบ้านกินเมือง : ก. ตื่นสายมาก ในความว่า นอนกินบ้านกินเมือง; (ปาก) ฉ้อราษฎร์บังหลวง.
แก่บ้าน : (ถิ่น-พายัพ) น. ผู้ใหญ่บ้าน, นายบ้าน.
ไก่บ้าน : น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมี สีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม การคัดและผสมพันธุ์ทำให้มี สายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้ตามบ้านเพื่อเป็นอาหาร.
ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
คู่บ้านคู่เมือง : ว. ที่เป็นของประจําบ้านเมืองหรือที่มีมาพร้อมกับบ้านเมือง ถือว่าเป็นของที่มีค่ามาก เช่น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง.
เจ้าบ้าน : (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็น เจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน : (สํา) ก. นําศัตรูเข้าบ้าน.
ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน : (สํา) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ ทําไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
ทะเบียนบ้าน : (กฎ) น. ทะเบียนประจําบ้านแต่ละบ้านซึ่งแสดงเลข ประจําบ้านและรายการของคนทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน.
นิเวศ, นิเวศ, นิเวศน์ : [นิเวด, นิเวดสะ] (แบบ) น. ที่อยู่, บ้าน, วัง. (ส.; ป. นิเวสน).
ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย, ผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย : (สํา) น. คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทําความเสียหายได้.
พื้นบ้าน : ว. เฉพาะถิ่น เช่น ของพื้นบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ พื้นเมือง เป็น พื้นบ้านพื้นเมือง.
เพื่อนบ้าน : น. ผู้มีบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกัน.
แม่บ้าน : น. ภรรยาของพ่อบ้าน, หญิงผู้จัดการงานในบ้านเป็นต้น, หญิงผู้จัดการงานธุรการในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น, คู่กับ พ่อบ้าน.
ยาสามัญประจำบ้าน : (กฎ) น. ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน.
ลูกบ้าน : น. ชาวบ้านที่อยู่ในปกครองของนายบ้าน ซึ่งในปัจจุบัน ได้แก่ กํานันและผู้ใหญ่บ้านหรือนายอําเภอแล้วแต่กรณี.
วสนะ ๑ : [วะสะ] (แบบ) น. ที่อยู่, บ้าน; การอยู่. (ป.).
ศิลปะพื้นบ้าน : น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัว หรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้ พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.
หลักบ้านหลักเมือง : (ปาก) น. ผู้เป็นใหญ่ในการปกครองบ้านเมือง.
หลังบ้าน : (ปาก) น. ภรรยาของผู้มีอำนาจในวงราชการบ้านเมือง.
ลวก : ก. กิริยาที่ของเหลวหรือไอที่ร้อนจัดหรือไฟมากระทบ เช่น ไฟลวก น้ำร้อนลวก ถูกไอน้ำเดือดลวก, กิริยาที่ถูกน้ำร้อน ไอร้อน หรือไฟ พลุ่งมากระทบผิวเช่น หม้อน้ำระเบิด น้ำร้อนพลุ่งมาลวกทำให้พอง ไปทั้งตัว ไฟพลุ่งมาลวกเนื้อลวกตัว, รดหรือแช่ด้วยน้ำร้อน เช่น เอา น้ำร้อนมาลวกผัก ลวกผ้าหรือลวกชาม. ว. เรียกสิ่งที่รดหรือแช่ด้วย น้ำร้อน เช่น ไข่ลวก ผักลวก สะเดาลวก.
กินบ้านผ่านเมือง : (โบ) ก. ครองเมือง.
ขายบ้านขายเมือง : ก. ขายชาติ.
ถือบ้านถือเมือง : ก. ครองเมือง.
ทำการบ้าน : ก. ทํางานหรือทําแบบฝึกหัดตามที่ครูอาจารย์สั่งให้ทํา นอกเวลาเรียน.
เทียน ๒, เทียนบ้าน : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Impatiens balsamina L. ในวงศ์ Balsaminaceae ลําต้นอวบ ดอกมีสีต่าง ๆ กัน เช่น ขาว ชมพู ม่วง.
นอนกินบ้านกินเมือง : (สำ) ก. นอนตื่นสายด้วยความเกียจคร้าน (ใช้เป็น คำประชด).
ปล้นบ้านปล้นเมือง : (สำ) ก. โกงกินทรัพย์สมบัติของชาติ.
ผู้ใหญ่บ้าน : (กฎ) น. ตําแหน่งผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ ปกครองบรรดาราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน.
พ่อบ้าน : น. ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว, ชายผู้จัดการงานธุรการ ในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น.
มะกอกบ้าน, มะกอกป่า : ดู มะกอก.
รถบ้าน : (ปาก) น. รถส่วนบุคคล.
หัวบ้านท้ายบ้าน : ว. ทั่วทั้งหมู่บ้าน.