Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลั่น , then ลน, ลั่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ลั่น, 99 found, display 1-50
  1. ลั่น : ก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือ ทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.
  2. ลั่นถัน : (โบ) น. งิ้วประเภทหนึ่ง, งิ้ว; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง เรียกว่า จีนลั่นถัน.
  3. ลั่นกุญแจ : ก. ใส่กุญแจ.
  4. ลั่นฆ้อง : ก. ตีฆ้อง.
  5. ลั่นดาล : ก. ลงสลัก, ขัดกลอน.
  6. ลั่นปาก, ลั่นวาจา : ก. ให้คํามั่น.
  7. ลักลั่น : ว. ขาดความเป็นระเบียบทําให้เกิดเหลื่อมลํ้าไม่เป็นไปตาม กฎตามแบบตามลําดับเป็นต้น เช่น ทำงานลักลั่น เครื่องใช้ต่างชุด ต่างสำรับใช้ปนกันดูลักลั่น.
  8. ลือลั่น : ก. โด่งดังมาก เช่น ได้ยินเสียงลือลั่น.
  9. ลน : ก. อังไฟเพื่อให้ร้อนแต่ผิว ๆ หรือให้อ่อนเป็นต้น เช่น เอาขี้ผึ้งลนไฟ เอาไม้ลนไฟให้อ่อน; วิ่ง, อยู่นิ่งไม่ได้, มักใช้ประกอบคําอื่นว่า
  10. กระหยับ : (กลอน) ก. ขยับ เช่น มือถือธนูกระหยับลั่น. (รามเกียรติ์ ร. ๑; ไกรทอง; สรรพสิทธิ์). (แผลงมาจาก ขยับ).
  11. ลั่น : [กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สําคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นน้ำ, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.
  12. การกลั่นทำลาย : น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์ โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทําลาย ขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทําลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. (อ. destructive distillation).
  13. กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
  14. ไก ๑ : น. ที่สําหรับเหนี่ยวให้ลูกกระสุนเป็นต้นลั่นออกไป เช่น ไกปืน ไกหน้าไม้.
  15. ครืน ๒ : [คฺรืน] ว. เสียงดังลั่นเช่นฟ้าร้อง.
  16. คฤโฆษ : [คะรึโคด] (กลอน) ก. กึกก้อง, ดังลั่น, เช่น คฤโฆษกลองฆ้องเคล้า คลี่ดูริย. (ยวนพ่าย).
  17. คะนอง : ก. แสดงอาการร่าเริง, คึก, ลําพอง; พูดหรือทําเกินขอบเขต เช่น คะนองปาก คะนองมือ; เรียกอาการของฟ้าที่มีเสียงลั่นเปรี้ยง ๆ ว่า ฟ้าคะนอง.
  18. จะปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม.); แผ่นโลหะที่ติดฝาหีบ สําหรับลั่นกุญแจ, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น จะปิ้งหูกลอง จะปิ้งห่วงประตู.
  19. จั่นห้าว : น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียว กับหน้าไม้ก็ได้.
  20. จีน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า จีน เช่น จีนขวัญอ่อน จีนลั่นถัน จีนขิมเล็ก.
  21. ชันสน : น. ของแข็งลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอําพัน ได้จาก การกลั่นยางสน. (ดู ยางสน ที่ ยาง๓ประกอบ).
  22. ดาล ๑ : น. กลอนประตูที่ทําด้วยไม้สําหรับขัดบานประตูอย่างประตูโบสถ์ เช่น ลงดาล ลั่นดาล ขัดดาล, เหล็กสําหรับไขดาล มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่าง คันฉัตรหลังพระพุทธรูป เรียกว่า ลูกดาล, ช่องสําหรับไขดาล เรียกว่า ช่องดาล, (โบ) ใช้ว่า ดาฬ.
  23. ดีด ๒, ดีดขัน ๑ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Elateridae ลําตัวยาว แบน เล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดํา นํ้าตาล หรือเทาปลอด บางชนิดมีจุด เป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่ง ยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทําให้สามารถดีดตัว กลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น.
  24. เถกิง : [ถะเกิง] ว. สูงศักดิ์, รุ่งเรือง, กึกก้อง, ลั่นลือ, ใช้แผลงเป็น ดําเกิง ก็มี. (ข. เถฺกีง).
  25. ทะลักทะแลง : ก. ลักลั่นกัน, ไม่เป็นระเบียบ.
  26. นก ๒ : น. เครื่องสับแก๊ปปืนให้ลั่น.
  27. นท : [นด] (แบบ) น. ผู้บันลือ, ผู้ร้อง, ผู้ลั่น; แม่นํ้า, ลํานํ้า, เช่น ชมพูนท (แปลว่าเกิดในแม่น้ำชมพูนที คือ ทองคำบริสุทธิ์). (ป., ส.).
  28. น้ำมันดิน : น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดํา ได้จากการกลั่นทําลาย ไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อ นําไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ อีกมาก.
  29. น้ำมันสน : น. นํ้ามันระเหยง่ายที่ได้จากการกลั่นยางสนเขา.
  30. ปิหลั่น : [-หฺลั่น] น. ค่ายที่ทําให้ขยับรุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ, วิหลั่น ก็ว่า.
  31. เปรี้ยง : [เปฺรี้ยง] ว. เสียงดังลั่นอย่างเสียงฟ้าผ่า; จัด, กล้า, (ใช้แก่แดด) ในคําว่า แดดเปรี้ยง.
  32. เปรียะ, เปรี๊ยะ : [เปฺรียะ, เปฺรี๊ยะ] ว. เสียงที่เกิดจากสิ่งของที่แตกหรือขาดเป็นต้น ซึ่งมีเสียงดังเช่นนั้นอย่างแก้วแตก; อาการที่แก้วหูลั่นเพราะขึ้นไป บนที่สูง ๆ เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า คล่องไม่ติดขัด เช่น พูดเปรี๊ยะ, มากเกินไป เช่น ตึงเปรี๊ยะ.
  33. เผาะ ๑, เผาะ ๆ : ว. เปราะ; เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหักไม้เปราะ เช่น ข้อเท้าข้อมือ ลั่นเผาะ น้ำตาร่วงเผาะ ๆ.
  34. พาราฟิน : (เคมี) น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งมีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 1, 2, 3, … ในปัจจุบันเรียกสารประกอบประเภทนี้ว่า อัลเคน (alkane). (อ. paraffin); ชื่อนํ้ามันประเภทหนึ่ง ซึ่งมีขีดเดือดอยู่ ระหว่าง ๒๐๐?๓๐๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่ง มีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 1216 ได้มาจากการนํานํ้ามันปิโตรเลียม มากลั่น ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงได้, นํ้ามันก๊าด ก็เรียก. (อ. paraffin oil); ชื่อของแข็งประเภทหนึ่ง ลักษณะสีขาวโปร่งแสง หลอมละลาย ระหว่าง ๕๐?๖๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 2030 ใช้ประโยชน์ทําเทียนไข กระดาษไข ยาขัด เป็นต้น. (อ. paraffin wax).
  35. ฟ้าคะนอง : น. ฟ้าลั่นติดต่อกัน.
  36. แม่กุญแจ : น. ลูกกุญแจที่ไขตัวกุญแจชนิดเดียวกันได้ทั่วไป. (อ. master key); ตัวกุญแจ คือ เครื่องลั่นประตูหรือหีบ มีลูกกุญแจสำหรับไข.
  37. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  38. ยางมะตอย : น. สารผสมประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนมากชนิด และสารอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า สารบิทูเมน ลักษณะเป็น ของเหลวข้นหนืด หรือเป็นกึ่งของแข็ง สีดํา หรือสีนํ้าตาลแก่แกมดํา เกิดตามธรรมชาติ และเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้ประโยชน์ราดทําผิวถนนหรือใช้ผสมกับหินขนาดเล็กทําพื้นถนนได้, แอสฟัลต์ ก็เรียก.
  39. ลูกเห็บ : น. เม็ดนํ้าแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ แล้วตกลงมา.
  40. สนั่น : [สะหฺนั่น] ว. กึกก้อง, ดังลั่น, ดังมาก, เช่น ฟ้าผ่าเสียงดังสนั่น.
  41. สะท้าน : ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือน จะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง.
  42. หินติดไฟ : น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีน้ำตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารน้ำมันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นำมากลั่นเอาน้ำมัน เชื้อเพลิงออกได้, หินน้ำมัน ก็เรียก.
  43. หินน้ำมัน : น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารนํ้ามันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นํามากลั่นเอานํ้ามัน เชื้อเพลิงออกได้, หินติดไฟ ก็เรียก.
  44. เห็บ ๒ : น. เม็ดนํ้าแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศแล้วตกลงมา เรียกว่า ลูกเห็บ.
  45. อึงอล : ว. ดังลั่น เช่น เสียงคลื่นลมอึงอล.
  46. อื้ออึง : ว. สนั่น, ดังลั่น, เอิกเกริก.
  47. เอ็ดตะโร : ก. ทําเสียงอึกทึกครึกโครม, ดุด้วยเสียงดังลั่น. ว. อึกทึกครึกโครม.
  48. ตะแหลนแป๋น : [-แหฺลน-] ว. ใช้ประกอบคํา แบน หมายความว่า แบนผิดส่วน.
  49. ละลนละลาน : ว. ลนลาน เช่น ถูกดุเสียจนละลนละลาน.
  50. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-99

(0.0530 sec)