ลา ๒ : น. เรียกการจบหรือสิ้นสุดลงระยะหนึ่ง ๆ ของพิธีบางอย่างว่า ลาหนึ่ง ๆ เช่น โห่ ๓ ลา ยํ่าฆ้อง ๓ ลา.
ลา ๓ : ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คําพูด หรือด้วย หนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
ลา ๔ : ว. เตี้ย เช่น เกยลา กี๋ลา เตียงลา แท่นลา.
ลา ๕ : ว. มีกลีบชั้นเดียว, ไม่ซ้อน, (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น มะลิลา พุดลา รักลา.
ลา ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus asinus ในวงศ์ Equidae ซึ่ง เป็นวงศ์เดียวกับม้า รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหาง เป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา.
ร่ำลา : ก. อำลา, ลา, ล่ำลา ก็ว่า.
ลาบวช : ก. นำดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาผู้ใหญ่ที่นับถือเพื่อลา ไปบวช.
ลาสิกขา : ก. ลาสึก, ลาจากเพศสมณะ.
ลาออก : ก. ขออนุญาตให้พ้นจากสภาพที่ดำรงอยู่ เช่น ลาออกจาก การเป็นกรรมการ นักเรียนลาออกจากโรงเรียน.
ลาข้าวพระ : ก. ทําพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสํารับพระพุทธ โดยยกมือ ประนมกล่าวคําว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสํารับออกมา.
ลาพรรษา : (ปาก) ก. ออกพรรษา.
ลาลด : ก. ลาลส.
ลาลับ : ก. จากไปโดยไม่กลับมาอีก.
ลพุช, ลาพุช : [ละพุด, ลาพุด] น. มะหาด. (ป.).
กระลาพิม : น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล).
ตะยองสะลา : น. งูบ้องตะลา.
บรรพตกีลา : (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. ปรฺวต + กีลา).
บ้องตะลา : น. งูชนิดหนึ่ง, ตะยองสะลา ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓).
มัย ๑ : น. ม้า, ลา, อูฐ. (ป., ส. มย).
ลาช, ลาชะ, ลาชา : [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
ล่ำลา : ก. อําลา, ลา, ร่ำลา ก็ว่า.
เลี้ยงลา : ก. เลี้ยงอาหารเป็นการอำลาของผู้ที่จะจากไป เช่น นายแดง เลี้ยงลาเพื่อน ๆ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น.
สั่งลา : ก. บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น เขาสั่งลาลูกเมียก่อน เดินทางไปต่างประเทศ เขาตายโดยไม่ได้สั่งลา.
สัมผัปลาป, สัมผัปลาปะ : [สําผับปะลาบ, ปะลาปะ] น. คําพูดเพ้อเจ้อ. (ป. สมฺผปฺปลาป; ส. สมฺปฺรลาป).
สัมพหุลา : (ปาก) ว. รวมปะปนกันหลาย ๆ อย่าง เช่น งานสัมพหุลาเต็มไปหมด ทำไม่ไหวหรอก, สรรพหุลา ก็ว่า. (ป.).
ประกันเชิงลา : (โบ) ก. ประกันตัวออกมาจากที่คุมขังได้เป็นคราว ๆ คราวละ ๓ วัน หรือ ๗ วัน.
เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
กมลาสน์ : [กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).
ตระลาการ : [ตฺระ-] (โบ) น. ตําแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชําระเอาความเท็จจริง.
ทุตวิลัมพิตมาลา : [ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.
เปิดหมวกลา : ก. เลิกรา, ไม่ทําต่อไปอีกแล้ว.
พาล ๒, พาลา : (กลอน) ว. อ่อน, เด็ก, รุ่น. (ส., ป.); ชั่วร้าย, เกเร, เกะกะ, เช่น คนพาล. ก. หาเรื่องทำให้วุ่นวาย, หาเรื่องทำให้เดือดร้อน, เช่น พาลหาเรื่อง พาลหาเหตุ. น. คนชั่วร้าย, คนเกเร, เช่น คบคนพาล พาลพาไปหาผิด. (ป.).
มล่าวเมลา : [มะล่าวมะเลา] (กลอน) ว. งดงาม, สวย.
ล : พยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน อย่างตัว น ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล.
ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
ลาเพ, ลาเพา : (กลอน) ก. เล้าโลม, โลม.
ลินลา, ลิ้นลา : ก. ไปอย่างนวยนาด. (เพี้ยนมาจาก ป., ส. ลีลา).
ลุกลา : ม ก. แผ่กว้างออกไปโดยเร็ว เช่น ไฟลุกลามไปอย่างรวดเร็ว.
เหลาหลก : [เหฺลาหฺลก] น. ชื่อหมากชนิดหนึ่งเปลือกอ่อน. (พจน. ๒๔๙๓).
ฬ : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
เหลา ๑ : [เห-ลา] น. ความหมิ่น; ความสนุก; การเล่น, การกีฬา; การหยอกเอิน; ความสะดวกสบาย. (ส.).
ลาลนะ : [ลาละ] น. การเคล้าคลึง, การยั่วเย้า, การเล้าโลม. (ส.).
โกวิฬาร : [-ลาระ] (แบบ) น. ไม้ทองหลาง. (ป.).
พิลาลส : [ลาลด] ก. อยาก, กระหาย, เร่าร้อน; เศร้าโศก, เสียใจ; เขียนว่า พิลาลด หรือ พิลาลศ ก็มี. (ส. วิ + ลาลส).
ลาป ๑ : [ลาปะ, ลาบ] น. นกมูลไถ. (ป.).
ลาป ๒ : [ลาปะ, ลาบ] น. การพูด, การออกเสียง. (ป., ส.).
ลาลศ : [ลาลด] ก. ลาลส.
ลาลส : [ลาลด] ก. อยาก, กระหาย; เศร้าโศก, เสียใจ, เขียนว่า ลาลด หรือ ลาลศ ก็มี. (ป., ส. ลาลสา).
ลาสนะ : [ลาสะ] น. การฟ้อนรํา, การเต้นรํา. (ป., ส.).