ลือ : ก. พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน เช่น เขาลือว่า จะเกิดเหตุที่ท่าน้ำ, (โบราณ ใช้ ฦๅ). (ข.). ลือชา, ลือชาปรากฏ
ลือลั่น : ก. โด่งดังมาก เช่น ได้ยินเสียงลือลั่น.
ลือชื่อ : ว. มีชื่อโด่งดัง.
ลึกลือ : ว. ลึกมาก, ไกลมาก, เช่น เก็บของในที่ลึกลือ จอดรถในที่ ลึกลือ.
เล่าลือ : ก. แพร่ข่าวกันแซ่ เช่น เขาเล่าลือกันว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่.
เลื่องลือ : ก. รู้กันกระฉ่อนทั่วไป เช่น ชื่อเสียงเลื่องลือ ความสามารถ เป็นที่เลื่องลือ.
เกลือยูเรต : น. เกลือของกรดยูริก.
ข่าวลือ : น. ข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน.
ฦ, ฦๅ ๑ : วิธีเขียนเสียง ลึ ลือ แต่บัญญัติเขียนเป็นอีกรูปหนึ่งต่างหาก อนุโลมตามอักขรวิธี ของสันสกฤต.
ฦๅ ๒ : (โบ) ก. ลือ.
กระลับกระเลือก : [-เหฺลือก] ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), (โบ) กลับเกลือก.
กระเลือก : [-เหฺลือก] (กลอน; แผลงมาจาก เกลือก) ก. เหลือก, ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ เป็น กระลับกระเลือก.
กำธร : [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
กิดาการ : น. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ. (ตะเลงพ่าย). (ป. กิตฺติ + อาการ).
กิตติ : [กิดติ] น. คําเล่าลือ, คําสรรเสริญ. (ป.).
กิตติคุณ : น. คุณที่เลื่องลือ.
กิตติศัพท์ : น. เสียงเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, เสียงยกย่อง. (ป. กิตฺติ = สรรเสริญ, ยกย่อง + ส. ศพฺท = เสียง).
กิระ : ว. เล่าลือ เช่น คํากิระ หมายความว่า คําเล่าลือ. (ป.).
เกริก : [เกฺริก] ว. กึกก้อง, ดังสนั่น, เลื่องลือ, ยิ่ง.
เกลือ : [เกฺลือ] น. วัตถุที่มีรสเค็ม ใช้ประกอบอาหารเป็นต้น โดยทั่วไป ได้มาจากน้ำทะเล, เกลือสมุทร ก็เรียก; (วิทยา) สารประกอบซึ่ง ประกอบด้วยโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะกับอนุมูลกรด.
เกลือก ๑ : [เกฺลือก] ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา. เกลือกกลั้ว ก. คบหาสมาคม, คลุกคลี, เช่น เกลือกกลั้วกับคนพาล; ทําให้มัวหมอง, ทําให้มีมลทิน, เช่น ไม่มีอะไรมาเกลือกกลั้ว. เกลือกกลิ้ง ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้หรือด้วย ความทุกข์ทรมาน เช่น นอนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.
เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
เกาต์ : น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไป เป็นผลให้เกิดการตกตะกอนเป็นเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อบริเวณข้อ เช่น ที่ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อเท้า หรือ บริเวณอวัยวะอื่น ทําให้มี อาการบวมและปวด. (อ. gout).
เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ : [เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).
เกียรติคุณ : [เกียดติคุน] น. คุณที่เลื่องลือ, ชื่อเสียงโดยคุณงามความดี.
เกียรติประวัติ : [เกียดติปฺระหฺวัด, เกียดปฺระหฺวัด] น. ประวัติที่ได้รับความสรรเสริญ, ประวัติที่เลื่องลือ.
ข้างเงิน : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก.
ข่าว : น. คําบอกเล่าเรื่องราวซึ่งโดยปรกติมักเป็นเรื่องเกิดใหม่หรือ เป็นที่สนใจ, คําบอกกล่าว, คําเล่าลือ.
ขึ้นชื่อ : ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ; ยกขึ้นมาอ้าง เช่น อย่ามาขึ้นชื่อฉัน.
ไข่เหี้ย : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่ง ผัดกับพริกไทย เกลือกนํ้าตาลจนแห้งลักษณะกลมอย่างไข่เหี้ย, ไข่หงส์ ก็ว่า.
ครึกโครม : [คฺรึกโคฺรม] ว. อึกทึก, อื้ออึง, ชวนให้ตื่นเต้น, เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย.
เคย ๑, เคอย : [เคย] น. ชื่อสัตว์ทะเลหลายชนิดหลายสกุล มี ๒ วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Mysidae เช่น เคยตาดํา (Mesopodopsis orientalis) ในอันดับ Mysidacea และวงศ์ Sergestidae เช่น เคยตาแดง (Acetes erythraeus) ในอันดับ Decapoda ของชั้น Crustacea รูปร่างคล้ายกุ้งแต่ตัวเล็กมาก ขนาดยาว ไม่เกิน ๓.๔ เซนติเมตร มีหนวด ๒ แฉก ลําตัวใสหรือขุ่น ทุกชนิดเนื้อยุ่ย เหมาะสําหรับใช้หมักเกลือทํากะปิและนํ้าเคย.
เคลือบ : [เคฺลือบ] ก. ไล้ ทา หรือพอกผิวเดิมด้วยของเหลวบางชนิด แล้วทิ้งไว้ ให้เย็นจนแข็งตัว เช่น เคลือบนํ้าตาล เคลือบยาพิษ, ทาผิวนอกด้วย นํ้ายาเคมีแล้วใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาเกาะแน่น, เรียกสิ่งที่เคลือบโดย กรรมวิธีเช่นนั้น ว่า เครื่องเคลือบ; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ค ล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปากเคลือบนํ้าตาล.
จรรโจษ : [จันโจด] ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า.
จรส : [จะหฺรด] ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
จันโจษ : ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี.
โจษจน, โจษแจ : (กลอน) ก. พูดอึง, เล่าลือกันอื้ออึง.
โจษ, โจษจัน : [โจด, โจดจัน] ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ หรือ จันโจษ ก็ใช้.
ฉ่าฉาว : ว. เกรียวกราว, เลื่องลือ, อื้ออึง.
ชวัก : [ชะ] (กลอน) ก. ชัก เช่น เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม พระราม พระลักษณชวักอร. (แช่งน้ำ).
เชวง : [ชะเวง] (กลอน) ก. รุ่งเรือง, เลื่องลือ. (ข. เฌฺวง ว่า ปรีชารุ่งเรือง).
ดำแคง : ก. เลื่องลือ, ระบือไป, ดังสนั่น. (ข. แถฺกง).
ดำเลิง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก เถลิง) ก. ขึ้น, ทําให้เลื่องลือ, เช่น ควันดําเลิง แลเห็นไกล. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
เด : ว. มาก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เหลือ ว่า เหลือเด คือ เหลือมาก ๆ.
โด่งดัง : ว. แพร่สนั่นไป, เป็นที่เลื่องลือ.
ตด ๒ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Pherosophus, Brachinus ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็งคลุมส่วนท้องไม่หมด ลําตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร ท้องกว้าง ๕-๘ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลอมเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้มตาม หัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษประเภท ควินอลออกมาทางก้นได้ ที่สําคัญได้แก่ ชนิด P. siamensis, P. occipitalis และ P. javanus, พายัพเรียก ขี้ตด.
ถั่วเหลือง : น. ชื่อถั่วชนิด Glycine max Merr. ในวงศ์ Leguminosae ฝักเป็นขน เมล็ดสีเหลืองให้นํ้ามัน, ถั่วแม่ตาย หรือ ถั่วแระ ก็เรียก.
เถกิง : [ถะเกิง] ว. สูงศักดิ์, รุ่งเรือง, กึกก้อง, ลั่นลือ, ใช้แผลงเป็น ดําเกิง ก็มี. (ข. เถฺกีง).
เถลือกถลน : [ถะเหฺลือกถะหฺลน] ว. ลุกลน, ลนลาน, รีบร้อนจนขาดความระมัดระวัง, ถลีถลํา ก็ว่า.
แทน : ก. สนอง เช่น แทนคุณ. ว. ต่าง เช่น เอาเกลือแทนนํ้าปลา, อาการที่ บุคคลหนึ่งทําหน้าที่ในฐานะของอีกบุคคลหนึ่ง เช่น รักษาการแทน ทําแทน ไปแทน.''