ลุง ๑ : น. พี่ชายของพ่อหรือแม่ หรือชายที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อหรือแม่, คําเรียกชายที่ไม่รู้จักแต่มักจะมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่.
ลุง ๒ : ดู กร่าง.
จระลุง, จะลุง : [จะระ-] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย).
จะลุง : น. เสาตะลุง, ในบทกลอนใช้ จระลุง ก็มี.
ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
คุณลุงคุณป้า : น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง. (บทแผ่นเสียง).
มาตุลุงค์ : น. มะงั่ว. (ป.).
กร่าง : [กฺร่าง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Ficus altissima Blume ในวงศ์ Moraceae เปลือกเรียบสีเทา ใบกว้างหนารูปไข่ ปลายมน ไม่มีขน ผลกลม เมื่อสุกสีส้มออกแดง, ลุง ฮ่างหลวง หรือ ไทรทอง ก็เรียก. (ปาก) ว. อาการที่ทำท่าทางหรือพูดจาวางโต เช่น เขาชอบทำกร่างอยู่เรื่อย.
ทายาทโดยธรรม : (กฎ) น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดก ของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา เดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลําดับที่กฎหมาย กําหนดไว้.
มาตุละ : น. ลุง (ญาติฝ่ายแม่), น้าชาย, ใช้ มาตุลา ก็มี. (ป., ส.).
กลูน, กลูน์ : [กะลูน, กะลู] (แบบ) ก. กรุณา เช่นทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูร ยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์. (สมุทรโฆษ). ว. น่าสงสาร เช่น สลดกลูน์ลุงทรวง. (สุธน). (ป.).
กว้า : [กฺว้า] (โบ) ว. หรือ, อะไร, ทําไม, เป็นไร, บ้างซิ, บ้างเถิด, ว้า, หวามใจ, เช่น ในรลุงนาภี พรั่นกว้า. (ทวาทศมาส).
กำลุง : (แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กําลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).
เขย : น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็นผัวของ ลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย.
จราก : [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่า ขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
จาว ๔ : น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยาย หมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
บิตุละ, บิตุลา : (แบบ) น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป. ปิตุล).
ปิตุละ, ปิตุลา : น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป.).
ผลุง : [ผฺลุง] ว. อาการที่ทิ้งหรือปาสิ่งของไปโดยเร็ว เช่น ทิ้งผลุง, อาการที่กระโดดไปโดยเร็วในคำว่า โดดผลุง, เสียงอย่างเสียง ของหนักตกนํ้า.
มัตถลุงค์ : [มัดถะลุง] น. มันสมอง. (ป.).
ร่วมสมัย : ว. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ศิลปะร่วมสมัย; รุ่นราวคราวเดียวกัน, สมัยเดียวกัน, เช่น ลุงกับพ่อเป็นคนร่วมสมัยกัน.
ลูกผู้พี่ : น. ญาติที่เป็นลูกของลุงหรือป้า.
ลูกพี่ลูกน้อง : น. ญาติที่เป็นลูกของลุง ป้า น้า หรืออา.
สะใภ้ : น. หญิงที่มาแต่งงานกับญาติผู้ชาย, เมียของญาติ, เช่น ถ้าเป็นเมียของ ลูกชาย เรียก ลูกสะใภ้ ถ้าเป็นเมียของลุง เรียก ป้าสะใภ้, (ปาก) ตะใภ้.
ลงสมุก : [ลงสะหฺมุก] ก. ใช้ดินหรือถ่านใบตองแห้งเป็นต้นป่น เป็นผงผสมกับยางรักให้เหนียว ทาทับบนพื้นวัตถุเพื่อเตรียมผิว ให้แน่นและเรียบ.
ลงกระหม่อม : ก. ลงยันต์บนกระหม่อม แล้วเสกเป่าให้อยู่ยง คงกระพันเป็นต้น.
ลงโกศ : ก. บรรจุศพลงในโกศ, เข้าโกศ ก็ว่า.
ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
ลงคะแนน : ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน.
ลงจอบ : ก. ใช้จอบขุดดิน, ลงจอบลงเสียม ก็ว่า.
ลงดาบ : ก. ประหารชีวิตด้วยการใช้ดาบฟันคอให้ขาด เช่น เพชฌฆาตลงดาบนักโทษ.
ลงถม : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ถมยา ก็เรียก.
ลงถมยาสี : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลาย ในเครื่องเงินแล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสี ต่าง ๆ, เรียกสั้น ๆ ว่า ลงยา.
ลงทะเบียน : ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อ รายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อ แสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑.
ลงนะหน้าทอง : ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและ ปิดทองแล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้ เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.
ลงโบสถ์ : ก. ลงอุโบสถ; โดยปริยายหมายความว่า เข้ากันได้ (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น นาย ก กับ นาย ข ไม่ลงโบสถ์กัน.
ลงพระบังคน : (ราชา) ก. ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ, ถ้าถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า ลงพระบังคนเบา, ถ้าถ่ายอุจจาระ เรียกว่า ลงพระบังคนหนัก.
ลงมติ : ก. ลงความเห็นร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ลงเลขลงยันต์ : ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็น ตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
ลงศอก : ก. เอาศอกกระทุ้งลง เช่น นักมวยลงศอกคู่ต่อสู้; ใช้ศอก ยันลงกับพื้นเพื่อพยุงตัวขณะหมอบ.
ลงสนาม : ก. ลงแข่งขัน, ลงประลองความสามารถ, เช่น ฟุตบอล รอบนี้ไทยลงสนามกับเกาหลี ลงสนามบอกสักวา.
ลงหัว : ก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ ในความปฏิเสธ เช่นไม่ยอมลงหัวให้ใคร.
ลงอุโบสถ : ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.
ลงเข็ม : ก. ตอกเสาเข็มเพื่อฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, ตอกเข็ม ก็ว่า.
ลงความเห็น : ก. มีความเห็นร่วมกัน.
ลงทัณฑ์ : (กฎ) ก. ลงโทษผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือวินัยตำรวจ.
ลงนาม : ก. ลงชื่อ.
ลงเนื้อเห็นด้วย : ก. เห็นพ้องด้วย.
ลงปฏัก, ลงประตัก : ก. แทงด้วยประตัก (ใช้แก่วัวควาย), โดยปริยายหมายความว่า ทำโทษหรือดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น เพื่อให้หลาบจำ.