ล่ม : ก. กิริยาที่ทรงตัวไม่อยู่ เอียงจนตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น เรือล่ม เกวียนล่ม, ทำให้ตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น ล่มเรือ; ได้รับความ เสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม โป๊ะล่ม; ไม่สำเร็จ, ไม่รอดฝั่ง, เช่น โครงการล่ม.
ล่มสลาย : ก. สูญเสียสภาพเดิมแล้วสลายไป เช่น อาณาจักรโบราณ ล่มสลายไปหลายอาณาจักรแล้ว.
ล่มหัวจมท้าย : ก. ร่วมโชคชะตาเดียวกัน เช่น สามีภรรยาต้อง ล่มหัวจมท้ายด้วยกัน.
เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน : (สํา) น. คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทําให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น.
เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ : (สํา) น. คนที่ทําตนเป็นคนดีมาตลอด แต่มาเสียคนเมื่อแก่. ก. มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสําเร็จ.
อับปาง : ก. ล่ม, จม, แตก, (ใช้แก่เรือเดินทะเล).
ถล่ม : [ถะหฺล่ม] ก. ยุบหรือทําให้ยุบทลายลง เช่น แผ่นดินถล่ม, ทําให้พัง ทลายหรือล่มจม เช่น ถล่มด้วยปืนใหญ่.
ไม้เส้า : น. ไม้ยาวสำหรับยื่นไปช่วยคนตกน้ำในเวลาเรือพระประเทียบล่ม, ไม้กระทุ้งให้จังหวะในเรือดั้งในกระบวนพยุหยาตรา; ไม้ยาวสำหรับสอยหรือค้ำ; ไม้ยาวสำหรับชูเพนียดนกต่อขึ้นบนต้นไม้; ไม้ส้าว ก็ว่า.
เรือโอ่ : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือสำปั้น แต่มีขนาดเล็กและเพรียวกว่า ล่มง่าย ผู้ชำนาญจึงจะพายได้.
ลม ๆ : ว. ไม่เป็นแก่น, ไม่เป็นสาระ; อาการเป็นไปแห่งจิตใน ขณะหนึ่ง ๆ บางทีก็ดี บางทีก็ร้าย. ลมกรด น. กระแสลมแรงจัดในบรรยากาศชั้นบนในระดับสูง ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นลําคล้ายท่อรูปรี ขนาดใหญ่, โดยปริยายหมายความว่า เร็วมาก เช่น นักวิ่งลมกรด. ลมกระโชก น. ลมแรงที่เกิดในทันทีทันใดชั่วขณะหนึ่ง, ลมที่พัด แรงเป็นพัก ๆ.
ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
ลม ๆ แล้ง ๆ : ว. เลื่อนลอยเปล่า ๆ, ไม่มีผล, เช่น ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ว่าจะถูกสลากกินแบ่ง.
แว้ง : ก. อาการที่เอี้ยวหัวหรืออวัยวะบางส่วนโดยเร็วเพื่อกัดหรือทําร้าย เป็นต้น เช่น ควายแว้งขวิดจระเข้แว้งหางฟาดเรือล่ม, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เตือนดี ๆ มาแว้งเอาได้.
หล่ม : [หฺล่ม] น. ที่มีโคลนลึก, ที่ลุ่มด้วยโคลนลึก. ว. มีโคลนลึก, ลุ่มด้วยโคลนลึก.
โอ่ ๑ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือสำปั้น แต่มีขนาดเล็กและ เพรียวกว่า ล่มง่าย ผู้ชํานาญจึงจะพายได้.
ลม ๒ : น. ชื่อปูชนิด Ocypode ceratophthalma ในวงศ์ Ocypodidae ก้านตายาว วิ่งเร็ว อยู่ตามหาดทรายชายทะเล.
ลม ๓ : น. ชื่อเห็ดชนิด Lentinus polychrous L?v. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ผุ ดอกเห็ดรูปปากแตร ด้านบนมีเกล็ดสีนํ้าตาลอ่อน ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลแดง เนื้อเหนียว กินได้.
ลมโกรก : น. ลมที่พัดอยู่เรื่อย ๆ.
ลมเฉื่อย : น. ลมที่พัดเรื่อย ๆ, ลมที่พัดช้า ๆ.
ลมชวย : น. ลมที่พัดอ่อน ๆ, ลมที่พัดเรื่อย ๆ.
ลมชาย : น. ลมโชย.
ลมโชย : น. ลมที่พัดอ่อน ๆ, ลมชาย ก็ว่า.
ลมแดกขึ้น : ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา.
ลมแดด : ว. อาการที่เป็นลมเพราะโดนแดดจัด.
ลมตก : น. กระแสลมพัดอ่อน ๆ (มักพัดในเวลาเย็น) เช่น แดดร่ม ลมตก.
ลมตะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดด จะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า.
ลมตะเภา : น. ลมชนิดหนึ่งพัดมาจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือใน กลางฤดูร้อน.
ลมตีขึ้น : ก. อาการที่ลมในท้องตีขึ้นมา.
ลมตึง : น. ลมกระโชกแรง.
ลมบน : น. กระแสลมเบื้องบน เช่น ว่าวติดลมบน.
ลมบ้าหมู ๑ : น. ลมหมุนที่เกิดในบริเวณแคบ ๆ มีความรุนแรง ไม่มากนัก มักหอบเอาของเป็นวงขึ้นไปในอากาศ.
ลมปะกัง : น. ลมตะกัง.
ลมพัดหลวง :
น. ลมตะโก้. (ดู ตะโก้๒).
ลมพัทธยา : น. ลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝน.
ลมมรสุม : น. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดิน เย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือ พื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำ ให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดิน ร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรง กันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.
ลมร้อน : น. ลมที่นำความร้อนมาด้วย.
ลมสว้าน : [สะว่าน] ก. ลมแดกขึ้นอันเป็นอาการของไข้หนักจวน จะสิ้นใจ.
ลมใส่ : (ปาก) ว. อาการที่รู้สึกว่าจะเป็นลมเนื่องจากตกใจหรือ ผิดหวังเป็นต้น เช่น เห็นผลสอบแล้วลมใส่.
ลมหนาว : น. ลมที่นำความหนาวเย็นมาด้วย.
ลมหวน : น. ลมที่พัดกลับไปกลับมาขณะฝนตก.
ลมหอบ : น. ลมพายุที่พัดหอบเอาสิ่งต่าง ๆ ลอยไปได้ไกล ๆ.
ลมหายใจ : น. ลมที่ปอดสูบเข้าออกทางจมูกหรือทางปาก.
ลมบ้าหมู ๒ : น. อาการหมดสติเป็นครั้งคราว และมักมีอาการชักเกร็ง นํ้าลายเป็นฟอง มือเท้ากํา เป็นผลเนื่องจากสมองทํางานผิดปรกติ.
ลมเบ่ง : ก. อาการที่อยากเบ่งขณะที่มดลูกหดตัวและตำแหน่ง ของทารกอยู่ต่ำมากพร้อมที่จะคลอดออกมา.
ลมพัดชายเขา : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
ลมพายุ : น. พายุ.
ลมไม่ดี : ก. ใจคอหงุดหงิดไม่เป็นปรกติ.
ลมสลาตัน : น. ลมทะเลที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝน.
กินลม : ก. ต้านลม, รับลม, เช่น ว่าวกินลม ใบเรือกินลม.
ปืนลม : น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ใช้แรงอัดดันด้วยลม.