ล่ะ : ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
ไหน ๒, ไหนล่ะ, ไหนว่า, ไหนว่าจะ : ว. เป็นคำถามเชิงตัดพ้อต่อว่า ทวงถาม หรือสงสัย เป็นต้น เช่น ไหน พระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย. (อิเหนา), ไหนล่ะ รางวัล ไหนว่าไม่ลืม ไหนว่าจะพาไปเที่ยว.
ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
มิน่า, มิน่าล่ะ, มิน่าเล่า : คําแสดงว่า รู้สาเหตุ.
เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
นั่น : ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลกว่า นี่ เช่น นั่นอะไร, คําใช้แทนนามที่หมายถึง บุคคลสิ่งของ หรือเรื่องที่อ้างถึง เช่น เอานี่ผสมนั่น. ว. ที่อยู่ไกลกว่า นี่ เช่น โต๊ะนั่น ที่นั่น. นั่นซี, นั่นนะซี คําแสดงการเห็นพ้องด้วย. นั่นแน่ คําแสดงการยืนยันการพบเห็นเป็นต้น เช่น นั่นแน่มาอยู่ที่นี่เอง นั่นแน่ ว่าแล้วอย่างไรล่ะ. นั่นปะไร, นั่นเป็นไร คํากล่าวแสดงว่าเหตุการณ์เป็นอย่างที่พูดไว้, (ปาก) คำแสดงการซ้ำเติม เช่น นั่นปะไร ว่าแล้วไม่เชื่อ.
เป็นไร : ว. ใช้ในความหมายที่ยืนยัน หมายความว่า เป็นอย่างนั้น เช่น นั่นเป็นไรล่ะ, ใช้ในความหมายที่เป็นคําถาม หมายความว่า เป็นอย่างไรไป เช่น นั่นเป็นไรหรือ.
พ่อเจ้าประคุณ : คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.
สาแก่ใจ : ว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้วว่า อย่าไปยุ่งกับเขาโดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก ต้องจ่าย ให้สาแก่ใจ.
อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
ล่าเตียง, ล้าเตียง : น. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่งใช้ไข่โรยเป็นร่างแห ห่อไส้ซึ่งทำด้วยกุ้ง ผัดกับเครื่องปรุง ให้มีขนาดพอดีคำ.
ล่าทัพ : ก. ถอยทัพ.
เคล่าคล่อง : [เคฺล่าคฺล่อง] (กลอน) ก. แคล่วคล่อง เช่น หลบหลีกเคล่าคล่อง ทํานองยุทธ. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
ช้า ๑ : ว. ค่อย ๆ เคลื่อนไป, ไม่เร็ว, ไม่ไว, เช่น เดินช้า วิ่งช้า; ล่า, ไม่ทันเวลาที่กําหนด, เช่น มาช้า.
เล่อล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเล่อล่า ผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเล่อล่าออกไปกลางถนนเลยถูก รถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเล่อล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูก จับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเล่อล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เร่อร่า ก็ว่า.
ไล่ล่า : ก. ตามล่า เช่น ผู้ใหญ่บ้านไล่ล่าเสือ.
ข่าวล่า : น. ข่าวที่ได้มาใหม่.
เล็มล่า : (กลอน) ก. แสวงหาหญ้าได้แต่ทีละน้อย.
กลัมพก, กลัมพัก : [กะลํา-] (แบบ) น. ผักบุ้ง เช่น ประเทศที่ต่ำน้ำลึกล้วนเหล่ากลัมพัก พ่านทอดยอดยาวสล้างสลอน. (ม. ร. ๔ มหาพน). (ป., ส. กลมฺพก).
กล่า : [กฺล่า] (โบ; กลอน) ก. ควัก, แขวะ, แหวะ, เช่น อีกกรบอกหววมึงกูจะผ่า กูจะกล่าเอาขวนนหววมึงออกแล. (ม. คําหลวง ชูชก).
กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
กอบด้วย :
ว. มี (มักจะใช้ในคําที่กล่าวถึงลักษณะเพิ่มเติม) เช่น นาย ก เป็นผู้มีอํานาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย. น. ชื่อไม้เถาชนิด Chilocarpus costatus Miq. ในวงศ์ Apocynaceae พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก. น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา ๒ ก๊อบปี้. (อ. copy). [กอบ] ก. ประกอบ. (โบ) น. ปลาย. ว. ค่อม, เตี้ย. ก. ก้ม. (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะเพรา. (ดู กะเพรา). ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ. (โลกนิติ). น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดํา ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู, เงาะ ก็เรียก. ดู อีก๋อย. น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง๕เรียกว่า นิ้วก้อย, ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว, โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง. น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง, (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า. ว. อาการที่ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและ แข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา. น. กีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกกลมผ่านพื้นที่ขวางกั้นที่เตรียมไว้ให้มี ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เป็นหลุมทราย บ่อน้ำ ให้ไปลงหลุมที่กําหนด. (อ. golf).
กอริลลา : น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและ แข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา.
กะปริดกะปรอย : [-ปฺริด-ปฺรอย] ว. มีอาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง ออกบ้าง, อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ, โดยปริยายหมายถึง อาการที่ทํา ๆ หยุด ๆ ไม่เป็นล่าเป็นสัน, กะปริบกะปรอย ก็ว่า.
กะเร่อกะร่า : อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนัน เลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า อย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
กะเล่อกะล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลย ถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่า อย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
กำยำ : ว. ใหญ่โตแข็งแรง เช่น รูปร่างกํายําล่าสัน.
กินเปล่า : [-เปฺล่า] ก. ได้ประโยชน์เปล่า ๆ ไม่ต้องตอบแทน. น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิ ตามที่ตกลงกันว่า เงินกินเปล่า. ว. ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว เช่น เตะกินเปล่า.
กุหล่า : [-หฺล่า] น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุลา หรือ คุลา ก็ว่า.
แก้มช้ำ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลําตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยช้ำ สุดแผ่นปิดเหงือกดํา โคนครีบหางมีจุดสีดํา พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดํา มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.
คลายคล้าย, คล้ายคล้าย : ก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลาย จระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลําดับ).
คล่าว : [คฺล่าว] (กลอน) ก. ไหล, หลั่งไหล, เช่น บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ. (นิ. นรินทร์).
โคร่ง ๑ : [โคฺร่ง] น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดําตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลําพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้ามากกว่าเสือชนิดอื่น, ลายพาดกลอน ก็เรียก. (เทียบ ข. โครฺง ว่า สูงเกินขนาด, สูงโย่ง).
จรรจา : [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
เซ่อซ่า : ว. เซ่อมาก, เร่อร่า, เล่อล่า, กะเร่อกะร่า หรือ กะเล่อกะล่า ก็ว่า.
นกเขา ๑ : น. ชื่อเหยี่ยวในวงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักเกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ อยู่ตามลําพัง มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน (Accipiter trivirgatus) เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis).
บิดหล่า : [บิดหฺล่า] น. เครื่องมือสําหรับเจาะไม้ชนิดหนึ่ง ใช้มือดึงเชือก บิดเป็นเกลียว ปลายมีคม คล้ายสว่าน. (รูปภาพ บิดหล่า)
ปริยาย : [ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออก อย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).
ปัตหล่า : [ปัดตะหฺล่า] น. ผ้าริ้วทอด้วยไหมกับทองแล่งมีเนื้อบาง โดยมาก ทําเป็นเสื้อครุย.
ปืนยาว : น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลำกล้องยาวตั้งแต่ ๒๐ นิ้ว ขึ้นไป มีแหนบสำหรับบรรจุกระสุน มักใช้ล่าสัตว์.
เปล่า : [เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มี ข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.
ผีเสื้อ ๑ : น. ชื่อแมลงทุกชนิดในอันดับ Lepidoptera มีปีกเป็นแผ่นบาง ๒ คู่ ลําตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมาก คล้ายฝุ่นเมื่อมอง ด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทําให้เกิดสีต่าง ๆ กันปากเป็นงวงยาวม้วน เข้าอยู่ใต้หัวได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน เรียกผีเสื้อกลางวัน, พายัพเรียก กะเบ้อ กำเบ้อ ก่ำเบ้อ หรือ อีเบ้อ, และชนิดหากินใน เวลากลางคืน เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก แมงกาย.
พราน : [พฺราน] น. ผู้หากินในทางล่าสัตว์เป็นต้น, ผู้ชำนาญป่า, เช่น พรานนก พรานป่า.
พล่า : [พฺล่า] น. เครื่องกับข้าวชนิดหนึ่ง คล้ายยํา มักใช้เนื้อดิบ ทำให้สุก ด้วยของเปรี้ยวเช่นมะนาว.
มล่าวเมลา : [มะล่าวมะเลา] (กลอน) ว. งดงาม, สวย.
มหาชัย : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธาน ในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคําปราศรัยจบลงก็ บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสําคัญ งานสโมสร สันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดําเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลงจะใช้เพลงมหาชัย เป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสํานักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกําหนด ให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลง เป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ หรือ นายกรัฐมนตรี.
เร่อร่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิด กาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อ กะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
เรียง ๆ : ว. จวนจะคํ่า. (อะหม เรง ว่า ล่าไป).
เรือต่อต้านทุ่นระเบิด : น. เรือรบที่มีหน้าที่หลักในการกวาดและทำลาย ทุ่นระเบิด มีหลายขนาดตามภารกิจที่ต่างกัน เช่น เรือกวาดทุ่นระเบิด น้ำลึก เรือกวาดทุ่นระเบิดชายฝั่ง เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น และเรือล่า ทำลายทุ่นระเบิด.
ละล้า : (กลอน) ก. ล่า, ช้า, หมดแรง.