Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ล้วน , then ลวน, ล้วน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ล้วน, 48 found, display 1-48
  1. ล้วน, ล้วน : ว. แท้, เป็นอย่างเดียวกันหมด, ไม่มีอะไรปน, เช่น ทองล้วน เงิน ล้วน ๆ.
  2. ล้วนด้วย, ล้วนแล้ว : ว. แล้วด้วย, แล้วไปด้วย, เช่น ล้วนด้วยดอกไม้ สีขาวล้วนแล้วไปด้วยทอง.
  3. ล้วนแต่ : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ผู้เข้าประกวดนางงามล้วนแต่ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  4. ปลอด : [ปฺลอด] ก. พ้นจาก, ปราศจาก, เช่น ปลอดคน ปลอดภัย; ล้วน, แท้ ๆ, เช่น ขาวปลอด ดําปลอด.
  5. อำพน : [พน] ว. มาก, ดาษดื่น, ล้วน, เช่น อำพนไปด้วยแก้วมณี; น่าดู, งาม, งามสล้าง, เช่น ปราสาทอำพน, (โบ) ใช้ว่า อำพล ก็มี เช่น ปราการ สะพาน ถนน อำพลด้วย (ไม้ไหล) ทั้งหลายคำนับ. (จารึกสยาม).
  6. แท้ : ว. ล้วน ๆ เช่น เทียนขี้ผึ้งแท้, ไม่มีอะไรเจือปน, ไม่ปลอม, เช่น ทองแท้.
  7. กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  8. กระแตวับ : (วรรณ) ก. หน้าเป็น เช่น แต่ล้วนตัวตอแหลกระแตวับ. (อภัย).
  9. กระลอก : [-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.
  10. กระลำ : (กลอน; ย่อมาจาก กระลําพร) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชค-โบราณ). (ดู กลัมพร).
  11. กลัมพก, กลัมพัก : [กะลํา-] (แบบ) น. ผักบุ้ง เช่น ประเทศที่ต่ำน้ำลึกล้วนเหล่ากลัมพัก พ่านทอดยอดยาวสล้างสลอน. (ม. ร. ๔ มหาพน). (ป., ส. กลมฺพก).
  12. กะทิ ๑ : น. น้ำที่คั้นออกจากมะพร้าวขูดโดยเจือน้ำบ้างเล็กน้อย, ถ้าคั้นจากเนื้อมะพร้าวขูดล้วน ๆ เรียกว่า หัวกะทิ, ของหวานทําด้วยน้ำตาลกวนกับมะพร้าวคล้ายหน้ากระฉีก แต่ใช้น้ำตาลมากกว่า เรียกว่า น้ำตาลกะทิ, มะพร้าวห้าวที่มีน้ำข้น เนื้ออ่อนกล้ามหนา เรียกว่า มะพร้าวกะทิ. ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ เรียกว่า หัวกะทิ.
  13. กำพวด ๒ : น. ปลาจุมพรวด เช่น แลฝั่งล้วนหลังกําพวดพราย. (เพลงยาวนายภิมเสน). (ดู จุมพรวด).
  14. กินเจ, กินแจ : ก. ถือศีลอย่างญวนหรือจีน โดยกินอาหารจำพวกผักล้วน ไม่มีเนื้อสัตว์.
  15. คาถาพัน : น. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถา ภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็น คาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.
  16. แคบ ๒ : น. อานม้า เช่น สรรพแคบหมอนทองห้อยภู่พราย. (ยวนพ่าย). (เทียบ ข. แคบ ว่า เบาะ, อานม้า). ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎด้วย อลงการ เบาะลอออานแคบคํา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ถิ่น-อีสาน แขบ ว่า ขลิบ).
  17. จตุลังคบาท : [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.
  18. จันทรกลา : [-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลม หมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  19. จาตุรงคสันนิบาต : น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้น ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วน ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสําคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คําสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
  20. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  21. ดาดำ : ว. ดําล้วน.
  22. ตะลุง ๑ : น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).
  23. ทองปราย : (โบ) น. ปืนโบราณชนิดหนึ่ง เช่น ล้วนถือทองปราย ทุกคน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  24. ทั้ง...กับ, ทั้ง...และ : สัน. รวมทั้ง ๒ อย่าง เช่น ทั้งผักกับผลไม้ล้วนน่ากิน ทั้งผักและผลไม้ล้วนน่ากิน.
  25. ทั้ง...ทั้ง : ว. ด้วย เช่น ทั้งกินทั้งเล่น คือ กินด้วยเล่นด้วย ให้ทั้งข้าว ทั้งเงิน คือ ให้ข้าวด้วยเงินด้วย. สัน. และ เช่น ทั้งภูเก็ตทั้งเชียงใหม่ ล้วนน่าเที่ยว.
  26. ทั้งนั้น : ว. ทั้งหมดโดยไม่ยกเว้น เช่น พระสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนแต่ สาว ๆ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  27. เทียร, เที้ยร : ก. ย่อม, ล้วนแล้วไปด้วย.
  28. โทธก : [-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละ ทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตํารากลอน).
  29. ธรรมาธิษฐาน : [ทํามาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยก หลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺ?าน).
  30. ธาตุ ๓ : [ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มี โปรตอนจํานวนเดียวกันในนิวเคลียส.
  31. น ๒ : น. ชื่อคณะฉันท์ มีลหุล้วน เรียกว่า น คณะ, ย่อจากคําว่า นภ (ฟ้า).
  32. ประดาเสีย : ว. ล้วนแต่เสียทั้งนั้น, เสียมาก, เลวเต็มที.
  33. มหาหงส์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hedychium coronarium Koen. ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกใหญ่ สีขาวล้วนหรือมีสีเหลืองตอนกลาง กลิ่นหอม ชอบขึ้นในที่ลุ่มนํ้าขัง มักปลูกตามบ้าน, กระทายเหิน ก็เรียก, จันทบุรีและระยองเรียก เลเป หรือ ลันเต.
  34. มาฆบูชา : น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์ เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, (วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
  35. เมืองลับแล : น. เมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจ ไปไม่พบ, บางทีก็เรียกว่า เมืองแม่ม่าย เพราะเชื่อกันว่าผู้หญิงที่อยู่ในเมืองนี้ ล้วนเป็นแม่ม่ายทั้งสิ้น.
  36. ยาเขียว ๑ : น. ยาแก้ไข้ ทําด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม.
  37. รังแต่ : สัน. มีแต่, ล้วนแต่, เป็นที่, (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น รังแต่คนจะนินทา รังแต่เขาจะหัวเราะเยาะ.
  38. ละครชาตรี : น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
  39. ละครนอก : น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
  40. ละครใน : น. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.
  41. ลุ่น, ลุ่น ๆ : ว. ด้วน, กุด, เช่น ไก่หางลุ่นเพราะถูกถอนขนหางหมด; ห้วน เช่น พูดลุ่น ๆ ไม่น่าฟัง; ควรมีประดับตกแต่ง แต่ไม่มี เช่น ตะพดหัวลุ่น คือ ตะพดไม่ได้เลี่ยมหัว ชกด้วยหมัดลุ่น ๆ คือ ชกด้วยหมัดล้วน ๆ ไม่ได้ใส่นวมเป็นต้น.
  42. ลูกหลาน : น. ผู้มีอายุคราวลูกหรือหลานที่เป็นญาติห่าง ๆ หรือ ที่นับว่าเป็นญาติ เช่น เด็ก ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลูกหลานฉันทั้งนั้น; ผู้สืบเชื้อสาย เช่น สมบัติเก่าลูกหลานเก็บรักษาไว้ได้.
  43. แล้วด้วย, แล้วไปด้วย : ว. ล้วนด้วย เช่น แล้วไปด้วยทอง; สำเร็จด้วย เช่น แล้วด้วยใจ.
  44. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  45. วิปัสสนายานิก : น. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน.
  46. สังคญาติ : (ปาก) น. บรรดาญาติ, ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นญาติกัน, เช่น คนทั้งหมู่บ้านล้วนเป็นสังคญาติกันทั้งนั้น.
  47. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  48. หัวกระเด็น : น. สิ่งของที่โตและเด่นกว่าเพื่อนในหมู่หนึ่งหรือกองหนึ่ง, โดยมากมักใช้แก่ผลไม้บางชนิด เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง, โดยปริยาย หมายถึงผู้ที่มีความสามารถดีเด่นเป็นพิเศษ เช่น นักเรียนห้องนี้ล้วนแต่ หัวกระเด็นทั้งนั้น.
  49. [1-48]

(0.0640 sec)