Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ล้างผลาญ, ล้าง, ผลาญ , then ผลาญ, ลาง, ล้าง, ล้างผลาญ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ล้างผลาญ, 154 found, display 1-50
  1. ล้างผลาญ : ก. ทําลายให้ฉิบหาย.
  2. ผลาญ : [ผฺลาน] ก. ทําลายให้หมดสิ้นไป, บางทีหมายถึงทําลายทรัพย์สมบัติ ให้หมดสิ้นไป เช่น ผลาญพ่อผลาญแม่ คือ ทําลายทรัพย์สมบัติของ พ่อแม่ให้หมดสิ้นไป.
  3. ล้าง : ก. ทําให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธี ต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชําระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงคราม ล้างชาติ.
  4. กินล้างกินผลาญ : ก. กินครึ่งทิ้งครึ่ง, กินทิ้งกินขว้าง, กินอย่างสุรุ่ยสุร่าย.
  5. จองล้างจองผลาญ : ก. ผูกใจเจ็บคิดจะทำการแก้แค้นให้ได้.
  6. ล้าง : [มะล้าง] ก. ม้าง, ล้าง, ฆ่า, ผลาญ.
  7. ล้างคอ : ก. ดื่มเหล้าหรือกาแฟเป็นต้นเพียงเล็กน้อยหลังอาหารเพื่อ ล้างคาวคอ, กินของเปรี้ยวเช่นมะขามเปียกหรือมะยมเพื่อล้างรสขื่น ของเหล้า.
  8. ล้างแค้น : ก. แก้แค้นโดยทำร้ายร่างกายหรือทำลายล้างชื่อเสียงของผู้ ที่ทำให้ตนแค้น.
  9. ล้างซวย : ก. ทำพิธีหรือประกอบความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อล้าง ความซวยให้หมดไป เช่น อาบน้ำมนต์ล้างซวย ทำบุญล้างซวย.
  10. ล้างท้อง : ก. ใช้สายยางสอดเข้าทางปากดูดเอาเศษอาหารหรือของ ที่เป็นพิษออกจากกระเพาะและส่งนํ้าหรือนํ้าเกลือไปล้างกระเพาะ ทางสายยางนั้น.
  11. ล้างบาป : น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือ ศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาป เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
  12. ล้างปาก : ก. เรียกการกินของหวานเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายหลังกินอาหาร คาวว่า กินล้างปาก.
  13. ล้างมือ : ก. เลิกยุ่งเกี่ยวอีกต่อไป เช่น ล้างมือจากธุรกิจ ล้างมือจาก การเมือง.
  14. ล้างโลก : ก. ทำลายโลก เช่นสงครามล้างโลก; (ศาสนา) ทำให้โลก หมดความชั่วเช่น ไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก.
  15. ล้างคอมะพร้าว : ก. ดึงทางหรือรกที่แห้งคาคอมะพร้าวออกเพื่อให้ มะพร้าวตกจั่น.
  16. ล้างบาง : ก. ฆ่าทิ้งจนหมดบาง.
  17. ล้างป่าช้า : ก. ขุดศพทั้งหมดในป่าช้าขึ้นมาเผา.
  18. ล้างไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันคนให้ทั่วหลาย ๆ หนแล้ว รวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินกันหลาย ๆ ตาแล้ว.
  19. ล้างฟิล์ม, ล้างรูป : ก. นำฟิล์มที่ถ่ายแล้วไปแช่ลงในสารละลายเคมี เพื่อให้รูปปรากฏขึ้นบนฟิล์ม.
  20. ล้างยา : ก. ทำลายฤทธิ์ยา, ทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อม, โดยเชื่อกันว่าอาหาร หรือผลไม้บางอย่างเมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อมได้.
  21. ล้างสต๊อก : ก. ลดราคาสินค้าเพื่อจำหน่ายให้หมด.
  22. ล้างหน้าผี, ล้างหน้าศพ : ก. ผ่ามะพร้าวห้าวให้น้ำรดลงไปบนหน้า ศพก่อนเผา.
  23. ล้างหนี้ : ก. ชำระหนี้ให้หมด.
  24. ล้างหู : ก. ทำเป็นลืมเสียว่าเคยได้ยินเรื่องหรือถ้อยคำที่ระคายหู.
  25. ล้างอาถรรพ์, ล้างอาถรรพณ์ : ก. ทำพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้คุณไสย ที่ถูกกระทำหรือแก้อำนาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป.
  26. ล้างอาย : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการแก้หน้า.
  27. ประหาร : น. การตี, การฟัน, การล้าง, การผลาญ. ก. ฆ่า, ทําลาย. (ส. ปฺรหาร; ป. ปหาร).
  28. ศิษย์คิดล้างครู : (สำ) น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้าง ครูบาอาจารย์.
  29. แปรงล้างขวด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Callistemon viminalis (Sol. ex Gaertn.) G. Don ex Loud. ในวงศ์ Myrtaceae ก้านชูอับเรณูสีแดง เป็นฝอยเหมือนแปรง.
  30. ลิงล้างก้น : (สำ) น. ผู้ที่ทำอะไรลวก ๆ พอให้เสร็จ ๆ ไป แต่ไม่ เรียบร้อย.
  31. เลือดล้างด้วยเลือด : ก. แก้แค้นด้วยวิธีรุนแรงในทำนองเดียวกัน.
  32. เลือดล้างหน้า : น. เลือดระดูที่ออกมาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลังจากคลอด ลูกแล้ว แสดงว่าจะตั้งท้องได้อีก.
  33. ศีลล้างบาป : น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะ เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, พิธีจุ่ม ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
  34. หักล้าง : ก. ลบล้าง.
  35. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  36. ก้น : น. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลําตัว, โดยปริยายหมายความ ถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.
  37. กบฏ : [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การ ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้าย ต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิด อาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้ กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจ ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจ ปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
  38. กัป : [กับ] น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). (ดู กัลป-, กัลป์).
  39. กัลป-, กัลป์ : [กันละปะ-, กัน] น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะ ไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).
  40. เกม ๑ : น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วย การแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. (อ. game).
  41. แก้เชิง : ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรือ อุบาย หักล้างเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรืออุบายของอีกฝ่ายหนึ่ง.
  42. ขายชาติ : ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจ ออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ ทําลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.
  43. คัว : (ถิ่น-อีสาน) ก. ทําให้สะอาด, ชําระล้าง, เช่น คัวปลา ว่า ขอดเกล็ดปลา แล้วผ่าท้องล้างให้สะอาด.
  44. คาร์บอลิก : น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้าง เชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียก คลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
  45. จ้าง ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้าง ให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
  46. ชะ ๑ : ก. ทําให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้า ในลักษณะ และ อาการอย่างชะแผล; ชําระล้างด้วยอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนชะลาน ฝนชะช่อมะม่วง.
  47. ชักโครก : [โคฺรก] น. ที่นั่งถ่ายอุจจาระมีที่เปิดนํ้าขับล้างได้.
  48. ซาว ๑ : ก. เอาข้าวสารล้างนํ้าด้วยวิธีใช้มือคนให้ทั่วเพื่อให้สะอาดก่อนหุงต้ม เรียกว่า ซาวข้าว, โดยปริยายหมายถึงล้างสิ่งอื่นด้วยวิธีเช่นนั้น.
  49. ตบะ : น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความ เพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
  50. ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-154

(0.1253 sec)