หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
ล้าง : ก. ทําให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธี ต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชําระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงคราม ล้างชาติ.
ล้างหน้าผี, ล้างหน้าศพ : ก. ผ่ามะพร้าวห้าวให้น้ำรดลงไปบนหน้า ศพก่อนเผา.
เลือดล้างหน้า : น. เลือดระดูที่ออกมาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลังจากคลอด ลูกแล้ว แสดงว่าจะตั้งท้องได้อีก.
ล้างบาป : น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือ ศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาป เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
ซึ่งหน้า, ซึ่ง ๆ หน้า : ว. ต่อหน้า เช่น กระทําความผิดซึ่งหน้า.
หน้านวล ๑ : ดูใน หน้า.
หน้านวล ๒ : ดูใน หน้า.
หน้าวัว ๑ : ดูใน หน้า.
หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา : ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
ล้างคอ : ก. ดื่มเหล้าหรือกาแฟเป็นต้นเพียงเล็กน้อยหลังอาหารเพื่อ ล้างคาวคอ, กินของเปรี้ยวเช่นมะขามเปียกหรือมะยมเพื่อล้างรสขื่น ของเหล้า.
ล้างแค้น : ก. แก้แค้นโดยทำร้ายร่างกายหรือทำลายล้างชื่อเสียงของผู้ ที่ทำให้ตนแค้น.
ล้างซวย : ก. ทำพิธีหรือประกอบความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อล้าง ความซวยให้หมดไป เช่น อาบน้ำมนต์ล้างซวย ทำบุญล้างซวย.
ล้างท้อง : ก. ใช้สายยางสอดเข้าทางปากดูดเอาเศษอาหารหรือของ ที่เป็นพิษออกจากกระเพาะและส่งนํ้าหรือนํ้าเกลือไปล้างกระเพาะ ทางสายยางนั้น.
ล้างปาก : ก. เรียกการกินของหวานเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายหลังกินอาหาร คาวว่า กินล้างปาก.
ล้างมือ : ก. เลิกยุ่งเกี่ยวอีกต่อไป เช่น ล้างมือจากธุรกิจ ล้างมือจาก การเมือง.
ล้างโลก : ก. ทำลายโลก เช่นสงครามล้างโลก; (ศาสนา) ทำให้โลก หมดความชั่วเช่น ไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก.
ล้างอาย : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการแก้หน้า.
หน้ากระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้ เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
หน้ากระดาน : ว. มีลักษณะเรียงแถวไหล่ต่อไหล่หันหน้าไปทางเดียวกัน เช่น ลูกเสือเดินแถวหน้ากระดาน. น. พื้นที่ราบด้านตั้งที่อยู่บนบัวหงาย หรือใต้บัวคว่ำ.
หน้ากร้าน : น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน.
หน้ากล้อ : น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว.
หน้าเก่า : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดารา หน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.
หน้าแก่ : ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมาก ที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่.
หน้าข้าวตัง : น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้ามอด ก็ว่า.
หน้าขึงตาขึง : น. หน้าซึ่งแสดงว่าโกรธหรือไม่พอใจอย่างมาก.
หน้าขึ้นนวล : น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคน โบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามัก จะขึ้นนวล.
หน้าเข้ม : ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าตึง ก็ว่า.
หน้าเขียว : ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว; หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก.
หน้าแข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, แข้ง ก็ว่า.
หน้าคว่ำ : ว. ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้าขึ้นมองดู.
หน้าจ๋อย : ว. มีสีหน้าสลด, มีสีหน้าซีดเซียว, เช่น นักเรียนหน้าจ๋อยเพราะ ถูกครูตำหนิ.
หน้าจั่ว : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สําหรับกันลมและ แดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน คู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว.
หน้าเจี๋ยมเจี้ยม : ว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน.
หน้าเจื่อน : ว. วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้ เป็นต้น.
หน้าฉาก : (สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก.
หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.
หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย : ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.
หน้าชา : ว. อาการที่รู้สึกอับอายขายหน้าระคนโกรธ แต่ก็ตอบโต้ไม่ได้ เช่น เธอรู้สึกหน้าชาที่ถูกประจาน.
หน้าชื่นอกตรม : ว. ที่ทำเป็นร่าเริงแต่ในใจมีทุกข์, หน้าชื่นอกกรม ก็ว่า.
หน้าเชิด : น. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่ง หรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด.
หน้าซีก : น. หน้าด้านข้าง (เห็นตาและหูข้างเดียว).
หน้าเซ่อ : ว. อาการที่วางหน้าไม่รู้ไม่ชี้หรือทำเป็นไม่รู้เรื่อง เช่น ตีหน้าเซ่อ.
หน้าดำคล้ำเครียด : น. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่ กับงาน หรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก, หน้าดำคร่ำเครียด ก็ว่า.
หน้าดำหน้าแดง : ว. อาการที่ใช้วาจาโต้เถียงกันเพราะมุ่งที่จะเอาชนะ อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น แม่ค้าเถียงกันหน้าดำหน้าแดง.
หน้าเดิม : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มี แต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า.
หน้าแดง : น. หน้าเต็มไปด้วยเลือดฝาดเพราะความกระดากอายหรือโกรธ เป็นต้น.
หน้าตัก : น. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิ โดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้ว พระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา ๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของ ผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก