Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วกา , then พกา, วก, วกะ, วกา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วกา, 44 found, display 1-44
  1. วก : ก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอน ใช้แผลงเป็น พก ก็มี.
  2. พกา : (กลอน) น. นกยาง.
  3. พกา : ดู พก.
  4. วกะ : น. หมาป่า. (ป.; ส. วฺฤก).
  5. วกวน : ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือ วกวนอ่านไม่เข้าใจ.
  6. ศราพก, ศราวก : [สะราพก, วก] น. สาวก, ศิษย์. (ส. ศฺราวก; ป. สาวก).
  7. กระบั้วกระเบี้ย : ว. กระปั้วกระเปี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, เดินไม่คล่องแคล่ว (อย่างผู้รื้อไข้).
  8. พิมพการัง : [พิมพะ] ดู พิมปะการัง.
  9. ยวกสา : [ยะวะกะสา] น. นํ้าประสานดีบุก.
  10. อาชีวก : [วก] น. นักบวชนิกายหนึ่งนอกพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล. (ป., ส.).
  11. พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  12. วฤก : [วฺรึก] (แบบ) น. หมาป่า. (ส. วฺฤก; ป. วก).
  13. กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
  14. -กระเบี้ย : ใช้เข้าคู่กับคํา กระบั้ว เป็น กระบั้วกระเบี้ย.
  15. กระปั้วกระเปี้ย : ว. กระบั้วกระเบี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, ไม่คล่องแคล่ว, ไม่แข็งแรง.
  16. กระโหม : [-โหมฺ] (กลอน) ก. โหม เช่น ศัพท์ส้าวกระโหมโครม. (บุณโณวาท).
  17. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  18. เขียนด้วยมือลบด้วยตีน : (สํา) ก. ยกย่องแล้วกลับทําลายในภายหลัง.
  19. แขวก : [แขฺวก] น. ชื่อนกชนิด Nycticorax nycticorax ในวงศ์ Ardeidae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับนกยาง หัวค่อนข้างโต คอสั้น ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น ลําตัวส่วนบนสีเขียวอมเทา ท้ายทอยมีเปียสีขาว ๒-๓ เส้น ลําตัว ส่วนล่างสีขาว อยู่เป็นฝูง กินปลาและสัตว์เล็ก ๆ หากินในเวลากลางคืน.
  20. คดเคี้ยว : ว. คดไปคดมา, ลดเลี้ยว, วกไปวกมา.
  21. แควก : [แคฺวก] ว. เสียงดังอย่างเสียงผ้าขาด.
  22. เถรวาท : [เถระวาด] น. ลัทธิที่ถือตามคติซึ่งพระเถระพุทธสาวกได้ทํา สังคายนาไว้, หินยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. (ป.).
  23. ธงสามเหลี่ยม : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์กฤติกา มี ๘ ดวง, ดาวกฤตติกา ดาวกัตติกา หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก.
  24. บุพการี : น. ผู้ที่ทําอุปการะมาก่อน เช่น บิดามารดาเป็นบุพการี ของบุตรธิดา. (ป. ปุพฺพการี); (กฎ) ญาติทางสาโลหิตโดยตรง ขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด.
  25. พับผ้า : น. เรียกทางหลวงที่วกไปวกมาว่า ทางพับผ้า.
  26. พายเรือในหนอง, พายเรือในอ่าง : (สํา) ก. คิด ทํา หรือพูดวกวน กลับไปกลับมา.
  27. พิมปะการัง : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Pholas orientalis ในวงศ์ Pholadidae รูปร่างค่อนข้างยาว สามารถใช้เปลือกขุดดินให้เป็นรูอยู่ได้, พิมพการัง ก็เรียก.
  28. มหาสาวก : น. พระสาวกชั้นผู้ใหญ่ของพระพุทธเจ้า ๘๐ องค์ ซึ่งรวมพระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์ เข้าไว้ในจํานวนนั้นด้วย. (ป.; ส. มหาศฺราวก).
  29. เม่า ๒ : น. เรียกปลวกในระยะที่มีปีก ซึ่งบินออกผสมพันธุ์กัน ลําตัวขนาดต่างกัน ยาวตั้งแต่ ๕ มิลลิเมตร ถึง ๒.๗ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ยาวกว่าลําตัว ลักษณะ เหมือนกันทั้งรูปทรงและเส้นปีก เมื่อหุบปีก ปีกจะแบนราบไปบนหลัง สลัดปีกได้ง่าย ลําตัวสีนํ้าตาล ว่า แมลงเม่า.
  30. ไม้หกเหียน : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา.
  31. แรงงานสัมพันธ์ : (กฎ) น. ความสัมพันธ์ในด้านการจ้างงานระหว่างนาย จ้างกับลูกจ้างในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการว่าจ้างทํางาน นับตั้งแต่เงื่อนไข การจ้าง สภาพการทํางานและผลประโยชน์จากการทํางานร่วมกันของ ทั้ง ๒ ฝ่าย รวมทั้งสาเหตุต่าง ๆ ที่มีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง ตลอดจนการร่วมเจรจาต่อรองและการสร้างความเข้าใจอันดี ต่อกันเพื่อการอยู่ร่วมกันต่อไป.
  32. เลื้อย : ก. ทอดวกเวียนไป (ใช้แก่ไม้เถา), เสือกไปด้วยอก (ใช้แก่สัตว์ไม่มีตีน ตัวยาว) เช่น งูเลื้อย ไส้เดือนเลื้อย.
  33. วงกต : น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออก วกวนอาจทําให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ ทําคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อ ความสนุกว่าเขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้. (ป.).
  34. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  35. ศึกชิงนาง : น. การต่อสู้กันเพื่อให้ได้หญิงมา เช่น ศึกชิงนางระหว่าง อิเหนากับท้าวกะหมังกุหนิง.
  36. ส ๒ : คําประกอบหน้าคําอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).
  37. สก ๑ : [สะกะ] ว. ของตน. (ป.; ส. สฺวก).
  38. สวก ๒ : [สะหฺวก] น. สวิงขนาดเล็กชนิดหนึ่งสําหรับตักปลา.
  39. สะท้อน ๑ : ก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยาย หมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.
  40. หกเหียน : น. เรียกไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา ว่า ไม้หกเหียน.
  41. หักหลัง : ก. ร่วมใจกันมาก่อนแล้วกลับทําร้ายให้ในภายหลัง.
  42. แหวก : [แหฺวก] ก. แยกให้เป็นช่อง, แยกสิ่งที่ปิดบังหรือกีดขวางให้เป็นช่องทาง เช่น แหวกม่าน แหวกหญ้า แหวกผม; ฝ่าสิ่งที่กีดขวางเข้ามาหรือออกไป เช่น แหวกวงล้อมข้าศึก.
  43. โหวกเหวก : [โหฺวกเหฺวก] ว. มีเสียงดังเอะอะโวยวาย เช่น เรียกกันโหวกเหวก ตะโกน โหวกเหวก.
  44. อ้อมค้อม : ว. วกวน, ลดเลี้ยว, ไม่ตรงไปตรงมา, (ใช้แก่กริยาพูด).
  45. [1-44]

(0.0702 sec)