วจี : [วะ] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป.; ส. วจิ, วาจฺ). วจีกรรม น. การพูด, การกระทําทางวาจา, เช่น การกล่าวเท็จเป็น การทำผิดทางวจีกรรม. (ป. วจีกมฺม).
วจีทุจริต : [วะจีทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่างได้แก่ การพูดเท็จ ๑การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑.
วจีวิภาค : น. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยคำและหน้าที่ของคำ.
วจีสุจริต : [วะจีสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูด ส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.
พจี : [พะจี] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป. วจี).
กุศลกรรมบถ : [กุสนละกํามะบด] น. ธรรมหมวดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓. (ส.).
กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
จุฑาธิปไตย : [-ทิปะไต, -ทิบปะไต] น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น จงมา ประสิทธิวจีพระจุฑาธิปไตย. (ปฐมมาลา).
ทุจริต : [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
มิจฉาวาจา : น. ''การเจรจาถ้อยคําผิด'' คือ ประพฤติวจีทุจริต. (ป.).
สัมมาวาจา : น. ''การเจรจาชอบ'' คือ ประพฤติวจีสุจริต. (ป.).
อกุศลกรรมบถ : [อะกุสนละกํามะบด] น. ทางแห่งความชั่ว, ทาง บาป, มี ๑๐ อย่าง คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ + ปถ; ป. อกุสลกมฺมปถ).