พรต : [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).
โลกียวัตร : น. ความเป็นไปของสามัญชน. (ป. โลกิย + วตฺต).
วัต : น. วตะ, พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
วัตร, วัตร : [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
บริพัตร : [บอริพัด] ก. หมุนเวียน, เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป; สืบสาย. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
ปริพัตร : [ปะริพัด] ก. บริพัตร. (ป. ปริวตฺต; ส. ปริวรฺต).
ปริวรรต, ปริวรรต- : [ปะริวัด, ปะริวัดตะ-] ก. หมุนเวียน เช่น ปริวรรตเงินตรา; เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
อนุวัต : ก. ทําตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).
อาจริยวัตร : น. กิจที่ควรประพฤติต่ออาจารย์. (ป. อาจริยวตฺต).
พักตา : น. ผู้พูด, ผู้กล่าว. (ส. วกฺตฺฤ; ป. วตฺตา).
พฤติ, พฤติ : [พฺรึด, พฺรึดติ] น. ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะ ความเป็นอยู่, อาชีวะ; คําฉันท์. (ส. วฺฤตฺติ; ป. วุตฺติ).
พิตร : [พิด] น. ทรัพย์, ของเครื่องปลื้มใจ. (ส., ป. วิตฺต).
เวตร : [เวด] น. หวาย. (ส. เวตฺร; ป. เวตฺต).
แวตร : [แวด] น. ไม้ถือที่ทําด้วยหวาย. (ส. เวตฺร; ป. เวตฺต).