Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วรรณคดี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วรรณคดี, 39 found, display 1-39
  1. วรรณคดี : น. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่า เชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.
  2. คดี : [คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคําศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทาง กฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมาย กำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).
  3. ภารตวิทยา : น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).
  4. มนุษยศาสตร์ : [มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทาง จิตใจและงานของคนมีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย+ศาสฺตฺร). (อ. humanities).
  5. มูลนิธิ : [มูนละ-, มูน-] (กฎ) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับ วัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา ผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).
  6. วรรณ, วรรณะ : [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  7. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  8. ศฤงคารรส : [สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของ วรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมี เนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส.
  9. สัตว์หิมพานต์ : [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่า หิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ใน วรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
  10. กินเครา : [-เคฺรา] น. ชื่อนกในวรรณคดี เช่น นกพริกจิกจอกกินเครา. (สมุทรโฆษ).
  11. เข้าถึง : ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.
  12. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  13. จากพราก, จากพาก : [จากกะพรฺาก, จากกะพาก] น. ชื่อนกในวงศ์นกเป็ดนํ้า (ทางวรรณคดีนิยมว่า คู่ของนกนี้ต้องพรากจากกันจะครวญถึงกันในเวลากลางคืน), จักรพาก หรือ จักรวาก ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
  14. จินตนิยม : น. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะ ที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือ กันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญ กว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรม หรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).
  15. ดำกล : ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งไว้, ในวรรณคดีหมายความว่า งาม เช่น ดํากลดาดด้วย ดวงดาว. (ม. คําหลวงจุลพน). (แผลงมาจาก ถกล).
  16. ถกล : [ถะกน] ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งขึ้น, ตั้งไว้; ในวรรณคดีหมายความว่า งาม, ใช้แผลงเป็น ดํากล ก็มี. (ข. ถฺกล่).
  17. บทอัศจรรย์ : น. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดย ใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมยเป็นต้น.
  18. ประพันธ์ : ก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคําเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  19. มะลิซ่อม : น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Jasminum multiflorum (Burm.f.) Andr. ในวงศ์ Oleaceae ในวรรณคดีเรียก มะลุลี.
  20. ม้าน้ำ ๑ : น. ชื่อสัตว์ในวรรณคดี ท่อนบนเป็นม้า ท่อนล่างเป็นปลา.
  21. ยังมี : ว. มี (มักใช้ในบทนิทานหรือในวรรณคดี) เช่น แต่ปางหลังยังมี กรุงกษัตริย์.
  22. ยุคทอง : น. ช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรือง เช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีไทยยุคหนึ่ง.
  23. รามเกียรติ์ : [รามมะเกียน] น. ชื่อวรรณคดีเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยพระรามทําศึก กับทศกัณฐ์เพื่อชิงนางสีดา.
  24. ร่ายโบราณ : น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง นิยมใช้ในวรรณคดีโบราณ ไม่นิยม เอกโท ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่มักใช้วรรคละ ๕ คำและใช้คำเท่ากัน ทุกวรรค.
  25. รูปโฉมโนมพรรณ : น. รูปร่างและผิวพรรณ เช่น นางในวรรณคดีมักมี รูปโฉมโนมพรรณงดงามยิ่ง.
  26. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี.
  27. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
  28. วายุภักษ์ : น. ชื่อนกในวรรณคดี แปลว่า นกกินลม. (ส.).
  29. โศลก : [สะโหฺลก] น. คําประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
  30. สัจนิยม : [สัดจะ] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์ วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).
  31. สันสกฤต : [สะกฺริด] น. ชื่อภาษาในตระกูลอินเดียยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดี อินเดียโบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดี ของพราหมณ์โดยทั่วไป และในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน, ใช้ว่า สังสกฤต ก็มี. ว. ที่ทำให้ดีพร้อมแล้ว, ที่ทำให้ประณีตแล้ว, ที่ขัดเกลาแล้ว. (ส. สํสฺกฤต; ป. สกฺกฏ).
  32. หงส-, หงส์ ๑ : [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูล สูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดิน ของหงส์. (ป., ส. หํส).
  33. หัสดีลิงค์ : น. นกในวรรณคดีมีจะงอยปากยาวคล้ายงวงช้าง.
  34. อนนต์ : น. ชื่อปลาใหญ่ในวรรณคดี เชื่อกันว่าหนุนแผ่นดิน เมื่อปลานี้ พลิกตัวจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว, อานนท์ ก็ว่า.
  35. อลังการศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยวิธีการประพันธ์ที่จะทำให้เกิดอรรถรส และความประทับใจ อำนวยประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีมาก.
  36. อักษรศาสตร์ : [อักสอระสาด, อักสอนสาด] น. วิชาการหนังสือ เน้น ในด้านภาษาและวรรณคดี.
  37. อัศวเมธ : น. ชื่อพระราชพิธีเพื่อประกาศพระบรมเดชานุภาพของพระราชาธิราช ในวรรณคดีอินเดีย โดยจะทรงปล่อยม้าอุปการพร้อมทั้งกองทัพให้เข้า ไปในประเทศต่าง ๆ ถ้าประเทศใดไม่ยอมอ่อนน้อมกองทัพจะเข้า โจมตี เมื่อครบ ๑ ปีแล้วกองทัพก็ยกกลับพร้อมทั้งพระราชาที่ถูกปราบ พระราชาธิราชก็จะจัดพระราชพิธีโดยฆ่าม้านั้นบูชายัญ เรียกว่า พิธีอัศวเมธ. (ส.).
  38. อานนท์ ๒ : น. ชื่อปลาใหญ่ในวรรณคดี เชื่อกันว่าหนุนแผ่นดิน เมื่อปลานี้ พลิกตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหว, อนนต์ ก็ว่า.
  39. อุ้มสม : ก. อุ้มไปให้สมสู่กัน (ในวรรณคดีใช้แก่การที่เทวดาอุ้ม พระเอกไปให้สมสู่กับนางเอกที่ตนเห็นว่าคู่ควรกัน), (สํา) เปรียบเทียบคู่ผัวเมียที่เหมาะสมกันว่า ราวกับเทวดาอุ้มสม.
  40. [1-39]

(0.0206 sec)