วัชร, วัชระ : [วัดชะระ] น. วชิระ. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
วัชรยาน : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญา สูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มี ใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. (ส.).
วัชรอาสน์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้ เรียกว่า พระแท่นวัชรอาสน์, โพธิบัลลังก์ หรือ รัตนบัลลังก์ ก็เรียก. (ส. วชฺราสน).
วัชรปาณี : น. ''ผู้ถือวชิระ'' คือ พระอินทร์, วชิรปาณี ก็ว่า, ชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งตามคติฝ่ายมหายาน พระหัตถ์ทรงสายฟ้า. (ส. วชฺรปาณิ).
วัชรธาตุมณฑล : [ทาตุมนทน, ทาดมนทน] น. สัญลักษณ์ในทาง ปัญญาอันคมกล้าที่สามารถตัดอวิชชาได้.
วัชราสน์ :
ดู วัชร, วัชระ.
วัชรินทร์ :
ดู วัชร, วัชระ.
วัชเรนทร์ :
ดู วัชร, วัชระ.
โพธิบัลลังก์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า. (ป. โพธิปลฺลงฺก).
รัตนบัลลังก์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า.
วัชรินทร์ : น. พระอินทร์. (ส. วชฺรินฺ, วชฺร + อินฺทฺร). วัชรี น. พระอินทร์. (ส.).
พิเชียร : น. เพชร. (ป. วชิร; ส. วชฺร).
เพชรายุธ : [เพ็ดชะรายุด] น. อาวุธเพชรของพระอินทร์, ชื่อหนึ่งของ พระอินทร์. (ส. วชฺร + อาวุธ).
วชิร, วชิระ : [วะชิระ] น. สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์. (ป.; ส. วชฺร).
วัชเรนทร์ : น. พระอินทร์. (ส. วชฺร + อินฺทฺร).
พชระ : [พดชะระ] (กลอน) น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
พัชระ : น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
เพชร, เพชร : [เพ็ด, เพ็ดชะ] น. ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่าพลอย อื่น ๆ ใช้ทําเครื่องประดับหรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม; โดยปริยายหมายความว่า แข็งที่สุด เช่น เหล็กเพชร ใจเพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
วชิรปาณี, วชิรหัตถ์ : น. ''ผู้ถือวชิระ'' คือ พระอินทร์. (ป.; ส. วชฺรปาณิ, วชฺรหสฺต).