วัตร, วัตร : [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
วัตรปฏิบัติ : [วัดตฺระ] น. การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล.
บอกวัตร : (โบ) ก. บอกข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เมื่อทําวัตร เย็นเสร็จแล้ว.
จริยวัตร, จริยาวัตร : น. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท.
ธุดงควัตร : [ทุดงคะวัด] น. กิจอันภิกษุผู้ถือธุดงค์ควรทํา.
ปติวัตร : น. ความประพฤติต่อผัว, ความจงรักในผัว.
พัตร : น. พัสตร์, ผ้า. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
อาคันตุกวัตร : น. มรรยาทที่จะต้องประพฤติต่อแขกผู้มาหา. (ส.; ป. อาคนฺตุกวตฺต).
อุปัชฌายวัตร : [อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริก จะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).
ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
ทำวัตร : ก. กระทํากิจที่พึงกระทําตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่น ไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทําวัตรพระ ก็ว่า; ทําสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
ธุดงคญ, ธุดงค์ : น. องค์คุณเครื่องกําจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค).
บงสุกูลิก : น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของ ภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทําเป็นเครื่อง นุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
บังสุกูลิก : (แบบ) น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุ ผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทําเครื่องนุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
อนุวัต : ก. ทําตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).
กระพัตร : [-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูก อยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้น ที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.
พัสตร์ : น. ผ้า, เขียนเป็น พัตร ก็มี. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
กระพัด : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลาย ทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะ เดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
เพตร : [เพด] น. หวาย, หวายที่ทําเป็นไม้ถือ. (ส. เวตฺร).
เวตร : [เวด] น. หวาย. (ส. เวตฺร; ป. เวตฺต).
แวตร : [แวด] น. ไม้ถือที่ทําด้วยหวาย. (ส. เวตฺร; ป. เวตฺต).