Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วาระ , then พาระ, วาร, วาระ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วาระ, 39 found, display 1-39
  1. วาร ๒, วาระ : [วาระ] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ใน ตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต.
  2. วาระจร : น. เรื่องที่มิได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระ แต่ได้นำเข้ามา พิจารณาเป็นพิเศษในการประชุมคราวนั้น.
  3. วารวาริ : [วาระ] น. ดอกชบา. (ช.).
  4. รอบ : น. การบรรจบถึงกัน, การเวียนไปบรรจบถึงกัน; ช่วง เช่น ภาพยนตร์ รอบเช้า รอบบ่าย, วาระ เช่น รอบสุดท้าย รอบชิงชนะเลิศ; ลักษณนาม เรียกลักษณะที่มาบรรจบกันเป็นต้น เช่น รอบหนึ่ง ๒ รอบ. บ. อาการ ที่เวียนมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์รอบบ้าน เดินรอบตลาด.
  5. วารณ : [วาระนะ] น. ช้าง. (ป., ส.).
  6. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  7. จุดจบ : น. วาระสุดท้าย, ตอนสุดท้าย; ความตาย.
  8. ทวาร, ทวาร- : [ทะวาน, ทะวาระ-] น. ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคํา เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคําสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).
  9. ทวารบถ : [ทะวาระบด] น. ทางเข้าออก เช่น อันกําแพงเชิงเทิน ป้อมปราการที่ล้อมกรุง รวมทั้งทวารบถทางเข้านครเล่า. (กามนิต).
  10. ทวารบาล : [ทะวาระบาน] น. ผู้เฝ้าประตู, นายประตู. (ป.).
  11. วาระ : [นะวาระ] น. กุหลาบ. (ช.).
  12. ปล่อยตัว : ก. ไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ไม่สงวนตัว; ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ก็ว่า; ให้ตัวละครออกแสดงตามวาระ.
  13. ปวารณา : [ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความ เต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนา ยอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).
  14. วาร ๑ : [วาน] น. วันหนึ่ง ๆ ในสัปดาห์ เช่น อาทิตยวาร. (ป., ส.).
  15. ขันธาวาร : [-ทาวาน] (แบบ) น. ค่าย, กองทัพ, เช่น เสด็จถึงขันธาวารประเทศ. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป.).
  16. คุรุวาร : น. วันครู คือ วันพฤหัสบดี, ชีววาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า.
  17. จันทรวาร : น. วันจันทร์, จันทวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
  18. ชีววาร : น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า.
  19. พฤหัสปติวาร : น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ ชีววาร ก็ว่า.
  20. ภุมวาร, ภุมมวาร : [พุมมะวาน] น. วันอังคาร. (ป. ภุมฺมวาร).
  21. อาทิจจวาร : น. วันอาทิตย์, สูรยวาร หรือ อาทิตยวาร ก็ว่า.
  22. อาทิตยวาร : น. วันอาทิตย์, สูรยวาร หรือ อาทิจจวาร ก็ว่า.
  23. มงคลวาร : [มงคนละวาน] น. วันดี, วันอังคาร.
  24. มะวาร, มาวาร : น. กุหลาบ. (ช.).
  25. วุธวาร : [วุดทะวาน] น. วันพุธ.
  26. ศุกรวาร : น. วันศุกร์.
  27. สัตมวาร : [สัดตะมะวาน] น. วันที่ครบ ๗, วันทำบุญครบ ๗ วันของ ผู้ตาย.
  28. สกฏภาระ : [พาระ] น. ของบรรทุกเกวียน.
  29. กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
  30. กายทวาร : น. ทางกาย. (ป., ส. กาย + ทฺวาร).
  31. โขลนทวาร : [โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทําตามตําราพราหมณ์ คือทําเป็น ประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบน ร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพ ที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน).
  32. จันทวาร : [จันทะวาน] น. วันจันทร์, จันทรวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
  33. ชีว, ชีวะ : [ชีวะ] น. ชีพ, ความเป็นอยู่; พระพฤหัสบดี เช่น ชีววาร. (ป., ส.).
  34. ตติย- : [ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คํารบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคําอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).
  35. ทุติย- : [ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
  36. ปาวาร : [ปาวาน] (แบบ) น. ผ้าห่มใหญ่. (ป.; ส. ปฺราวาร).
  37. พาณวาร : น. เกราะ. (ส. วาณวาร).
  38. ศนิวาร : น. วันเสาร์, โสรวาร ก็ว่า. (ส.).
  39. สัตวาร : น. สัปดาห์หนึ่ง, ๗ วัน. (ป. สตฺตวาร).
  40. [1-39]

(0.0730 sec)