วาริ, วารี : น. นํ้า. (ป., ส.).
วาริช, วารีช :
ดู วาริ, วารี.
วาริท, วาริธร :
ดู วาริ, วารี.
บาทบ : [บา-ทบ] (แบบ) น. ต้นไม้ เช่น บรรดาที่เป็นบาทบชักตรลบเอารส วารี. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป., ส. ปาทป).
วารวาริ : [วาระ] น. ดอกชบา. (ช.).
วาร ๒, วาระ : [วาระ] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ใน ตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต.
วาร ๑ : [วาน] น. วันหนึ่ง ๆ ในสัปดาห์ เช่น อาทิตยวาร. (ป., ส.).
วาริพินทุ : น. หยาดนํ้า. (ป., ส.).
ขันธาวาร : [-ทาวาน] (แบบ) น. ค่าย, กองทัพ, เช่น เสด็จถึงขันธาวารประเทศ. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป.).
คุรุวาร : น. วันครู คือ วันพฤหัสบดี, ชีววาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า.
จันทรวาร : น. วันจันทร์, จันทวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
ชีววาร : น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า.
พฤหัสปติวาร : น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ ชีววาร ก็ว่า.
ภุมวาร, ภุมมวาร : [พุมมะวาน] น. วันอังคาร. (ป. ภุมฺมวาร).
อาทิจจวาร : น. วันอาทิตย์, สูรยวาร หรือ อาทิตยวาร ก็ว่า.
อาทิตยวาร : น. วันอาทิตย์, สูรยวาร หรือ อาทิจจวาร ก็ว่า.
มงคลวาร : [มงคนละวาน] น. วันดี, วันอังคาร.
มะวาร, มาวาร : น. กุหลาบ. (ช.).
วุธวาร : [วุดทะวาน] น. วันพุธ.
ศุกรวาร : น. วันศุกร์.
สัตมวาร : [สัดตะมะวาน] น. วันที่ครบ ๗, วันทำบุญครบ ๗ วันของ ผู้ตาย.
กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
กระษิร : [-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. น้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).
กายทวาร : น. ทางกาย. (ป., ส. กาย + ทฺวาร).
โขลนทวาร : [โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทําตามตําราพราหมณ์ คือทําเป็น ประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบน ร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพ ที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน).
จันทวาร : [จันทะวาน] น. วันจันทร์, จันทรวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
ชีว, ชีวะ : [ชีวะ] น. ชีพ, ความเป็นอยู่; พระพฤหัสบดี เช่น ชีววาร. (ป., ส.).
ตติย- : [ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คํารบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคําอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).
ทุติย- : [ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
ปาวาร : [ปาวาน] (แบบ) น. ผ้าห่มใหญ่. (ป.; ส. ปฺราวาร).
พาณวาร : น. เกราะ. (ส. วาณวาร).
วาริจร : น. สัตว์นํ้า. (ส.; ป. วาริโคจร).
ศนิวาร : น. วันเสาร์, โสรวาร ก็ว่า. (ส.).
สัตวาร : น. สัปดาห์หนึ่ง, ๗ วัน. (ป. สตฺตวาร).