วิชา : น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
ทวิช, ทวิช- : [ทะวิด, ทะวิชะ-] (แบบ) น. นก; พราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช ว่า ผู้เกิด ๒ หน).
ทิช-, ทิชะ : [ทิชะ-] (แบบ) น. ผู้เกิด ๒ ครั้ง คือ นก และพราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช).
วิชาบังคับเลือก : น. รายวิชาเลือกที่ทางภาควิชาบังคับให้เรียนใน หลักสูตร. (อ. elective prescribed course).
วิชาพื้นฐาน : น. รายวิชาที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของวิชาในระดับที่สูง ๆ ขึ้นไป. (อ. basic course).
วิชาอาคม : น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิชา อาคมให้ศิษย์, วิทยาคม ก็ว่า.
วิชาเอก : น. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งเป็นวิชาหลัก ตาม หลักสูตรปริญญาหรืออนุปริญญา. (อ. major course).
วิชาแกน : น. รายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรร่วมกันของหลายคณะหรือ หลายสาขาของปริญญาเดียวกัน ที่ผู้เรียนในคณะหรือสาขาเหล่านั้น จะต้องเรียน. (อ. core course).
วิชาบังคับ : น. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในหลักสูตรนั้น จะต้องเรียน. (อ. prescribed course).
วิชาบังคับพื้นฐาน : น. รายวิชาพื้นฐานที่บังคับให้เรียนในหลักสูตร. (อ. basic requirement).
วิชาเลือก : น. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้. (อ. elective course).
วิชาเลือกบังคับ : น. รายวิชาเลือกที่อาจารย์ที่ปรึกษาบังคับให้เรียน เป็นรายบุคคล. (อ. prescribed elective course).
วิชาเลือกเสรี : น. รายวิชาที่เลือกเรียนได้อย่างเสรี โดยผู้เรียนไม่ต้อง ถามอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน. (อ. free elective course).
ร้อนวิชา : (สํา) ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็น ปรกติ; เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษหรือคาถาอาคมจนผิด ปรกติวิสัย.
ศัพท์เฉพาะวิชา : น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นใช้ในแต่ละวิชา เช่น ปฏิชีวนะ ประสบการณ์ มลพิษ.
หลักวิชา : น. ความรู้ที่เป็นหลักของแต่ละวิชา.
เกษตรศาสตร์ : [กะเสดตฺระสาด] น. วิชาว่าด้วยเกษตรกรรม. (ส. เกฺษตฺร + ศาสฺตฺร = วิชา).
พัช : [พัด] น. วัช, คอก. (ป. วช).
พืช : น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป, พืชพันธุ์ ก็ใช้. (ป. พีช; ส. วีช); พรรณไม้ที่งอกอยู่ตามที่ต่าง ๆ, พืชพรรณ ก็ใช้.
วัช ๑ : (แบบ) น. วชะ, คอกสัตว์. (ป. วช).
ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
อุปเวท : [อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ ''พระเวทรอง'' ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรือ อาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็น สาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชา การดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).
กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
กระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชาย ที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้ง ต่างปีก สากตําข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).
กลศาสตร์ : [กนละ-] น. วิชาฟิสิกส์สาขาหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับ การกระทําของแรงต่อเทหวัตถุ และผลที่เกิดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้น ภายหลังที่ถูกแรงมากระทํา. (อ. mechanics).
กวด : ก. ทําให้แน่น ให้ตึง หรือให้เขม็งยิ่งขึ้น เช่น กวดเชือก กวดตะปู, เร่งรัดให้ดียิ่งขึ้นหรือเพื่อให้ทัน เช่น กวดวิชา วิ่งกวด. น. เหล็กเครื่องมือสําหรับกวดเลี่ยมขอบภาชนะ เรียกว่า เหล็กกวด.
การพา : (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านของเหลว หรือแก๊สโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของของเหลวหรือแก๊สเคลื่อนที่ไป. การเมือง น. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหาร ประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดําเนินนโยบาย ระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่งการเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่ อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงํา, มีการกระทําอันมีเจตนาอื่น แอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
กิมิวิทยา : น. วิชาว่าด้วยหนอน.
กีฏวิทยา : น. วิชาว่าด้วยแมลง. (อ. entomology).
กุมภา : (กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
ขึ้นครู : ก. ทําพิธีคํานับครูที่ประสาทวิชาให้เมื่อแรกเรียน.
เข้าตู้ : (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า ``วิชาเข้าตู้'' ซึ่ง หมายความว่า วิชาที่เคยจําได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ใน ตําราที่เก็บไว้ในตู้.
เข้าหม้อ : (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา.
เขียนไทย : น. วิชาเขียนภาษาไทยตามคําบอกของครู เพื่อฝึกเขียน ตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.
แขนง ๑ : [ขะแหฺนง] น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลําของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อย ที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์.
คชศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยช้าง มี ๒ ประเภท คือ คชลักษณ์ และ คชกรรม.
คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
คณิต, คณิต- : [คะนิด, คะนิดตะ-] น. การนับ, การคํานวณ, วิชาคํานวณ, มักใช้เป็น คําหลังของวิชาบางประเภท เช่น พีชคณิต เรขาคณิต.
คณิตศาสตร์ : [คะนิดตะสาด] น. วิชาว่าด้วยการคํานวณ. (ส. คณิต + ศาสฺตฺร).
คติชาวบ้าน : น. เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและ ประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่น ของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น.
ค้นคว้า : ก. หาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา, เสาะหาเอามา.
คนธรรพ-, คนธรรพ์ : [คนทันพะ-, คนทับพะ-, คนทัน] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชํานาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ).
คนธรรพศาสตร์ : [คนทับพะ-] น. วิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺวเวท ว่า วิชาดนตรี).
ครอบ ๒ : [คฺรอบ] ก. ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้, ถ่ายทอดความรู้ให้; ทําพิธีรับรอง ความรู้ เช่น ครูครอบศิษย์ (อย่างครูครอบศิษย์ด้วยหัวโขน).
ครุศาสตร์ : [คะรุสาด] น. วิชาว่าด้วยการสร้างพื้นฐานและความรู้ของ การเป็นครู ประกอบด้วยวิชาการศึกษาเป็นต้น.
ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
คหกรรมศาสตร์ : [คะหะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัว ด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม.
คัดไทย : น. วิชาคัดภาษาไทยตามที่ครูสั่ง.
คุรุศึกษา : น. การเล่าเรียนวิชาครู.