วิด : ก. อาการที่ทําให้นํ้าพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด หรือด้วย เครื่องวิดมีระหัดเป็นต้น เช่น วิดน้ำออกจากเรือ วิดน้ำออกจากบ้าน, ถ้าใช้วิธีอย่างเดียวกันนั้นถ่ายเทนํ้าจากที่หนึ่งเข้าสู่อีกที่หนึ่ง ใช้ว่า วิดเข้า เช่น วิดนํ้าเข้านา.
วิดพื้น : (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่ม ด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้น ไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับ ยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับ ทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไป อยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ.
โพง : ก. ตัก, วิด, เช่น โพงน้ำ. น. ชงโลง; ภาชนะสําหรับตักนํ้าในบ่อ ลึก ๆ, ถ้ามีคันถ่วงเพื่อให้เบาแรงเวลาตักขึ้น คันนั้นเรียกว่า คันโพง; ผีชนิดหนึ่งกล่าวกันว่าชอบกินของสดคาว; เรียกแมวตัวผู้ขนาดใหญ่.
โป่งวิด : น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ตัวสีนํ้าตาลลาย ขอบและหางตาสีขาว ปากยาวแหลม ตัวเมียขนาดใหญ่และสีเข้ม สวยกว่าตัวผู้ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ.
โกวิท : [-วิด] (แบบ) ว. ฉลาด, ชํานิชํานาญ, รอบรู้ในการอันใดอันหนึ่ง, เช่น อัศวโกวิท ว่า ผู้มีความชํานาญในเรื่องม้า. (ป., ส.).
นววิธ : [วิด] ว. ๙ ประการ, ๙ อย่าง. (ป.).
วิจฉิกะ : [วิด] น. แมงป่อง, มักใช้ว่า พฤศจิก. (ป.; ส. วฺฤศฺจิก).
วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
วิชชุ, วิชชุดา, วิชชุตา : [วิด] น. แสงไฟฟ้า, สายฟ้า. (ป.; ส. วิทฺยุตฺ).
วิจยุต : [วิดจะยุด] ก. ตกไปแล้ว, หลุดไปแล้ว. (ส. วิจฺยุต).
วิชชุลดา : [วิดชุละ] น. สายหรือประกายไฟฟ้า, สายฟ้าแลบ. (ป. วิชฺชุลฺลตา; ส. วิทฺยุลฺลตา); ''ชื่อกาพย์ประเภทหนึ่ง, คู่กับ มหาวิชชุลดา.
วิชญะ : [วิดยะ] น. ผู้รู้, ผู้ฉลาด, ปราชญ์. (ส.).
วิชนี : [วิดชะ] น. วีชนี. (ป. วีชนี; ส. วีชน).
วิตถาร : [วิดถาน] ว. กว้างขวาง, มากเกินไป, พิสดาร. (ป.; ส. วิสฺตาร); นอกแบบ, นอกทาง, (เกินวิสัยปรกติ) เช่น พวกเด็ก ๆ ชอบเล่น วิตถาร เอาน้ำสกปรกผสมแป้งสาดเข้าไปในรถประจำทาง ในวันสงกรานต์.
วิทย : [วิดทะยะ] น. วิทยา.
วิทยา : [วิดทะยา] น. ความรู้, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิทยากร วิทยาคาร จิตวิทยา สังคมวิทยา. (ส.).
วิทยุ : [วิดทะยุ] น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตาม อากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสู่อากาศว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียง ตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ.
วิทยุต : [วิดทะยุด] น. ฟ้าแลบ, ไฟฟ้า. (ส.; ป. วิชฺชุ).
วิทรุมะ : [วิดทฺรุมะ] น. แก้วประพาฬสีแดง. (ส. วิทฺรุม).
วิทวัส : [วิดทะวัด] น. ผู้รู้, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา. (ส.; ป. วิทฺวา).
วิศรุต : [วิดสะรุด] ว. มีชื่อเสียง, ปรากฏ. (ส. วิศฺรุต; ป. วิสฺสุต).
วิศว : [วิดสะวะ] ว. ทั้งหมด, ทั้งปวง. (ส. วิศฺว; ป. วิสฺส).
วิศวกร : [วิดสะวะกอน] น. ผู้ประกอบงานวิศวกรรม.
วิศวกรรม : [วิดสะวะกํา] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชํานาญในการช่าง ทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนําความรู้ทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.
วิศวกรรมศาสตร์ : [วิดสะวะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวกับการนํา ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ มีหลายสาขา เช่น วิศวกรรมโยธาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล. (อ. engineering).
วิษณุ : [วิดสะนุ] น. พระนารายณ์. (ส.).
กร้อ : น. เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดน้ำเรือ เช่น ส่วนตัวมึงคือกร้อ แต่งไว้วิดเรือ. (โคลงกวี), สามัญ เรียกว่า ตะกร้อ. (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห). (รูปภาพ กร้อ)
กระยาง ๑ : น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดน้ำเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์).
กะโซ้ ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องวิดน้ำรูปร่างคล้ายเรือครึ่งท่อน, โชงโลง.
กามวิตถาร : [กามวิดถาน] น. การประกอบกามกิจที่ผิดปรกติวิสัย เช่น รักร่วมเพศ, การทรมานตนหรือผู้อื่นก่อนหรือในระหว่างร่วมเพศ. ว. ผิดปรกติทางเพศเช่นนั้น.
ขวัดขวิด : [ขฺวัดขฺวิด] ก. กวัดไกว เช่น เท้ากวัดขวัดขวิดคือควัน. (ม. ฉันท์ มหาราช).
ขวิด ๑ : [ขฺวิด] ก. กิริยาของหมูป่าหรือสัตว์ที่ใช้เขาหรือนอทําร้าย, เสี่ยว, ชน. ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.
ขวิด ๒ : [ขฺวิด] น. มะขวิด.
แครง ๑ : [แคฺรง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Anadara granosa ในวงศ์ Arcidae ตัวป้อม ๆ กาบมีสันและร่อง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณที่มีโคลน ปนทราย; ภาชนะสําหรับวิดนํ้า รูปคล้ายกาบหอยแครง, ถ้าใช้วิดนํ้าใน สวน มีด้ามยาว, ถ้าใช้วิดนํ้าเรือ ไม่มีด้าม.
โฆรวิส : [โคระวิด] น. งูพิษ. ว. มีพิษร้าย. (ป.).
ชงโลง ๑ : น. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวน เข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่นอีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง). (รูปภาพ ชงโลง)
ชาติพันธุ์วิทยา : [ชาดติพันวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์ กําเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของเชื้อชาติต่าง ๆ. (อ. ethnology).
โชงโลง : น. เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้า กับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, ชงโลง ก็ว่า, (ถิ่นอีสาน) กะโซ้.
ญาณวิทยา : [ยานะวิดทะยา, ยานนะวิดทะยา] น. ปรัชญาสาขาหนึ่ง ว่าด้วยกําเนิดลักษณะและความถูกต้องแห่งความรู้ ตลอดจนวิธีหา ความรู้. (อ. epistemology).
ตะกร้อ : [-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สําหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทําด้วยไม้หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมี ฟันสําหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สําหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้น เนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้า ข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สําหรับสวมปากม้า หรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.
ทวิช, ทวิช- : [ทะวิด, ทะวิชะ-] (แบบ) น. นก; พราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช ว่า ผู้เกิด ๒ หน).
นรีเวชวิทยา : [เวดวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยโรคเกี่ยวกับระบบการ สืบพันธุ์ของสตรี.
นิเวศวิทยา : [นิเวดสะวิดทะยา, นิเวดวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม; (มานุษย) การศึกษาเกี่ยวกับการดัดแปลงวัฒนธรรมของมนุษย์ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม. (อ. ecology).
ปฐพีวิทยา : [ปะถะพีวิดทะยา, ปัดถะพีวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน. (อ. pedology).
ปรสิตวิทยา : [ปะระสิดตะวิดทะยา, ปะระสิดวิดทะยา] (แพทย์) น. วิชาที่ว่าด้วยพยาธิ.
ประวิช : [ปฺระวิด] น. แหวน.
ประวิตร : [ปฺระวิด] ว. บพิตร; บริสุทธิ์, สะอาด.
ปวิช : [ปะวิด] น. ประวิช.
ปวิตร : [ปะวิด] น. บพิตร.
ปวิธ : [ปะวิด] ก. บพิธ. (ป. ป + วิ + ธา).