บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
วิทยา : [วิดทะยา] น. ความรู้, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิทยากร วิทยาคาร จิตวิทยา สังคมวิทยา. (ส.).
ศาสตร, ศาสตร์ : [สาดตฺระ, สาดสะตฺระ, สาด] น. ระบบวิชาความรู้, มักใช้ ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์. (ส.).
วิทยาธร : น. พิทยาธร. (ส.).
เนติบัณฑิต : น. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียน กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสํานักศึกษา อบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา.
ดุษฎีบัณฑิต : น. ปริญญาเอก; ผู้ได้รับปริญญาเอก.
นักษัตรวิทยา : น. วิชาดาว, โหราศาสตร์. (ส.).
ภารตวิทยา : น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).
มหาบัณฑิต : น. ปริญญาโท; ผู้ได้รับปริญญาโท.
สัทวิทยา : [สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษา โดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).
อัธยาตมวิทยา : [อัดทะยาดตะมะวิดทะยา] (โบ) น. วิชาว่าด้วยจิต, ปัจจุบันใช้ว่า จิตวิทยา. (ส.).
กาแล็กโทส : (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีรสหวาน น้อยกว่าน้ำตาลทราย หลอมละลายที่ ๑๖๕ ?ซ-๑๖๘ ?ซ. โมเลกุล ของกาแล็กโทสเชื่อมโยงกับโมเลกุลของกลูโคสเป็นโมเลกุล ของแล็กโทสซึ่งมีในน้ำนม. (อ. galactose).
กำลังม้า : (วิทยา) น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คืออัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุต-ปอนด์ ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า. (อ. horse power).
ของไหล : (วิทยา) น. สสารซึ่งมีรูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะที่รองรับ ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส.
ความชื้น : (วิทยา) น. ปริมาณไอนํ้าที่มีอยู่ในอากาศ.
ความเร่ง : (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. acceleration).
ความเร็ว : (วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อ ๑ หน่วยเวลา โดยระบุบ่งทิศทาง ของการเคลื่อนที่ด้วย. (อ. velocity).
ความหน่วง : (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่ลดลงเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. retardation).
เครื่องอังทราย : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถาดบรรจุ ทราย ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยวิธีตั้งสิ่งนั้น บนถาดทราย แล้วเผาก้นถาดให้ร้อนจัด. (อ. sand bath).
เครื่องอังน้ำ : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้า ทําด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อน เหลื่อมกัน ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดย วิธีตั้งสิ่งนั้นบนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อน ส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
งาน ๓ : (วิทยา) น. ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ คำนวณได้จากผลคูณ ของแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่.
แซ็กคาริน : (วิทยา) น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2CONH ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่า ของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทน นํ้าตาลทรายสําหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. (อ. saccharin).
ไดแซ็กคาไรด์ : (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาลที่ประกอบด้วย โมโนแซ็กคาไรด์ ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน มีสูตรโมเลกุล C12H22O11. (อ. disaccharide).
พลังงาน : (วิทยา) น. ความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้ แรงงานได้. (อ. energy).
มอลโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐-๑๖๕ ? ซ. องค์ประกอบเป็น กลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่ง นํ้ามีในข้าวมอลต์ ทําปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่าตาลทราย. (อ. maltose).
โมโนแซ็กคาไรด์ : (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาล ส่วนมากเป็นพวกที่มี สูตรโมเลกุล C6H12O6 (hexoses)หรือ C5H10O5 (pentoses), มอโนแซ็กคาไรด์ ก็ว่า. (อ. monosaccharide).
ยืดหยุ่น : (วิทยา) ว. ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้ หลังจากแรงที่มากระทําต่อวัตถุนั้นหยุดกระทํา; โดยปริยายหมายความ ว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้.
แรง ๒ : (วิทยา) น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุ ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง.
แล็กโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๒๐๓?ซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุล ของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของกาแล็กโทส มีปรากฏในนํ้านม ของคนและสัตว์ทุกชนิด มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย. (อ. lactose).
สนามไฟฟ้า : (วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจไฟฟ้า, บริเวณที่มีเส้นแรง ไฟฟ้าผ่าน.
สนามแม่เหล็ก : (วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจแม่เหล็ก, บริเวณที่มีเส้น แรงแม่เหล็กผ่าน.
สมบัติ ๒ : (วิทยา) น. ลักษณะประจําของสาร เช่น ไอโอดีน มีสมบัติเป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาดําเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๑๑๔ ?ซ. เมื่อระเหิดให้ไอสีม่วง.
หลอมละลาย, หลอมเหลว : (วิทยา) ก. เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็น ของเหลว. น. เรียกอุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวว่า จุดหลอมละลาย จุดหลอมเหลว ขีดหลอมละลาย หรือ ขีดหลอมเหลว.
อัตราเร็ว : (วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยไม่คํานึงถึงทิศทางของการเคลื่อนที่. (อ. speed).
กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
กรวย ๑ : น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วย แป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตองว่า ขนม กรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสําหรับ ถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์ และกรวยคู่สวด; (วิทยา) รูปตันมีลักษณะฐานกลมและแหลมเรียว ไปโดยลําดับ เรียกว่า รูปกรวย. (อ. cone).
กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
กระเปาะ :
น. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็น หัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ๒), (วิทยา) ส่วนของหลอดแก้ว ที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.
กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
กลูโคส : [กฺลู-] (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๔๖ ? ซ. มีในผลองุ่นสุก น้ำผึ้ง และผลไม้โดยมากที่มีรสหวาน เป็นองค์ระกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็น โรคเบาหวาน มีรสหวานน้อยกว่าน้าตาลทราย, เดกซ์โทรส ก็เรียก. (อ. glucose).
กังหัน : น. สิ่งที่ประกอบด้วยใบพัดหมุนได้ด้วยกําลังลม, จังหัน ก็ว่า, โดยปริยายเรียกเครื่องหมุนบางชนิดมีรูปทํานองกังหัน ทําให้เกิดกําลังงาน เช่น กังหันน้ำ คือเครื่องหมุนด้วยกําลังน้ำ, กังหันลม คือเครื่องหมุนด้วยกําลังลม, กังหันไอน้ำ คือเครื่องหมุน ด้วยกําลังไอน้ำ; (วิทยา) ใช้เรียกเครื่องจักรที่หมุนอย่างกังหัน; ชื่อดอกไม้ไฟชนิดที่จุดแล้วหมุนอย่างกังหัน, ลักษณนามว่าต้น. (ข. กงฺหาร).
ก๊าซ : น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและ ปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการ จุดอะเซทิลีน ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทําปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟก๊าซ, แก๊ส ก็ว่า. (อ. gas).
กำมะถัน : น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา ทําดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และ ยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็น องค์ประกอบด้วย. (อ. sulphur).
เกลือ : [เกฺลือ] น. วัตถุที่มีรสเค็ม ใช้ประกอบอาหารเป็นต้น โดยทั่วไป ได้มาจากน้ำทะเล, เกลือสมุทร ก็เรียก; (วิทยา) สารประกอบซึ่ง ประกอบด้วยโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะกับอนุมูลกรด.
แก๊ส : น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและ ปริมาตรไม่คงที่ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการ จุดอะเซทิลีน (acetylene) ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำ ปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟแก๊ส, ก๊าซ ก็ว่า. (อ. gas).
ของแข็ง : น. สิ่งที่รวมตัวกันแน่น, สิ่งที่มิใช่ของเหลวหรือแก๊ส; (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีทั้งรูปร่างและปริมาตรคงตัว.
ของเหลว : น. ของที่ไม่แข็งมีลักษณะไหลได้อย่างนํ้า; (วิทยา) สถานะ หนึ่งของสสารซึ่งมีปริมาตรคงตัวแต่รูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะ ที่รองรับ, สถานะระหว่างแก๊สกับของแข็ง.
ควัน : [คฺวัน] น. สิ่งที่เห็นเป็นสีดําหรือขาวคล้ายหมอกลอยออกมาจากของที่ กําลังไหม้ไฟ หรือจากการเผาไหม้, สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (วิทยา) แก๊สที่มีอนุภาคละเอียดของของแข็งแขวนลอยอยู่.
ซูโครส : [โคฺร้ด] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐บซ. องค์ประกอบ เป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทําจากต้นอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. (อ. sucrose).
ณ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๑๙ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น คุณ บัณฑิต.