Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิทย , then พิทย, วทย, วิทย, วิทยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วิทย, 69 found, display 1-50
  1. วิทย : [วิดทะยะ] น. วิทยา.
  2. วิทย : [วิดทะยา] น. ความรู้, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิทยากร วิทยาคาร จิตวิทยา สังคมวิทยา. (ส.).
  3. พิทย, พิทย์, พิทยา : [พิดทะยะ, พิด, พิดทะยา] น. ความรู้. (ส. วิทฺยา; ป. วิชฺชา).
  4. วิทยาธร : น. พิทยาธร. (ส.).
  5. นักษัตรวิทย : น. วิชาดาว, โหราศาสตร์. (ส.).
  6. ภารตวิทย : น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).
  7. สัทวิทย : [สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษา โดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).
  8. อัธยาตมวิทย : [อัดทะยาดตะมะวิดทะยา] (โบ) น. วิชาว่าด้วยจิต, ปัจจุบันใช้ว่า จิตวิทยา. (ส.).
  9. กาแล็กโทส : (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีรสหวาน น้อยกว่าน้ำตาลทราย หลอมละลายที่ ๑๖๕ ?ซ-๑๖๘ ?ซ. โมเลกุล ของกาแล็กโทสเชื่อมโยงกับโมเลกุลของกลูโคสเป็นโมเลกุล ของแล็กโทสซึ่งมีในน้ำนม. (อ. galactose).
  10. กำลังม้า : (วิทยา) น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คืออัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุต-ปอนด์ ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า. (อ. horse power).
  11. ของไหล : (วิทยา) น. สสารซึ่งมีรูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะที่รองรับ ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส.
  12. ความชื้น : (วิทยา) น. ปริมาณไอนํ้าที่มีอยู่ในอากาศ.
  13. ความเร่ง : (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. acceleration).
  14. ความเร็ว : (วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อ ๑ หน่วยเวลา โดยระบุบ่งทิศทาง ของการเคลื่อนที่ด้วย. (อ. velocity).
  15. ความหน่วง : (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่ลดลงเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. retardation).
  16. เครื่องอังทราย : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถาดบรรจุ ทราย ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยวิธีตั้งสิ่งนั้น บนถาดทราย แล้วเผาก้นถาดให้ร้อนจัด. (อ. sand bath).
  17. เครื่องอังน้ำ : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้า ทําด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อน เหลื่อมกัน ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดย วิธีตั้งสิ่งนั้นบนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อน ส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
  18. งาน ๓ : (วิทยา) น. ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ คำนวณได้จากผลคูณ ของแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่.
  19. แซ็กคาริน : (วิทยา) น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2•CONH ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐ เท่า ของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทน นํ้าตาลทรายสําหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก. (อ. saccharin).
  20. ไดแซ็กคาไรด์ : (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาลที่ประกอบด้วย โมโนแซ็กคาไรด์ ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน มีสูตรโมเลกุล C12H22O11. (อ. disaccharide).
  21. พลังงาน : (วิทยา) น. ความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้ แรงงานได้. (อ. energy).
  22. มอลโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐-๑๖๕ ? ซ. องค์ประกอบเป็น กลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่ง นํ้ามีในข้าวมอลต์ ทําปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่าตาลทราย. (อ. maltose).
  23. โมโนแซ็กคาไรด์ : (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาล ส่วนมากเป็นพวกที่มี สูตรโมเลกุล C6H12O6 (hexoses)หรือ C5H10O5 (pentoses), มอโนแซ็กคาไรด์ ก็ว่า. (อ. monosaccharide).
  24. ยืดหยุ่น : (วิทยา) ว. ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้ หลังจากแรงที่มากระทําต่อวัตถุนั้นหยุดกระทํา; โดยปริยายหมายความ ว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้.
  25. แรง ๒ : (วิทยา) น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุ ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง.
  26. แล็กโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๒๐๓?ซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุล ของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของกาแล็กโทส มีปรากฏในนํ้านม ของคนและสัตว์ทุกชนิด มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย. (อ. lactose).
  27. สนามไฟฟ้า : (วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจไฟฟ้า, บริเวณที่มีเส้นแรง ไฟฟ้าผ่าน.
  28. สนามแม่เหล็ก : (วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจแม่เหล็ก, บริเวณที่มีเส้น แรงแม่เหล็กผ่าน.
  29. สมบัติ ๒ : (วิทยา) น. ลักษณะประจําของสาร เช่น ไอโอดีน มีสมบัติเป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาดําเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๑๑๔ ?ซ. เมื่อระเหิดให้ไอสีม่วง.
  30. หลอมละลาย, หลอมเหลว : (วิทยา) ก. เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็น ของเหลว. น. เรียกอุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวว่า จุดหลอมละลาย จุดหลอมเหลว ขีดหลอมละลาย หรือ ขีดหลอมเหลว.
  31. อัตราเร็ว : (วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยไม่คํานึงถึงทิศทางของการเคลื่อนที่. (อ. speed).
  32. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  33. กรวย ๑ : น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วย แป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตองว่า ขนม กรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสําหรับ ถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์ และกรวยคู่สวด; (วิทยา) รูปตันมีลักษณะฐานกลมและแหลมเรียว ไปโดยลําดับ เรียกว่า รูปกรวย. (อ. cone).
  34. กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
  35. กระเปาะ : น. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็น หัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ๒), (วิทยา) ส่วนของหลอดแก้ว ที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.
  36. กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
  37. กลูโคส : [กฺลู-] (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๔๖ ? ซ. มีในผลองุ่นสุก น้ำผึ้ง และผลไม้โดยมากที่มีรสหวาน เป็นองค์ระกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็น โรคเบาหวาน มีรสหวานน้อยกว่าน้าตาลทราย, เดกซ์โทรส ก็เรียก. (อ. glucose).
  38. กังหัน : น. สิ่งที่ประกอบด้วยใบพัดหมุนได้ด้วยกําลังลม, จังหัน ก็ว่า, โดยปริยายเรียกเครื่องหมุนบางชนิดมีรูปทํานองกังหัน ทําให้เกิดกําลังงาน เช่น กังหันน้ำ คือเครื่องหมุนด้วยกําลังน้ำ, กังหันลม คือเครื่องหมุนด้วยกําลังลม, กังหันไอน้ำ คือเครื่องหมุน ด้วยกําลังไอน้ำ; (วิทยา) ใช้เรียกเครื่องจักรที่หมุนอย่างกังหัน; ชื่อดอกไม้ไฟชนิดที่จุดแล้วหมุนอย่างกังหัน, ลักษณนามว่าต้น. (ข. กงฺหาร).
  39. ก๊าซ : น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและ ปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการ จุดอะเซทิลีน ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทําปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟก๊าซ, แก๊ส ก็ว่า. (อ. gas).
  40. กำมะถัน : น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา ทําดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และ ยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็น องค์ประกอบด้วย. (อ. sulphur).
  41. เกลือ : [เกฺลือ] น. วัตถุที่มีรสเค็ม ใช้ประกอบอาหารเป็นต้น โดยทั่วไป ได้มาจากน้ำทะเล, เกลือสมุทร ก็เรียก; (วิทยา) สารประกอบซึ่ง ประกอบด้วยโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะกับอนุมูลกรด.
  42. แก๊ส : น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและ ปริมาตรไม่คงที่ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการ จุดอะเซทิลีน (acetylene) ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำ ปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟแก๊ส, ก๊าซ ก็ว่า. (อ. gas).
  43. ของแข็ง : น. สิ่งที่รวมตัวกันแน่น, สิ่งที่มิใช่ของเหลวหรือแก๊ส; (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีทั้งรูปร่างและปริมาตรคงตัว.
  44. ของเหลว : น. ของที่ไม่แข็งมีลักษณะไหลได้อย่างนํ้า; (วิทยา) สถานะ หนึ่งของสสารซึ่งมีปริมาตรคงตัวแต่รูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะ ที่รองรับ, สถานะระหว่างแก๊สกับของแข็ง.
  45. ควัน : [คฺวัน] น. สิ่งที่เห็นเป็นสีดําหรือขาวคล้ายหมอกลอยออกมาจากของที่ กําลังไหม้ไฟ หรือจากการเผาไหม้, สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (วิทยา) แก๊สที่มีอนุภาคละเอียดของของแข็งแขวนลอยอยู่.
  46. ซูโครส : [–โคฺร้ด] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐บซ. องค์ประกอบ เป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทําจากต้นอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. (อ. sucrose).
  47. ด่าง ๑ : น. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สําหรับทํายาและกัดสิ่งของ; (วิทยา) สารประกอบจําพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลาย นํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.
  48. ด่างทับทิม : น. ของสิ่งหนึ่งเป็นเกล็ด สีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้าจะออกเป็นสี ทับทิม; (วิทยา) เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต มีสูตร KMnO4 เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึกสีม่วงแก่ ใช้ประโยชน์เป็น สารฆ่าเชื้อโรค ใช้ทํายาดับกลิ่น.
  49. ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
  50. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  51. [1-50] | 51-69

(0.0631 sec)