ควิว ๆ : [คฺวิว] (กลอน) ว. อาการที่ใจหวิว ๆ เช่น ควิวควิวอกควากคว้าง ลมลอยแลแม่. (นิ. นรินทร์).
ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง : [-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจ รู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).
ควั่งคว้าง : [คฺวั่งคฺว้าง] (กลอน) ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียนเป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด. (กำสรวล).
พิพรรธ : ก. พิพัฒ. (ส. วิวรฺธ; ป. วิวฑฺฒ).
พิพรรธน์ : น. พิพัฒน์. (ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).
พิพัฒ : ก. เจริญแล้ว. (ป. วิวฑฺฒ; ส. วิวรฺธ).
พิพัฒน์ : น. ความเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน).
วิวรรธน์ : น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลายไปในทางเจริญ. (ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).
วิวัฏ : น. พระนิพพาน. (ป. วิวฏฺฏ).
วิวัฒน, วิวัฒน์ : [วัดทะนะ, วัด] น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลาย ไปในทางเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน)
เววัณ : ว. ต่างวรรณะกัน. (ป. วิวณฺณ, เววณฺณ; ส. วิวรฺณ).
ไววรรณ : น. สีจาง, สีซีด. (ส. วิวรฺณ).
สรเหนาะ, สระเหนาะ : [สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสารวังเวงใจ อาลัยถึง).
แว่ว : ก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น, ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.