ว : พยัญชนะตัวที่ ๓๗ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น เช่น วัน วา ใช้ควบกล้ำ กับพยัญชนะตัวอื่นบางตัว เช่น กว่า ความ และใช้เป็นตัวสะกดใน แม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว.
วสันต, วสันต์ : [วะสันตะ, วะสัน] น. ฤดูใบไม้ผลิในคำว่า ฤดูวสันต์, วสันตฤดู ก็ว่า.(ป., ส.).
วยัญชนะ : น. พยัญชนะ. (ส. วฺย?ฺชน; ป. วฺย?ฺชน, พฺย?ฺชน).
วยากรณ์ : น. พยากรณ์. (ป., ส. วฺยากรณ).
วยามะ : น. มาตราวัด ยาวเท่ากับ ๑ วา. (ป. วฺยาม, พฺยาม; ส. วฺยาม).
วยายาม : น. พยายาม. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).
วรางคณา : น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.).
วสันตฤดู : น. ฤดูใบไม้ผลิ, ฤดูวสันต์ ก็ว่า.
ตะแหง่ว, ตะแหง่ว ๆ : ว. รบเร้าออดอ้อนเรื่อยไปจนน่ารําคาญ.
โว่ : ว. เป็นช่องเป็นรูที่แลเห็นลึกหรือทะลุ เช่น หม้อทะลุเป็นรูโว่ กางเกงถูกบุหรี่จี้ขาดโว่, โหว้ ก็ใช้.
แอ้วแซ่ว : ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะ ที่หมดกําลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคําว่า นอนแอ้วแซ่ว, แซ่ว ก็ว่า.
ธนิต : ว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).
อโฆษะ : ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียง ไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระ ในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).
กระแหม่ว : [-แหฺม่ว] ก. แขม่ว, ผ่อนลมหายใจให้ท้องยุบลง, บังคับกล้ามเนื้อท้องให้ท้องยุบลง. (แผลงมาจาก แขม่ว).
ดิ้วเดี้ยว : ก. อ่อนหิวนัก.
บดีพรต, บดีวรดา : น. การประพฤติซื่อสัตย์ต่อผัว คือ หญิงมอบตัว แก่ผัวเท่านั้น, ถ้าเป็นชายก็ว่า สทารสันโดษ คือ ยินดีแต่เมียตนเท่า นั้น (ส. ปติวฺรต, ปติวฺรตา).
พ : พยัญชนะตัวที่ ๓๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคํา ที่มาจากบาลีและสันสกฤต เช่น ภพ ภาพ สรรพ ผลลัพธ์.
ก้นปิด : ว. เรียกใบไม้ที่มีก้านติดอยู่ภายในของใบ เช่น ใบบัว ใบมะละกอ ว่า ใบก้นปิด.
ก้นแมลงสาบ : ว. แหลมมนอย่างก้นแมลงสาบ, เรียกเครื่องมือเหล็ก ที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เหล็กก้นแมลงสาบ.
ก้นหนัก : ว. ไปนั่งคุยอยู่นาน ไม่ยอมกลับง่าย ๆ.
กบ ๖ : ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ.
กร้วม : ว. เสียงเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็ง กระทบกันอย่างแรง.
กรอ ๔ : ว. ยากจน, เข็ญใจ, ฝืดเคือง, ในคำว่า เบียดกรอ. (ข. กฺร ว่า ยาก, ลำบาก).
กร็อกกร๋อย : ว. ไม่ชุ่มชื่น, ไม่สมบูรณ์.
กรองกรอย : ว. ไม่ชุ่มชื่น, ไม่สมบูรณ์; ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), ตองตอย ก็ใช้; (กลอน; ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตกอับ, แร้นแค้น, เช่น ผัวเมียสองคนจนกรองกรอย. (สังข์ทอง).
กรอบ ๒ : ว. แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย, เปราะ; (ปาก) แทบดํารงตน ไปไม่รอด เช่น จนกรอบ.
กรอบแกรบ : ว. เต็มที เช่น แห้งกรอบแกรบ จนกรอบแกรบ; มีเสียงดังอย่างเสียงเหยียบถูกของแห้งหรือกรอบ.
กระงกกระเงิ่น : ว. งก ๆ เงิ่น ๆ.
กระง่องกระแง่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรง ทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
กระง่อนกระแง่น : ว. คลอนแคลน, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง, ง่อนแง่น ก็ว่า.
กระเง้ากระงอด : ว. กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, เง้างอด หรือ เง้า ๆ งอด ๆ ก็ว่า.
กระจอก ๓ : ว. เขยก (ใช้แก่ขา). (ข. ขฺจก ว่า ขาพิการ); (ปาก) ไม่สำคัญ, เล็กน้อย, เช่น เรื่องกระจอก, .ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก.
กระจอกงอกง่อย : ว. ยากจนเข็ญใจ.
กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
กระจองหง่อง, กระจ๋องหง่อง : ว. อาการที่นั่งยอง ๆ จ้องดู.
กระจองอแง : ว. เสียงเด็กที่ร้องไห้ ก่อให้เกิดความรําคาญ, ใช้เรียกลูกเด็กเล็ก แดงหรือที่ยังต้องอุ้มต้องจูงอยู่ว่า ลูกกระจองอแง.
กระจ้อน ๒ : ว. เล็ก, ไม่โต.
กระจ้อย : ว. จ้อย, เล็กน้อย, เช่น เดินร่อยเรี่ยงามตรูกระจ้อย. (ประพาสธารทองแดง).
กระจ้อยร่อย : ว. จ้อย, น้อย ๆ, เล็กนิด.
กระจะ : ว. แจ่มแจ้ง, ชัดเจน.
กระจัด ๒ : ว. กระจะ, จะจะ, ชัด, เช่น ฝ่ายล่ามบอกออกอรรถกระจัดแจ้ง. (อภัย).
กระจัดกระจาย : ว. เรี่ยรายไป, แตกฉานซ่านเซ็นไป, ไม่รวมอยู่ในพวกเดียวกัน. (แผลงมาจาก ขจัดขจาย).
กระจิด : ว. เล็กน้อย เช่น ตัวกระจิดนิดกว่าแมว. (ประพาสธารทองแดง).
กระจิ๋ว : ว. เล็ก ๆ, จิ๋ว.
กระจุกกระจิก : ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋า ถือมีแต่ของกระจุกกระจิก, จุกจิก ก็ว่า.
กระจุกกระจุย : ว. กระจายจากกันอย่างสับสนไม่เป็นระเบียบ.
กระจุ๋มกระจิ๋ม : ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ น่าเอ็นดู, จุ๋มจิ๋ม ก็ว่า.
กระจุย : ว. กระจายออกยุ่งไม่เป็นระเบียบ, นิยมใช้เข้าคู่กับ กระจุก เป็น กระจุกกระจุย.
กระจุยกระจาย : ว. กระจายยุ่งเหยิง.
กระเจอะกระเจิง, กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น เฒ่าก็เที่ยวสัญจร กระเจอะกระเจิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กองทัพข้าศึกถูกตีแตก กระเจิดกระเจิงไป.