Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศว , then ศพ, ศว, ษว, สว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ศว, 124 found, display 1-50
  1. ศพ : น. ซากผี, ร่างคนที่ตายแล้ว. (ส. ศว; ป. ฉว).
  2. สว : [สะวะ] น. ของตนเอง. (ส.; ป. สก).
  3. ฉวะ : [ฉะวะ] (แบบ) น. ร่างสัตว์หรือคนที่ตายแล้ว, ซากศพ. (ป.; ส. ศว).
  4. ศพละ : [สะพะละ] ว. หลายสี, ด่าง, ลาย, พร้อย, กระ; วุ่น, รําคาญ. (ส.; ป. สพล).
  5. เครื่องสุกำศพ : น. สิ่งของที่ใช้ในการทําสุกําศพ มีผ้าขาว ด้ายดิบ กระดาษฟาง นํ้ายาฟอร์มาลิน.
  6. เปลื้องเครื่องสุกำศพ : ก. เปลื้องผ้าขาวที่ห่อศพออกแล้วนําผ้าขาว นั้นและสิ่งปฏิกูลภายในโกศ เช่น กระดาษฟางไปเผาพร้อมบุพโพ แล้วเอาผ้าขาวอีกผืนหนึ่งห่อศพให้ใหม่.
  7. เฝ้าศพ : ก. อยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพในงานศพ.
  8. ล้างหน้าผี, ล้างหน้าศพ : ก. ผ่ามะพร้าวห้าวให้น้ำรดลงไปบนหน้า ศพก่อนเผา.
  9. แย่งกันเป็นศพมอญ : (สำ) ก. ยื้อแย่งกัน (ใช้ในความเปรียบเทียบ).
  10. ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Euphorbia cyathophora Murr. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใช้ทํายาได้, ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก ก็เรียก.
  11. ศว : น. ศพ. (ส.; ป. ฉว).
  12. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  13. กระจับ ๑ : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Trapa bicornis Osbeck ในวงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดําแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ; เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้ายฝัก กระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสําหรับยันคาง ศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกัน อวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.
  14. กฤษฎาธาร : [กฺริดสะดาทาน] น. พระที่นั่งที่ทําขึ้นสําหรับเกียรติยศ (?) เช่น พระมหาพิชัยราชรถกฤษฎาธาร. (เรื่องพระบรมศพ).
  15. กลิ้ง : [กฺลิ้ง] ก. อาการอย่างของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น ซุงกลิ้ง ครกกลิ้ง ลูกหินกลิ้ง, ทําให้ของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น กลิ้งครก กลิ้งซุง กลิ้งลูกหิน; โดยปริยายหมายความว่า คล่อง, ไม่มีติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. (โบ) น. ร่ม เช่น เมลืองมล่านกลิ้งเพรื้อม เพรอศพราย. (ยวนพ่าย). (มลายู giling ว่า กลิ้ง, คลึง, มวน).
  16. กองเกียรติยศ : น. กองทหารหรือตํารวจเป็นต้น ที่จัดขึ้นเพื่อให้ เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสําคัญ ศพทหารตํารวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล.
  17. กองฟอน : น. กองขี้เถ้าศพที่เผาแล้ว.
  18. กาจับหลัก ๑ : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
  19. การ์ด : (ปาก) น. บัตรเชิญในโอกาสต่าง ๆ เช่น การ์ดแต่งงาน การ์ดงานศพ.
  20. กุฏิ ๒ : [กุด] น. ที่บรรจุศพที่ก่ออิฐถือปูนเป็นหลัง ๆ; เรือนที่ทําให้นกขุนทองนอน. (เทียบทมิฬ กูฏุ ว่า รังนก).
  21. โกศ ๑ : [โกด] น. ที่ใส่ศพนั่ง เป็นรูปกลมทรงกระบอก ฝาครอบมียอด, ที่ใส่กระดูกผี มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด; คลัง. (ส.).
  22. ขนัน ๒ : [ขะหฺนัน] ก. กัน, บัง, ขวาง, เช่น ขนันนํ้า; วง, ล้อม, เช่น ล้อมขนัน; ผูก, รัด, เช่น ขนันศพเด็ก. ว. ขัน.
  23. ขมา : [ขะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ เช่น ไปขมาศพ. น. การยกโทษให้ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น ขอขมา, ษมา ก็ใช้. (ป.; ส. กฺษมา).
  24. ของชำร่วย : น. ของตอบแทนผู้มาช่วยงานเช่นงานแต่งงานและงานศพ.
  25. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  26. ขุด : ก. กิริยาที่สับ เจาะ แทง หรือ คุ้ยเอาดินหรือสิ่งที่อยู่ในดินขึ้น เช่น ขุดดิน ขุดศพ, อาการที่ขุดดินหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีรูปร่างตามที่ ต้องการ เช่น ขุดหลุม; เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือ ให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน ว่า เรือขุด; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขุดเรื่องเก่า ๆ ขึ้นมาพูด, ขุดคุ้ย หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
  27. เข้าโกศ : ก. บรรจุศพลงในโกศ, ลงโกศ ก็ว่า.
  28. เครื่องสด : น. ของสด เช่น หยวก ใบตอง ดอกไม้ และผลไม้บางชนิด ที่ประดิษฐ์ขึ้นสําหรับตกแต่งเชิงตะกอนที่เผาศพเป็นต้น, ถ้ามุ่งเอา หยวกเป็นหลักก็เรียกว่า เครื่องหยวก.
  29. เจ้าพนักงานภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานัก มีหน้าที่ถวายทรง พระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพ พระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา.
  30. เจ้าพนักงานสนมพลเรือน : น. ข้าราชการในราชสํานัก ทําหน้าที่เกี่ยวกับ พิธีศพ ทําสุกําศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น.
  31. แจงรูป : น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมา เรียงลําดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทาง ทิศตะวันออก, แปรรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า.
  32. ฉากบังเพลิง : น. ฉากพับได้ที่ติดไว้กับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน ใช้สําหรับกั้นบัง ในเวลาเผาศพชั้นโกศเท่านั้น, ถ้าเป็นเมรุธรรมดาและเป็นศพข้าราชการ ใช้ลายเถาไม้, ถ้าเป็นพระศพพระราชวงศ์ ใช้ฉากรูปเทวดา.
  33. ไฉน ๒ : [ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนปี่ชวา ใช้บรรเลงนำหมู่กลองชนะ สำหรับประโคมในงานพระราชทานเพลิงศพที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นต้น มีหัวหน้าเรียกว่า จ่าปี่, สรไน ก็ว่า.
  34. ชฎาพอก : น. ชฎาที่ทําสําหรับสวมพระศพเจ้านาย.
  35. ชักศพ : ก. ถือสายสิญจน์ที่โยงจากศพและนําศพให้เคลื่อนที่ ไปยังที่เก็บ ที่ตั้ง หรือที่เผาศพ (ใช้แก่พระ).
  36. ชันสูตรพลิกศพ : (กฎ) ก. ตรวจพิสูจน์ศพเพื่อให้ทราบว่า ผู้ตายคือใครตายที่ไหน เมื่อใด สาเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย.
  37. ชำร่วย : น. ของตอบแทนผู้มาช่วยงานเช่นงานแต่งงานและ งานศพ เรียกว่า ของชําร่วย.
  38. ชู้เหนือผี : (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิงที่สามีตาย ขณะที่ศพสามียังอยู่บนเรือน.
  39. เชิงตะกอน : น. ฐานที่ทําขึ้นสําหรับเผาศพ.
  40. ฌาปน- : [ชาปะนะ-] น. การเผาศพ, การปลงศพ. (ป.).
  41. ฌาปนกิจ : น. การเผาศพ.
  42. ฌาปนสถาน : น. ที่เผาศพ.
  43. เณรหน้าไฟ : น. สามเณรที่บวชเนื่องในพิธีเผาศพ.
  44. ดอกไม้จันทน์ : น. เนื้อไม้จันทน์เป็นต้นที่ไสเป็นแถบบางนํามาประดิษฐ์ เป็นช่อขนาดเล็ก ใช้ในการเผาศพ.
  45. ดอกไม้เพลิง, ดอกไม้ไฟ : น. เครื่องสําหรับจุดในงานเทศกาลหรืองานศพ เป็นต้น ทําด้วยกระบอกไม้อ้อหรือไม้ไผ่เป็นต้น บรรจุดินดํา มีชื่อต่าง ๆ กันตามชนิด.
  46. ดอง ๑ : ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้ เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ; โดยปริยายหมายความว่า เก็บหมกไว้นานเกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไว้. ว. เรียกสิ่งที่ดองแล้วนั้น เช่น ผักดอง ยาดอง ศพดอง.
  47. ดับจิต : ก. ตาย. (ปาก) น. เรียกห้องเก็บศพของโรงพยาบาลว่า ห้องดับจิต.
  48. ด้าม : น. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนาม เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา ๒ ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิสวคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน), ผู้เผด็จ ด้ามตัณหา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  49. ดิบ : ว. ยังไม่สุก เช่น มะม่วงดิบ, ยังไม่สุกด้วยไฟ เช่น เนื้อดิบ ข้าวดิบ; เรียกสิ่ง ที่ยังไม่ได้ทําให้สําเร็จรูปหรือยังไม่ได้เปลี่ยนรูปและลักษณะเดิมว่า วัตถุดิบ, เรียกด้ายที่ยังไม่ได้ฟอกว่า ด้ายดิบ, เรียกผ้าที่ทอด้วยด้ายดิบว่า ผ้าดิบ; โดย ปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุว่า คนดิบ, เรียกศพที่ไม่ได้เผาว่า ผีดิบ, เรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปีว่า ดงดิบ.
  50. ต้นเพลิง : น. คนหรือสิ่งที่เป็นเหตุทําให้เกิดไฟไหม้; ผู้ที่จุดไฟเผาศพคนแรก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-124

(0.0690 sec)