Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร, กรุงเทพมหานคร, ว่าการ, ศาลา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร, 84 found, display 1-50
  1. ศาลา : น. อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อ ประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).
  2. ว่าการ : ก. ดูแลตรวจตราสั่งการงาน.
  3. ลูกขุน ณ ศาลา : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่งมี ตําแหน่งต่าง ๆ มีเสนาบดีเป็นต้น รวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา.
  4. วิหารราย : น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายใน พุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้ วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร.
  5. ศาลากลาง : น. อาคารที่ใช้เป็นที่ทำการของจังหวัด เช่น ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา.
  6. ศาลากลางย่าน : น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยม สร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
  7. ศาลาการเปรียญ : น. ศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม.
  8. ศาลาฉทาน : [ฉ้อทาน] น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไป เป็นการกุศล, ฉทานศาลา ก็เรียก.
  9. ศาลาดิน : น. ศาลาที่ใช้พื้นดินเป็นพื้นหรือพื้นติดดิน ใช้ประกอบ ศาสนกิจเป็นต้น เช่น ศาลาดินที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
  10. ศาลาตักบาตร, ศาลาบาตร : น. ศาลาที่ลักษณะเป็นโรงยาว มีฐาน สำหรับตั้งบาตรได้หลายลูก มักปลูกไว้ในย่านกลางหมู่บ้านที่อยู่ ไกลวัด ในเวลาเทศกาลที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ก็จะ ตั้งบาตรเรียงไว้ที่ศาลานั้นเพื่อให้ประชาชนได้ตักบาตร.
  11. ศาลายก : น. ศาลาที่ยกพื้นสูงใช้ประกอบศาสนกิจเป็นต้น เช่น ศาลายกที่หน้าวัดสุทัศนเทพวราราม.
  12. ศาลาราย : น. ศาลาที่สร้างเป็นหลัง ๆ เรียงเป็นแนวรอบโบสถ์ หรือวิหาร เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
  13. ศาลาโรงธรรม : น. ศาลากลางย่าน.
  14. ศาลาลงสรง : [สง] น. ศาลาที่สร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับใช้ใน พระราชพิธีโสกันต์หรือพระราชพิธีเกศากันต์และพระราชพิธี ลงท่า.
  15. ศาลาสรง : [สง] (ถิ่นพายัพ, อีสาน) น. ศาลาขนาดย่อมมุงหลังคา และมีฝากั้นมิดชิด ใช้เป็นที่สรงนํ้าพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ปฏิบัติ กันในเทศกาลสงกรานต์โดยทํารางนํ้ารูปนาคพาดเข้าไปในศาลา เวลาสรงนํ้าพระให้เทนํ้าลงบนรางนั้น.
  16. ศาลาประชาคม : น. สถานที่หรืออาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ ประชุมประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ.
  17. ศาลาลูกขุน : (โบ) น. ที่ทำการของลูกขุน.
  18. ศาลาวัด : น. อาคารที่ปลูกไว้ในวัดสำหรับทำบุญและศึกษา เล่าเรียนเป็นต้น.
  19. กรรมศาลา : [กํามะ-] น. โรงงาน. (ส. กรฺม + ศาลา = โรง).
  20. ฉทานศาลา : [ฉ้อทานนะสาลา] น. ศาลาเป็นที่ทําทาน ๖ แห่ง, บางทีเขียนว่า ศาลาฉทาน.
  21. ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน : (สํา) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ ทําไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
  22. บรรณศาลา : น. ที่สํานักของฤๅษีหรือผู้บําเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่า มุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบัง ด้วยใบไม้).
  23. ที่ว่าการ : น. สถานที่ปฏิบัติราชการระดับอําเภอ เรียกว่า ที่ว่าการอําเภอ.
  24. นฤตยศาลา : น. ห้องเต้นรํา. (ส.).
  25. บอกศาลา : ก. ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะ เลี้ยงดูอีกต่อไป.
  26. อาปานศาลา : น. ห้องเครื่องดื่ม. (ส.).
  27. อาสนศาลา : น. โรงฉันอาหาร (ใช้แก่พระสงฆ์).
  28. ทักขิโณทก : น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น. (ป.).
  29. ทักษิโณทก : น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น, เมื่อเป็นชื่อของพระเต้า เรียกย่อว่า พระเต้าษิโณทก. (ส.).
  30. รัตนโกสินทร์ : น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาร สถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึง กรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.
  31. โรงรับจำนำ : น. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือ กรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชา สงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจํานําซึ่ง ประกอบการรับจํานําสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวม ตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สําหรับสิ่งของนั้นเป็น ปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลง หรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.
  32. : พยัญชนะตัวที่ ๓๘ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และเป็นตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษา อื่น เช่น ศาลา อากาศไอศกรีม วงศ์.
  33. ศูนย์บริการสาธารณสุข : น. สถานีอนามัยในเขตเมือง ได้แก่ เขตเทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร และที่ตั้งเป็นเมืองพิเศษ.
  34. หลัง ๑ : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  35. กฎกระทรวง : (กฎ) น. บทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออก โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกําหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี.
  36. กฎทบวง : (กฎ) น. ข้อบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัย อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเช่นเดียวกับกฎกระทรวง.
  37. กระโถนท้องพระโรง : น. กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ที่ท้องพระโรงในศาลา ลูกขุนใน สำหรับที่ใคร ๆ บ้วนน้ำหมากหรือทิ้งชานหมากได้; (สํา) ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้หรือผู้ที่ใคร ๆ ก็รุมใช้อยู่คนเดียว.
  38. กระทรวง ๒ : [-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการ ที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็น กระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไป แพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือ ทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
  39. กลวง ๒ : [กฺลวง] น. บริเวณ, ที่ว่าง, ท่ามกลาง, เช่น ในกลวงป่าตาลนี้มีศาลาสองอัน. (จารึกสยาม).
  40. กะเทยนางหมั่น : น. ชื่อลิ้นจี่พันธุ์หนึ่งที่เคยปลูกในกรุงเทพมหานคร.
  41. การเปรียญ : [-ปะเรียน] น. เรียกศาลาวัดสําหรับพระสงฆ์แสดงธรรมว่า ศาลาการเปรียญ.
  42. โกรงเกรง : [โกฺรงเกฺรง] ว. จวนพัง เช่น ศาลาโกรงเกรง.
  43. ข้อบัญญัติ : (กฎ) น. กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้น เพื่อใช้บังคับในเขตขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ข้อ บัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา.
  44. เค้าสนามหลวง : (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
  45. จตุสดมภ์ : น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดย ตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  46. จัตุสดมภ์ : [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัย โบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  47. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ พิทักษ์ทรัพย์สินและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
  48. เฉลียง : [ฉะเหฺลียง] น. ส่วนของโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญที่ต่อออกมาโดยรอบ หรือส่วนของเรือนที่ต่อออกมาด้านหัวและท้ายเรือน สําหรับนั่งเล่นหรือ เดินติดต่อกันเป็นต้น. ว. เฉียง.
  49. ดอกไม้รุ่ง : น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยดินจุดใส่ในห่อกระดาษขด เหมือนไส้ไก่แขวนไว้ตามศาลาเพื่อจุดเวลาคํ่าให้มีแสงสว่างตลอดรุ่ง ใช้แทนโคม.
  50. ถาวรวัตถุ : [ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ] น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคง ยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ. (ป.).
  51. [1-50] | 51-84

(0.0245 sec)